การสอบสวนทางวิทยาศาสตร์ที่ยังคงดำเนินต่อไปถึงผลกระทบระยะยาวของไวรัสโควิด-19 ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับวิธีการรักษาและเปลี่ยนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากไวรัสโควิด-19 ที่มีต่ออวัยวะสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2565 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แสดงผลการสำรวจผลกระทบระยะยาวของโควิด-19  อาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • ระบบทางเดินหายใจ (44.38%) หอบเหนื่อย ไอเรื้อรัง
  • ระบบทางจิตใจ (32.1%) นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
  • ระบบประสาท (27.33%) อ่อนแรงเฉพาะที่เฉียบพลัน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หลงลืม กล้ามเนื้อลีบ
  • ระบบทั่วไป (23.4%) อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด (22.86%) เจ็บหน้าอก ใจสั่น
  • ระบบผิวหนัง (22.8%) ผมร่วง ผื่นแพ้ ฯลฯ

น่าสนใจที่ผลการสำรวจผลกระทบระยะยาวของโควิด ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว น่าจะกล่าวได้ว่าระบบสืบพันธุ์ไม่ได้เป็นผลกระทบระยะยาวของโควิดซึ่งพบบ่อย

นอกจากนี้กรมการแพทย์ ได้กำหนดนิยามของผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจากโรคโควิด-19 (Long COVID) คืออาการที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ และมีอาการอยู่นานอย่างน้อย 2 เดือน และเกิดขึ้นได้หลายระบบ  หากเกิดผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจากโรคโควิด-19 ดังกล่าวนานกว่า 2 เดือน ควรพบแพทย์ เพราะส่วนใหญ่อาการผิดปกติเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 2 เดือน

แนวโน้มการรักษาที่เป็นไปได้

ดร.ชาร์ลส์ เวลลิเวอร์  ศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะ วิทยาลัยการแพทย์ออลบานี (Albany Medical College)ได้ให้คำแนะนำในฐานะแขกรับเชิญของพอตแคส (podcast) รายการชื่อ “จะทำอย่างไร (How to Do It)” กล่าวว่า เขาเชื่อว่าการรักษาองคชาตสั้นลง หลังการป่วยโควิด-19 อาจรวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ ได้แก่การใช้อุปกรณ์ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ เช่นเครื่องปั๊มองคชาตเพื่อช่วยคืนเส้นรอบวงและความยาวขององคชาตที่หายไป

กระบอกสุญญากาศ อาจเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง มีกลไกที่สำคัญคือการลดแรงดันให้มากที่สุด ภายในกระบอกสุญญากาศซึ่งจะครอบองคชาตไว้อยู่  เมื่อไม่มีแรงดันจากภายนอก แรงดันของเลือดองคชาตจะทำให้เลือดมาที่องคชาตมากขึ้น  ให้เลือดมาคั่งที่องคชาต ทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต อย่างไรก็ตามผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

————————————
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล