สงครามลุกลามกว่าที่คิด สู่วิกฤติอาหารระดับโลก

การสู้รบที่ยืดเยื้อระหว่างรัสเซียกับยูเครนก่อให้เกิดวิกฤติครั้งใหม่ ที่มีแนวโน้มส่งผลให้ประชากรโลกหลายสิบล้านคนต้องอดอยาก ราคาอาหารแพงขึ้น และยิ่งกระตุ้นให้สถานการณ์ตึงเครียดในพื้นที่ขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้นอีก

เกาหลีเหนือเจอวิกฤติ ท่านผู้นำเร่งสู้โควิด-19

เกาหลีเหนือกำลังเผชิญกับวิกฤติครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่การสถาปนาประเทศ นั่นคือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเมื่อนายคิม จอง-อึน ยังคงยืนกรานปฏิเสธรับความช่วยเหลือจากชาวโลกอย่างเป็นทางการ แล้วท่านผู้นำจะสามารถนำบ้านเมือง ให้ผ่านพ้นสถานการณ์หนักหน่วงครั้งนี้ได้หรือไม่

เหล้าเก่าในขวดใหม่ ? ฟิลิปปินส์ใต้เงา ‘มาร์กอสจูเนียร์’

ฟิลิปปินส์เตรียมกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของตระกูลมาร์กอสอีกครั้ง หลังการปฏิวัติประชาชน ขับไล่ “ระบบมาร์กอส” เมื่อ 36 ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม อีก 6 ปีนับจากนี้ ฟิลิปปินส์จะเป็นอย่างไรต่อไป

ญี่ปุ่นและ ‘หลัก 3 ประการ’ เพื่อเสถียรภาพอินโด-แปซิฟิก

เนื่องในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกในรอบ 9 ปี ของผู้นำรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งคนปัจจุบันคือ นายกรัฐมนตรีฟุมิโอะ คิชิดะ ระหว่างวันที่ 1-2 พ.ค. ที่ผ่านมา เดลินิวส์ได้มีโอกาสสนทนาเป็นพิเศษกับนายชิกาตะ โนริยุกิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ด้านกิจการสาธารณะ เกี่ยวกับ “หลักการ 3 ประการ” ในการขับเคลื่อนนโยบายต่างประเทศ ของรัฐบาลคิชิดะ

1 ปีฉันทามติ ‘อาเซียน-เมียนมา’ ทางข้างหน้ายังคงไม่สดใส

การรัฐประหารในเมียนมาผ่านมานานกว่า 1 ปีแล้ว ขณะที่อาเซียนพยายามหาทางออกกันเป็นการภายใน ด้วยการจัดทำกลไกที่เรียกว่า “ฉันทามติ” แต่ยิ่งเวลาล่วงเลยไปนานเท่าไหร่ ยิ่งปรากฏว่า แนวทางนี้อาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

มิตรภาพจีน-โซโลมอน สั่นคลอนยุทธศาสตร์ลุงแซม

หมู่เกาะโซโลมอน ประเทศขนาดเล็กมากในมหาสมุทรแปซิฟิก กำลังจะกลายเป็น “จุดยุทธศาสตร์” เกมอำนาจระหว่างสองประเทศยักษ์ใหญ่ เมื่อการที่รัฐบาลโซโลมอนลงนามในข้อตกลงด้านความมั่นคงกับจีน สร้างแรงกระเพื่อมที่สะเทือนไกลไปถึงสหรัฐ

อาเซียนกระอักกระอ่วน “นาโต” ชวนยกระดับทางทหาร

เมื่อองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต แสดงออกอย่างชัดเจนมากขึ้น ว่าต้องการมุ่งหน้ามาทางตะวันออกมากขึ้น เพื่อคานอำนาจกับจีน กลุ่มประเทศในอินโด-แปซิฟิก โดยเฉพาะ “อาเซียน” ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคก็ว่าได้ จะวางตัวอย่างไรดี

‘มาครง-เลอแปน’รอชิงดำ ศึกเลือกตั้งผู้นำฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่ ในวันที่ 10 เม.ย. โดยหากไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนมากเกินครึ่งตั้งแต่รอบแรก ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงสนุนมากสูงสุด 2 คนแรก จะต้องแข่งขันกันในการเลือกตั้งรอบชิงดำ ซึ่งจะเป็นรอบตัดสิน ในวันที่ 24 เม.ย.นี้

ชี้นิ้วสั่งโอเปกไม่ได้ เศรษฐีน้ำมันไม่ทิ้งรัสเซีย

แม้โอเปกยังไม่เคยมีท่าทีอย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับ “การเลือกข้าง” ในวิกฤติการณ์ยูเครน แต่การกำหนดนโยบาย และท่าทีของกลุ่มประเทศ “ผู้กุมชะตา” ราคาน้ำมันโลก ชัดเจนในตัวเองแล้วว่า เลือกที่จะอยู่ฝั่งไหน