กรณีบริษัทฯ มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เช่น กิจกรรม TPM / นวัตกรรม (Innovation)/5 ส เป็นต้น ให้สวัสดิการหลักและมีเพิ่มเติมเป็นแบบยืดหยุ่นภายใต้วงเงิน เช่น 7,000 เท่า ๆ กัน เพิ่มเลือกให้เหมาะสมกับตนเอง เช่น รักษาฟัน แว่นสายตา กิจกรรมกีฬา ค่าที่พักท่องเที่ยว ค่าเรียน ค่าประกัน โดยต้องมีใบเสร็จมาเบิก ทำให้ต้องทำการเบิกเงินหลายครั้งใน 1 ปี และมีบางกิจกรรมที่พนักงานหาใบเสร็จมาไม่ได้จะเสียสิทธิใช้สวัสดิการนี้

บริษัทฯ สามารถกำหนดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นนี้เป็นแบบเหมาจ่ายโดยไม่ต้องมีใบเสร็จมาเบิก เบิกจ่ายปีละครั้งโดยบริษัทฯ ยังสามารถลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ แต่ต้องพิจารณา ประเด็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานต่อ
ไปด้วย

กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงาน หาก บริษัทฯ จ่ายเงินได้เป็นการเหมา ก็ให้นำไปถือรวมเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งจำนวน หากมีใบเสร็จก็พิจารณาตามกิจกรรมที่นำมาเบิก ถูกต้องแล้วครับ ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามของ 2 (4) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 149 (พ.ศ. 2523) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2523 เป็นต้นไป โดยเงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ

“(ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย

(ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว

ทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น” 

กรณีบริษัทมีจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เช่น กิจกรรม TPM/ Innovation/ 5 ส และมีการทำเสื้อ หรือแก้วน้ำ ตามแต่ละกิจกรรมให้กับพนักงานทุกคน เช่นนี้ของที่พนักงานได้รับต้องถือเป็นประโยชน์เพิ่มเพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดา เช่นเดียวกับเงินได้ทั่วไป.