นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้วิเคราะห์ 10 อันดับธุรกิจดาวเด่น และดาวร่วงครั้งปีหลังปี 65 จากกรอบการพิจารณาด้านต่างๆ เช่น ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก, ข้อมูลสินเชื่อธนาพาณิชย์, ดัชนีผผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต, ดัชนีราคาผู้บริโภค ภาวะเศรษฐกิจไทย และคู่ค้า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ พบว่า 10 ธุรกิจดาวเด่น ได้แก่ 1.ธุรกิจการแพทย์และความงาม ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจที่ทำการซื้อขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์ 2.ธุรกิจแพลตฟอร์ม ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจโลจิสติกส์ ดิลิเวอรี่ และคลังสินค้า
ส่วนอันดับ 3. คลาวด์ สตอร์เรจ ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต ธุรกิจอาหารเสริมและสุขภาพ 4. อี-สปอร์ต โซเชียล และออนไลน์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ 5.ธุรกิจจัดการคอนเทนต์ธุรกิจ ยูทูบเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และการรีวิวสินค้า มีเดีย ธุรกิจสื่อโฆษณา 6.ธุรกิจเวชภัณฑ์ยา ธุรกิจการขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์ และทางการแพทย์ 7.ธุรกิจด้านฟินเทค และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี งานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้า ธุรกิจอีเวนต์ 7.ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน 8.ธุรกิจโมเดิร์นเทรด ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ธุรกิจสมุนไพรไทย เช่น กัญชงกัญชา ใบกระท่อม 9.ธุรกิจสถานบันเทิง ธุรกิจยานยนต์ และ 10.ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
สำหรับ 10 ธุรกิจดาวร่วง ได้แก่ 1.ธุรกิจผลิตโทรศัพท์พื้นฐาน และเครื่องโทรสาร 2.ธุรกิจฟอกย้อม 3.ธุรกิจหัตถกรรมที่ไม่มีการออกแบบและราคาถูก 4.ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ และวารสาร 5.ธุรกิจรับส่งสื่อสิ่งพิมพ์ตามบ้านและสถานที่ทำงาน 6.ธุรกิจโรงพิมพ์ การพิมพ์ เช่น หนังสือ แผ่นพับ 7.ธุรกิจคนกลาง ธุรกิจผลิตและขายต้นไม้ ดอกไม้ประดิษฐ์ 8.ธุรกิจคอลเซ็นเตอร์ ธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก 9.ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ไร้ฝีมือ หรือเสื้อผ้าโหล และ 10.ธุรกิจร้านเช่าหนังสือ ขายหนังสือ ธุรกิจร้านถ่ายรูป
“จากการเปิดประเทศ รวมถึงกระแสผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ เริ่มปฏิบัติงานและความต้องการซื้อสลากดิจิทัลแรงได้รับการตอบรับล้นหลาม ทำให้คนเข้าถึงแอพพลิเคชั่นมากขึ้น จึงเป็นตัวเร่งกระแสดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น รวมถึงกระแสกัญชงและกัญชาทำให้เกิดคนรุ่นใหม่จะหันมาทำธุรกิจผ่านสื่อด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น ทำให้ทำธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ มากขึ้น และยังมีการประเมินว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว คาดว่า จะเด่นชัดในกลางไตรมาส 2 และชัดมากในไตรมาส 4 โดยปัจจัยที่สนับสนุนธุรกิจ เช่น การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 โดยไม่ต้องกักตัว ยกเลิกระบบเทสต์ แอนด์ โก เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาครัฐมีการออกมาตรการช่วยเหลือประชาชน ช่วยลดภาระค่าของชีพ จากสถานการณ์ความผันผวนของราคาพลังงาน เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ช่วยให้การส่งออกขยายตัวดีขึ้น”
ขณะที่ปัจจัยที่บั่นทอนการทำธุรกิจ เช่น สงครามยูเครน-รัสเซีย ที่ยืดเยื้อและผลักดันราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ความสามารถชำระหนี้สินของภาคครัวเรือนที่ยังคงเปราะบาง และปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น การเตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ย