นั่นหมายความว่า หลายภาคส่วนธุรกิจต่างแสดงความวิตกกังวล ว่าจะยังคงเป็นการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ในช่วงฤดูหนาวของปีนี้ จะได้ไม่ต้องกลับมาจ้างพนักงาน หรือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างไปก่อนหน้านี้ หรือไม่ก็ไม่ต้องจัดสรรสินค้า หรือบริการเอาไว้ให้พร้อม จนกว่าจะรู้แน่ชัดว่า มีการเปิดประเทศขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างชัดเจนอีกครั้ง เหมือนกับที่หลายประเทศทั่วโลกเริ่มเปิดประเทศกัน เพราะเชื่อมั่นในการจัดฉีดวัคซีนขนานใหญ่ ให้ประชาชนในประเทศจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ขณะที่หน่วยงานองค์กรท้องถิ่น ก็พร้อมที่จะดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างระเบียบเงื่อนไขของกฎระเบียบ และการปฏิบัติ

จึงเป็นการเสี่ยงที่ต้องทำเช่นนี้ เพื่อที่จะนำรายได้กลับคืนมาโดยเร็ว เพราะญี่ปุ่นอาจตามมาเก็บรายได้ส่วนหนึ่ง จากที่เคยได้ถึง 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเมื่อปี 2562 และเงินใช้จ่ายในประเทศที่เก็บไว้ราว 53,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐอาจจะนำมาใช้จ่ายในช่วงเปิดประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกครั้งหรือไม่

หากล้มเหลว การเปิดประเทศ ก็จะเป็นบทเรียนราคาแพง ให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ซึ่งต้องจัดเลือกตั้งภายในสองสัปดาห์หลังรับตำแหน่ง กำหนดวันลงคะแนน 31 ต.ค.นี้ เพราะนายกรัฐมนตรีก่อนหน้าเขา โยชิฮิเดะ ซึงะ ถูกโค่นลงจากตำแหน่ง เพราะคะแนนนิยมตกต่ำ และความเข้าใจในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ถือว่าล้มเหลว

Associated Press

ช่วงเวลาปลายปี ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของธุรกิจร้านอาหาร บาร์ในประเทศญี่ปุ่น เพราะบริษัทห้างร้านต่าง ๆ นิยมจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ส่งท้ายปี และเลี้ยงสังสรรค์กับหุ้นส่วนทางธุรกิจ และมิตรสหาย ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่สำคัญ และร้านอาหาร บาร์ และผับราว 102,000 แห่งในกรุงโตเกียวถือว่า ได้รับข่าวดีจากกระทรวงสาธารณสุข เพราะได้ใช้มาตรการด้านสุขอนามัย เพื่อป้องกันโรคโควิด-19ได้ภายใต้มาตรฐานตามเกณฑ์ของรัฐ จึงสามารถเปิดให้บริการได้แล้วตั้งแต่ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา นั่นหมายความว่า สามารถจำหน่ายเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ได้แล้ว และเปิดปิดตามได้ปกติ

มายูมิ ไซโจ เจ้าของเบียร์บาร์บิตเตอร์ ในย่านคากุราซากะ ของกรุงโตเกียว บอกว่า ปกติช่วงปลายปีจะเป็นช่วงกิจกรรมพิเศษ แต่ปีนี้คิดว่าจะขอยกเลิกไปก่อน เพราะผู้เชี่ยวชาญบอกว่า จะมีการระบาดระลอกที่หก นอกจากนั้น เธอยังเป็นกังวลหากต้องสั่งนำเข้าเครื่องดื่มประเภทเบียร์มูลค่าราว 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากสาธารณรัฐเช็ก เพราะยังขาดทุน จากผลของการล็อกดาวน์เมื่อปีที่แล้ว และยังนอนไม่หลับ ก่อนยกเลิกภาวะฉุกเฉินครั้งล่าสุด ไม่ว่าจะเตรียมการยังไงก็ต้องเสียเงินอยู่ดี เพราะฉะนั้น เลี่ยงความเสี่ยงนี้ไปเสียดีกว่า

ตั้งแต่แรกแล้ว ที่ญี่ปุ่นถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า จัดฉีดวัคซีนได้ล่าช้า เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ จึงเสี่ยงภัยต่อการระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตา ทำให้ต้องจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 โตเกียว โอลิมปิกแบบไม่มีผู้ชม เมื่อเดือนก.ค.-ส.ค. ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม อัตราการติดเชื้อได้ช้าลง และการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น ทำให้รัฐบาลสามารถทำงานตามแผนการเปิดประเทศได้ นำมาซึ่งการใช้ข้อพิสูจน์การฉีดวัคซีน และตรวจคัดกรองหาเชื้อ อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องวัคซีนพาสปอร์ตยังคงเป็นข้อกังวลของภาคเอกชนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข การจัดฉีดวัคซีนเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น หรือไม่กองกำลังป้องกันตนเอง และการรวบรวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน ยังไม่มี

ยูซูเกะ นากามุระ นักพันธุศาสตร์และอาสาสมัครรักษามะเร็ง บอกว่า เราไม่ได้เตรียมตัวไว้ได้มากพอ อาจล่าช้าไปหนึ่งปี ไม่มีกลไกมาตรฐานเพื่อจัดสรรวัคซีนพาสปอร์ต เพื่อให้แต่ละเมืองทำพาสปอร์ตแบบนี้ ส่วนกรุงโตเกียวเองก็ไม่คืบหน้าเรื่องนี้เช่นกัน บางเขตหรือเทศบาลก็ทำกันเอง พูดง่าย ๆ คือยังไม่มีหน่วยงานรัฐเป็นเจ้าภาพจัดการ แต่เกาะอิชิงากิที่อยู่ใต้สุดของญี่ปุ่น ใช้แอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ ดัดแปลงมาจากแอปพลิเคชันสำรองการฉีดวัคซีน มาเป็นเครื่องมือบันทึกการฉีดวัคซีน นักท่องเที่ยวหากมีแอปพลิเคชันตัวนี้ ก็สามารถใช้เป็นการ์ด สำหรับลดราคาค่าบริการในร้านค้า และร้านอาหาร.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : AP