หลายปีที่ผ่านมาเบียร์เมียนมาครองตลาดทั้งบาร์และชั้นวางสินค้าในซูเปอร์มาร์ก็ต ซึ่งเป็นบริษัทญี่ปุ่นที่หนุนสัญญาณการเปิดการค้าเสรีทางเศรษฐกิจเข้าสู่เมียนมา หลังรัฐบาลทหารเมียนมาประกาศการปฏิรูปประเทศ เมื่อปี 2554

อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการณ์ที่กองทัพทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของนาง ออง ซาน ซูจี เมื่อเดือน ก.พ.ปีที่แล้ว ส่งผลให้นักดื่มชาวเมียนมาหลายคน หันหลังให้กับเบียร์และสินค้าอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งผลิตโดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกองทัพทหาร ตั้งแต่สบู่ไปจนถึงกาแฟ

ทหารเรือนายหนึ่งให้สัมภาษณ์ ขณะที่นั่งอยู่นอกบาร์บนถนน 19th Street ร้านยอดนิยมในนครย่างกุ้ง ว่า “เราทราบดีว่าเบียร์ยี่ห้ออื่น ๆจ่ายภาษีให้กับกองทัพ ทหาร แต่เราไม่ต้องการให้เงินทั้งหมดไปถึงรัฐบาล” และชาวเมียนมาอีกคนหนึ่ง ให้สัมภาษณ์โดยไม่เปิดเผยตัวตน “เราหลีกเลี่ยงเบียร์ของเมียนมา และถ้าหากที่ร้านใดมีแต่เบียร์เมียนมา เราก็จะไม่ดื่ม”

ซอ นาย ผู้จัดการร้านอาหารบนถนนในตัวเมืองย่างกุ้ง กล่าวว่า ที่ร้านไม่จำหน่ายเบียร์ของทหารเมียนมาตั้งแต่เดือน เม.ย ปีที่แล้ว และร้านอาหารอีกหนึ่งรายให้สัมภาษณ์โดยใช้นามแฝง กล่าวว่า “ถ้าคนเห็นโลโก้เบียร์เมียนมาพร้อมชื่อร้านของเรา ลูกค้าจะไม่มาใช้บริการ”

เนื่องจากความโกรธเกรี้ยวของประชาชนที่มีต่อการปราบปรามผู้เห็นต่างของทหาร ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 1,700 ราย ทำให้สถานประกอบการ ร้านอาหารต่าง ๆ ที่ยังคงให้บริการเบียร์เมียนมานั้น ต้องเผชิญกับผลกระทบร้ายแรงที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ สื่อท้องถิ่นรายงานว่า เมื่อต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เกิดเหตุระเบิด นอกบาร์ 2 แห่ง ในเมืองย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุด และร้านอาหารแห่งหนึ่ง ในเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของเมียนมา และอีกหนึ่งเหตุการณ์ คือ คนขับรถขนส่งเบียร์ในที่ราบภาคกลางของชนบท ถูกกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารขัดขวางการทำงา นและยึดสินค้าทั้งหมด แล้วนำไปทิ้งลงในถังขยะ

Myanmar brewery ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินการโดย คิรินและบริษัททหาร Myanmar Economic Holdings ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดเกือบ 80% นั้นก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร เมื่อปี 2564 และสถานการณ์ โควิด-19 ที่ยืดเยื้อ จนกระทั่ง คิริน บริษัทเบียร์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ประกาศถอนการลงทุนออกจากเมียนมาในที่สุด

อย่างไรก็ตาม การที่เมียนมาเป็นประเทศซึ่งมีความซับซ้อนทางการเมืองสูง ทำให้ยังคงมีบางพื้นที่ ซึ่งนักดื่มสามารถเพลิดเพลินกับเบียร์ท้องถิ่นได้อย่างสงบ เช่น บาร์ในกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงที่สร้างโดยกองทัพ ซึ่งยังคงมีบริการเบียร์เมียนมาอยู่ นอกจากนี้ มีรายงานว่า ยังคงมีโรงเบียร์เมียนมาตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบทอีกหลายแห่ง และได้รับผลกระทบจากการรัฐประหารครั้งนี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : REUTERS