@@@ ผู้ประท้วงหลายพันคนรวมตัวกันเดินจากผ่านย่านศูนย์กลางธุรกิจไปยังหน้ารัฐสภา ในวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เพื่อประท้วงต่อต้านกฎหมายควบคุมการระบาดใหญ่และคำสั่งบังคับในการฉีดวัคซีนของรัฐวิกตอเรีย นี่เป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกันที่ผู้ประท้วงรวมตัวกันเพื่อต่อต้านร่างกฎหมาย ซึ่งได้ผ่านสภาล่างของรัฐไปแล้ว เมื่อต้นสัปดาห์นี้ เทศบาลนครเมลเบิร์นและรัฐบาลของรัฐวิคตอเรียได้ประกาศให้บัตรอาหาร 150 ดอลลาร์แก่ชาววิคตอเรีย เพื่อพยายามเชิญชวนผู้คนให้กลับมาใช้บริการที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ เนื่องจากธุรกิจจำนวนมากได้ปิดตัวลงในช่วงล็อกดาวน์ที่ขยายเวลาออกไปของเมือง โดยร้านค้าปลีกที่ไม่จำเป็น non-essential indoor retail กลับมาเปิดอีกครั้งเมื่อสองสัปดาห์ก่อน ถึงกระนั้นก็มีการขีดเส้นตายด้วยการกำหนดเวลาสำหรับคนงานก่อสร้างทุกฝ่ายที่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน 2 โดสเพื่อทำงานต่อไปในไซต์งานได้ภานในวันเสาร์ คำสั่งดังกล่าวเป็นการจุดชนวนให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรงทั่วเมลเบิร์นในเดือนกันยายน เจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุชาววิกตอเรียเช่นกันจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วนภายในวันจันทร์ เจ้าหน้าทีและพนักงานที่จำเป็นของรัฐอีกประมาณหนึ่งล้านคนจะต้องถูกฉีดครบสองครั้งภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถปฏิบัติงานได้ต่อไป ยกเว้นใครก็ตามที่ได้รับการยกเว้นทางการแพทย์ที่ถูกต้องเท่านั้นจึงจะสามารถทำงานต่อไปได้ การชุมนุมประท้วงยังดำเนินต่อไป ในขณะที่ผู้ติดเชื้อรายใหม่มียอดเพิ้มขึ้นอีก รัฐวิกตอเรียรายงานจำนวนผู้ป่วย COVID-19 รายวัน รายใหม่ในพื้นที่ 1221 รายและเสียชีวิตอีก 4 รายในช่วง 24 ชั่วโมงถึง 20.00 น. เมื่อวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ขณะนี้มีเคสที่ active อยู่มากกว่า 16,671 ราย ปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิดเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทั่วรัฐวิกตอเรีย 405 คน มี 77 คนอยู่ในห้องไอซียู และ 51 คน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และ 86 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่อายุเกิน 12 ปีได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว แต่อีกเกือบ 400,000 คนยังคงไม่ได้รับการฉีดวัคซีน
รัฐนิวเซาท์เวลส์ NSW Health มีรายงานแจ้งเมื่อวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในพื้นที่ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา 250 ราย เป็นวันแรกที่ไม่มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคมเป็นต้นมา มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของชาวนิวเซาท์เวลส์ที่อายุเกิน 16 ปีได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว “ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน NSW Health จะไม่แจกแจงรายละเอียดเคส COVID-19 ในชุมชนและที่เดินทางกลับต่างประเทศอีกแล้วในการอัพเดทรายวัน แต่จะให้ข้อมูลรวมของทุกกรณีแทน” เนื่องจากการเดินทางโดยปลอดการกักกันในรัฐ ทำให้ไม่สามารถรายงานแหล่งที่มาของการติดเชื้อในแต่ละวันได้อย่างถูกต้องอีกต่อไป โฆษกของ NSW Health กล่าว “NSW Health จะยังคงรายงานรายละเอียดของเคสที่ได้มาภายในประเทศและกลับจากต่างประเทศ แต่ในรายงานการเฝ้าระวังรายสัปดาห์ NSW Health แทน” ผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศจะต้องตรวจ COVID-19 เจ็ดวันหลังจากเดินทางมาถึง ข้อมูลการทดสอบนี้จะถูกใช้โดย NSW Health ควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์และการจัดลำดับจีโนมเพื่อติดตามการติดเชื้อที่ได้มาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สถานที่ต่างๆ ในภูมิภาค NSW ภูมิภาคที่มีผู้ป่วยที่ถูกยืนยันว่าติดเชื้อ COVID-19 ได้เข้าไปจะไม่ถูกรายงานอีกต่อไป “NSW Health จะไม่แสดงรายการสถานที่ของเคสทั้งหมดบนเว็บไซต์อีกต่อไป” โฆษกกล่าว การเปลี่ยนแปลงนี้ได้ดำเนินการไปแล้วในมหานครซิดนีย์มานานกว่าหนึ่งเดือน ผู้คนจะยังคงได้รับการแจ้งเตือนผ่านแอป Service NSW หากพวกเขาเคยไปที่สถานที่ในช่วงเวลาเดียวกันกับบุคคลที่ติดเชื้อโควิด-19 สถานที่ที่มีการแพร่เชื้ออย่างหนักจะได้รับการแจ้งเตือนบนเว็บไซต์ “อย่างไรก็ตาม NSW Health จะยังคงติดต่อกับผู้ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อ COVID-19 และผู้ที่ใกล้ชิดกับพวกเขา” หน่วยงานสุขภาพเขตต่างๆในพื้นที่อาจยังคงโพสต์การแจ้งเตือนสำหรับไซต์ที่เปิดเผยข้อมูลบนโซเชียลมีเดียของตน เว้นแต่จะมีกรณีจำนวนมากที่เชื่อมโยงกับไซต์ NSW Health จะไม่แสดงข้อมูลนั้นบนเว็บไซต์ของพวกเขา
รัฐควีนส์แลนด์รายงานเมื่อวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ไม่พบผู้ป่วย COVID-19 ในท้องถิ่นรายใหม่ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของรัฐ นาง Yvette D’Ath ได้เรียกร้องให้ชุมชนโกลด์โคสต์ออกมาตรวจ หลังจากได้รับรายงานเคสลึกลับเมื่อต้นสัปดาห์นี้ “เราต้องการระบุว่ามีคนอื่นในชุมชนที่อาจติดไวรัสหรือไม่ ถ้ามีอาการไม่มากก็เชิญมาตรวจได้แล้ววันนี้” ชาวควีนส์แลนด์มากกว่า 17,000 คน ออกมารับวัคซีนเมื่อวานนี้ “เป็นสามวันติดต่อกันที่มีจำนวนการวัคซีนมากกว่า 17,000 ราย ควีนส์แลนด์เกือบจะบรรลุเป้าหมายขั้นที่ฉีดวัคซีนครบ 70% แล้ว คงจะไม่เกินวันจันทร์นี้ โดยที่ 69.3% ของชาวควีนส์แลนด์ที่อายุเกิน 16 ปีได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว” นาง D’Ath กล่าว
ผู้ประท้วงหลายพันคนรวมตัวกันเดินจากผ่านย่านศูนย์กลางธุรกิจไปยังหน้ารัฐสภา ในวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เพื่อประท้วงต่อต้านกฎหมายควบคุมการระบาดใหญ่และคำสั่งบังคับในการฉีดวัคซีนของรัฐวิกตอเรีย ในขณะที่ผู้ติดเชื้อรายใหม่มียอดเพิ้มขึ้นอีก
@@@ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564 วัดป่าพุทธรังษี ลูเมียห์ ได้จัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานประจำปี 2564 โดยมีพระเทพสีลาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธรังษี ลูเมียห์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนางเกศกนก รุ่งสว่าง เป็นผู้รับพระราชทานผ้าพระกฐินพระราชทาน เพื่อนำไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ณ วัดป่าพุทธรังษี ลูเมียห์ ในโอกาสนี้ นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา นางหัทยา คูสกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ข้าราชการ คู่สมรส และเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้เข้าร่วมพิธี นอกจากนี้ สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ร่วมจัดโรงทานอาหารให้แก่ผู้เข้าร่วมงานด้วย รวบรวมปัจจัยได้ทั้งสิ้น $ 35,000 ดอลลาร์
งานกฐินพระราชทาน ณ วัดลูเมียห์ ถือเป็นหนึ่งในงานใหญ่งานแรกที่ทำให้พี่น้องชาวไทย ครอบครัว และชุมชนในท้องถิ่นผู้มีจิตศรัทธาในพุทธศาสนาได้มาร่วมกันทำบุญตักบาตร ถวายผ้าพระกฐินแด่พระสงฆ์บรรยากาศในงานเต็มไปด้วยรอยยิ้มและความสุขของทุกคนที่นอกจากจะอิ่มบุญแล้ว ยังได้มีโอกาสพบปะกันหลังจากที่รัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการสาธารณสุข ได้ร่วมกันรับประทานอาหารอร่อย ๆ จากโรงทานที่มาร่วมจัดอาหารแจกจ่ายให้ผู้มาร่วมงานอิ่มท้องกันถ้วนหน้า งานนี้มีการจัดอาหารมากันอย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นข้าวหมูแดงหมูกรอบ ขนมจีน ลูกชิ้นยืนกินน้ำจิ้มรสเด็ด ส้มตำ ไก่ย่าง หอยทอด ผัดไท ก๋วยเตี๋ยว ขนมหวานไทย ไอศกรีม และอื่น ๆ อีกมายมาย เรียกได้ว่ารสชาติอาหารแต่ละโรงทานไม่แพ้อาหารที่เมืองไทยเลย ในโอกาสนี้ นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้เดินทางจากกรุงแคนเบอร์รา เพื่อมาร่วมงานบุญในครั้งนี้ พร้อมทั้งร่วมพบปะพูดคุยกับพี่น้องชาวไทยที่อาศัยอยู่ในรัฐ NSW ด้วย อนึ่ง การประกอบศาสนพิธีดังกล่าวเป็นไปตามมาตรการและข้อบังคับด้านสาธารณสุขของ NSW Health เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัดด้วย
สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับพี่น้องชาวไทยทุกท่าน บรรยากาศการมาร่วมงานกันอย่างอบอุ่นในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความผูกพันของพี่น้องชุมชนไทยในต่างประเทศที่มีต่อพุทธศาสนาและวัดไทยในฐานะศูนย์รวมจิตใจ กิจกรรมงานบุญครั้งนี้ยังเป็นโอกาสให้ชุมชนชาวไทยได้นำครอบครัวรุ่นลูกรุ่นหลานที่เกิดและเติบโตในต่างประเทศมาร่วมกันสืบสานถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยต่อไปด้วย
วัดป่าพุทธรังษี ลูเมียห์ ได้จัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานประจำปี 2564 โดยมีพระเทพสีลาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธรังษี ลูเมียห์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนางเกศกนก รุ่งสว่าง เป็นผู้รับพระราชทานผ้าพระกฐินฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564
@@@ วันอาทิตย์ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานผ้าพระกฐินให้ นางรำไพ คำเครื่อง กรรมการอุปถัมภ์วัดไทยพุทธาราม ตามที่ขอพระมหากรุณา นำมาทอดยังที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดไทยพุทธาราม นครบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย เพื่อปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เพื่อสืบสานประเพณีชาวพุทธในประเทศออสเตรเลีย และเพื่อเป็นการระดมทุนในการก่อสร้างอุโบสถนวมินทราชูทิศ ถวายเป็นพุทธบูชา และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ในช่วงเช้าของวันเดียวกันนี้ วัดไทยพุทธาราม ยังได้จัดงานประเพณีลอยกระทง ในวันทอดกฐินพระราชทาน โดยมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และการเผยแผ่ประเพณีวัฒนธรรมไทย คือ การแสดงนาฏศิลป์ไทย การแสดงดนตรีไทย การประกวดหนูน้อยนพมาศ การออกร้านอาหารไทย เป็นต้น ในโอกาสนี้ ทางวัดซึ่งมีโครงการหาทุนปัจจัยเพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างอุโบสถนวมินทราชูทิศ จึงได้จัดให้มีซุ้มสอยดาว และการจำหน่ายบัตรการกุศลด้วย วัดไทยพุทธาราม ขออนุโมทนาบุญกับประธาน รองประธานฯ และกรรมการกฐิน พร้อมทั้งญาติโยมสาธุชนทั้งหลาย คณะคุณครู ผู้ปกครอง เด็กๆ ในการแสดงนาฏศิลป์ไทย การแสดงดนตรีไทย และคณะจิตอาสาผู้ช่วยงานทุกท่าน และได้รวบรวมปัจจัยได้ทั้งสิ้น ดังนี้ ทอดกฐินพระราชทาน $56,771.50 เหรียญ คณะประธานกฐิน $22,345.00 เหรียญ ซุ้มสอยดาว $12,124.50 เหรียญ บัตรการกุศล $12,085.00 เหรียญ ผ้าไตรจีวร $6,665.00 เหรียญ สังฆทาน $951.00 เหรียญ พวงมาลัยประกวดหนูน้อย $820.00 เหรียญ ซุ้มทำบุญทั่วไป $2,415.00 เหรียญ ผู้บริจาคเข้าบัญชีธนาคารวัดแล้ว $14,722.00 เหรียญ ต่อยอดกฐินเพิ่มอีก $1,550.00 เหรียญ รวมยอดทั้งสิ้น $130,449.00 ดอลลาร์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานผ้าพระกฐินให้ นางรำไพ คำเครื่อง นำมาทอดยังที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดไทยพุทธาราม นครบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔
@@@ วัดธรรมรังษี นครเมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ได้จัดพิธีทำบุญถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ปี 2564 ขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2564 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานผ้าพระกฐินให้ นางกาญจนา โทสุวรรณ เพื่อเชิญไปทอดถวายยังที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดธรรมรังษี นครเมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย เครือรัฐออสเตรเลีย กำหนดการ ตั้งแต่ 10.00 น. ไหว้พระ สมาทานศีล พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ 10.30 น. พระสงฆ์เดินออกรับบิณฑบาต, ถวายภัตตาหารเพล 11.00 น. พระสงฆ์ฉันภัตตาหาร, เรียนเชิญทุกท่านร่วมรับประทานอาหารโดยพร้อมเพียงกัน 13.00 น. พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ถวายอดิเรก ถวายพระพร เสร็จพิธี ขออนุโมทนาบุญกับศรัทธาญาติโยมทุกท่าน ขอให้มีความสุขความเจริญตลอดไปเทอญ พระครูโชติธรรมวิเทศ (พระอาจารย์ธานี) เจ้าอาวาสวัดธรรมรังษี
วัดธรรมรังษี นครเมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ได้จัดพิธีทำบุญถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ปี 2564 โดย นางกาญจนา โทสุวรรณ เป็นผู้รับพระราชทานผ้าพระกฐินฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2564
@@@ กฐินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่วัดป่าโพธิญาณ ที่เซอร์เพ้นไทน์ ออสเตรเชียตะวันตก ในวันอาทิตย์ที่ ๒๔ ตุลาคา ๒๕๖๔ พีธีการสิ้นสุดสมบุรณ์ลงด้วยดี ในการนี้มีนางสีฟ้า คอลลิ่งสูด-ไพร้ซ์ เป็นประธานถวายผ้ากฐินพระราชทาน งานในวันนี้ได้มีพี่น้องชาวไทยที่พักอาศัยอยู่ที่เพิร์ธและหัวเมืองใกล้เคียงเข้ามาร่วมทำบุญทำกุศลกันอย่างล้นหลาม มีโรงทานมากมายและอาหารก็หลากหลายซึ่งจัดขึ้นโดยพุทธศาสนิกชนที่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา เพื่อมาร่วมกันทำบุญต่อปัจจัยยอดกฐิน รวมยอดทั้งสิ้น $ 84,000 ดอลลาร์ ในโอกาสนี้สมาคมภาษาและวัฒนธรรมไทยได้มีโอกาสนำทีมรำจิตอาสาของสมาคมฯไปร่วมแสดงรำรากไทยและฟ้อนล่องแม่ปิงในงานบุญนี้อีกด้วย บรรยากาศงานบุญในวันนี้จะบ่งให้เห็นถึงความสามัคคีพร้อมเพียงกันของพี่น้องศาสนิกชนชาวไทยในรัฐออสเตรเลียตะวันตกที่มีความสามัคคีกลมเกลียวกันและร่วมกันคงดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีไทยอันดีงามอีกด้วย อนุโมทนา สาธุ กับทุกท่านนะคะ ในวาระนี้พี่น้องชาวไทยในเพิร์ธและหัวเมืองใกล้เคียง ขอขอบพระคุณ Buddhist society of Western Australia and its committee ที่จัดงานกฐินในครั้งนี้
วัดป่าโพธิญาณ ที่เซอร์เพ้นไทน์ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเชีย ประเทศออสเตรเลีย ได้จัดพิธีทำบุญถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ปี 2564 โดย นางสีฟ้า คอลลิ่งสูด-ไพร้ซ์ เป็นผู้รับพระราชทานผ้าพระกฐินฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม 2564
@@@ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานทีมประเทศไทยในออสเตรเลีย ได้ต้อนรับนาย David Van สมาชิกวุฒิสภา (Liberal-Victoria) ในฐานะประธานกลุ่มมิตรภาพของไทยในรัฐสภาออสเตรเลีย ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลียที่มีความแน่นแฟ้นในทุกด้าน รวมถึงความพร้อมที่จะเพิ่มพูนและพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันต่อไป ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตบุษฎีฯ ได้แสดงความยินดีที่สมาชิกวุฒิสภา Van ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกลุ่มมิตรภาพของไทยในรัฐสภาออสเตรเลียซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จะสานต่อความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศและต่อยอดความร่วมมือต่างๆ ในอนาคต โดยสมาชิกวุฒิสภา Van ยินดีพัฒนาความร่วมมือต่างๆ โดยเฉพาะด้านการค้นคว้าวิจัยทางสาธารณสุขซึ่งรัฐวิกตอเรียมีความโดดเด่น รวมทั้งพร้อมสนับสนุนการเปิดพรมแดนเพื่อให้นักศึกษากลับมาศึกษาต่อในออสเตรเลีย ทีมประเทศไทยประกอบด้วย สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและทหารอากาศ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรในต่างประเทศ สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยในประเทศออสเตรเลีย
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา และสำนักงานทีมประเทศไทยพบหารือกับนาย David Van สมาชิกวุฒิสภาและประธานกลุ่มมิตรภาพของไทยในรัฐสภาออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564
ไตรภพ ซิดนีย์
[email protected]