กรณี “ครูชาวต่างชาติ” ในไทย…หลัง ๆ มีข่าว “ปัญหา” อย่างน้อยก็ 2 เคส คือ “ครูฝรั่งล่วงละเมิดเด็ก”และอีกเคสคือ “ครูฟิลิปปินส์ทำร้ายเด็ก” ซึ่งนี่ก็เซ็งแซ่มาก!!… สำหรับเคสหลัง…จากรายงานข่าวเป็น “ครูสอนภาษาอังกฤษที่เป็นชาวฟิลิปปินส์” ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่ลงโทษเด็กวัย 6 ขวบในห้องเรียนด้วยการ “ตบบ้องหูเด็กจนบาดเจ็บ” ซึ่งบทสรุปของเคสนี้ก็ว่ากันไป อย่างไรก็ตามกรณี “ครูต่างชาติในประเทศไทย“ นั้น…ที่เป็น “ชาวฟิลิปปินส์“ นี่มีในไทยไม่น้อยมานานแล้ว…

ต่างชาติ“ ที่ ’เข้ามาทำางานในไทย“…
กลุ่ม “ฟิลิปปินส์“ นี่ก็ ’มีมุมน่าสนใจ“
มี “มุมสะท้อนด้านประชากรศาสตร์“

ทั้งนี้ วันนี้ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูลกรณี “ชาวฟิลิปปินส์เข้ามาทำาอาชีพครูสอนภาษาอังกฤษในไทย” ซึ่งกรณีนี้มีบทความชื่อ “แรงงานข้ามชาติ-ครูชาวฟิลิปปินส์ในประเทศไทย“ เป็นบทความที่น่าสนใจโดย ภัสสร มิ่งไธสง ซึ่งเผยแพร่อยู่ใน www.theprachakorn.com โดยหลักใหญ่ใจความมีการระบุไว้ว่า… “ตลาดแรงงานครูฟิลิปปินส์ในไทย” เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นชัดเจนนับแต่เปิดเสรีอาเซียน ปี2558 เป็นต้นมา โดยฟิลิปปินส์มีประชากรวัยแรงงานจำนวนมาก อีกทั้งรัฐบาลก็มีนโยบายส่งเสริมให้พลเมืองออกทำงานต่างประเทศซึ่ง ไทยคือหนึ่งในประเทศเป้าหมาย ของแรงงานฟิลิปปินส

“ไทย“ ปี 2561 เป็นอันดับ 1 ของอาเซียน
ที่ “มีชาวฟิลิปปินส์มาทำางานมากสุด!!“

ทาง ภัสสร ได้สะท้อนข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ “ลักษณะอาชีพ”ที่แรงงานข้ามชาติชาวฟิลิปปินส์นิยมเข้ามาทำในไทยไว้ว่า… ส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพหรืองานในลักษณะ “กึ่งฝีมือและฝีมือ” แต่ที่คนฟิลิปปินส์นิยมมาทำกันที่สุด คือ “งานด้านการสอน เป็นครู เป็นอาจารย์“ โดยระหว่างปี 2555-2561 พบว่า…ตัวเลขคนฟิลิปปินส์ที่ทำงานด้านการสอนมีเพิ่มขึ้นทุกปี โดยลดลงเล็กน้อยแค่ในปี2557 ซึ่งเป็นช่วงที่ไทยมีปัญหาทางการเมืองภายใน …นี่เป็นข้อมูลที่น่าสนใจที่ช่วยฉายภาพ…

คนฟิลิปปินส์นิยมมาเป็นครูในไทย“

ขณะที่ “แรงจูงใจ” ที่ทำให้คนฟิลิปปินส์เลือกมาทำงานที่ไทยนั้น ในบทความดังกล่าวระบุไว้ว่า…น่าจะมีปัจจัยตั้งต้นมาจากการที่รัฐบาลฟิลิปปินส์มีนโยบายส่งเสริมให้พลเมืองทำงานในต่างประเทศจนกลายเป็นวัฒนธรรมของคนฟิลิปปินส์ในที่สุด โดยที่ ไทยมีการคมนาคมที่สะดวกกว่า เมื่อเทียบกับฟิลิปปินส์ และการที่ไทยไม่มีค่านิยมกีดกันเรื่องศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ นั้นก็เป็นผลทำให้ คนฟิลิปปินส์รู้สึกสบายใจในการใช้ชีวิตในไทย เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในอาเซียน อีกทั้งยัง มีความมั่นใจที่จะได้รับการช่วยเหลือจากเครือข่ายคนฟิลิปปินส์ในไทย ที่ก็เป็นปัจจัยสำาคัญที่ทำให้…

แรงงานฟิลิปปินส์อยากทำางานที่ไทย“

ส่วนประเด็น “อาชีพที่คนฟิลิปปินส์นิยมทำในไทย” อย่างการเป็น “ครูสอนภาษาอังกฤษ“ นั้น ประเด็นนี้มีการวิเคราะห์ไว้ว่า… เป็นผลสืบเนื่องจากการที่กระทรวงศึกษาธิการไทยมีนโยบายปฏิรูปการเรียนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาไทยจึงจำเป็นต้องจ้างครูต่างชาติที่เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษมาทำการสอน อย่างไรก็ตาม แต่เพื่อให้งบประมาณของสถานศึกษามีความคล่องตัวสอดคล้องสภาพเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน ที่ต้องประหยัดงบประมาณ แต่ก็ยังเกิดประโยชน์ต่อนักเรียนไทย ทำให้สถานศึกษาหลาย ๆ แห่งไม่เลือกที่จะจ้างครูสอนภาษาอังกฤษชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษา ซึ่งมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำาอยู่ที่ประมาณ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แต่หันไปเลือกจ้างครูชาวต่างชาติที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ที่มีค่าจ้างขั้นต่ำประมาณ 25,000 บาทต่อเดือน นี่จึงเป็น “สาเหตุ“ ที่ทำให้ “ครูฟิลิปปินส์ในไทยเพิ่มขึ้นทุกปี“

เป็นผลมาจาก “ปัจจัยค่าจ้างต่อเดือน“
ที่ “จ้างฟิลิปปินส์ถูกกว่าเจ้าของภาษา“

ทั้งนี้ ทาง ภัสสร มิ่งไธสง ยังแจกแจงไว้ในบทความที่มีการเผยแพร่อยู่ใน www.theprachakorn.com โดยระบุไว้อีกว่า… จากการศึกษาเรื่อง “การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของครูสอนภาษาอังกฤษสัญชาติฟิลิปปินส์ในสถานศึกษาของไทย ในเขตพื้นที่ กทม.” ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ของตนเอง พบว่า… ครูฟิลิปปินส์ในไทยมักไม่ได้รับความเท่าเทียม ทั้งด้านเงินเดือน และมักถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากนโยบายโรงเรียนที่สนับสนุนครูเจ้าของภาษามากกว่าและก็มีคำถามกรณี “ครูชาวฟิลิปปินส์“ ว่า… การจ้างครูภาษาอังกฤษชาวฟิลิปปินส์แทนครูที่เป็นเจ้าของภาษาจะส่งผลต่อการเรียนของเด็กไทยหรือไม่?

อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามกับกลุ่มครูไทยที่ทำางานร่วมกับครูชาวฟิลิปปินส์แล้ว พบว่า… ครูไทยมองครูฟิลิปปินส์ว่าทำหน้าที่ครูได้ดีกว่าครูเจ้าของภาษา ทั้งเรื่องการเอาใจใส่การสอน การดูแลนักเรียนในชั้นเรียน และสัมพันธภาพที่มีต่อเพื่อนร่วมงานก็ดีกว่าครูเจ้าของภาษามาก เนื่องจากครูไทยไม่สามารถตักเตือนหรือให้ความเห็นกับครูเจ้าของภาษาได้เลย เพราะถูกมองว่าไม่มีความรู้ความสามารถพอที่จะไปตักเตือนหรือแนะนำอะไรได้ …นี่ก็เป็นอีกภาพสะท้อนที่น่าสนใจ

กับคนที่มาแล้วก่อปัญหา…ก็ว่ากันไป
ที่แน่ ๆ ก็คือมี “ครูฟิลิปปินส์ในไทย“
นี่ก็ “ปรากฏการณ์แรงงานข้ามชาติ“