ในช่วงที่สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือ ส่วนภาคกลางก็ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม รวมไปถึงพื้นที่ทางภาคอีสาน และภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ แน่นอนว่าคงจะเป็นการยากที่จะไม่ขับรถลุยน้ำท่วม แต่จะทำอย่างไรให้รถยังใช้งานได้ยาวนานเหมือนเดิม วันนี้ “รู้ก่อนเหยียบ” มีคำตอบมาฝากกันครับ

เทคนิคดูระดับน้ำท่วมที่ไม่ควรขับลุย
-ระดับน้ำ 5-10 ซม. ไม่อันตรายผ่านได้ทุกคัน
-ระดับน้ำ 10-20 ซม. ยังปลอดภัยและอาจได้ยินเสียงน้ำใต้ท้องรถและมีคลื่นบ้างเวลาขับสวนกัน
-ระดับน้ำ 20-40 ซม. เริ่มเสี่ยงสำหรับอีโคคาร์ แต่รถกระบะยังผ่านได้
-ระดับน้ำ 40-60 ซม. รถเก๋งต้องเลี่ยง รถกระบะเริ่มเสี่ยง ควรปิดแอร์ขณะขับ
-ระดับน้ำ 60-80 ซม. อันตรายต่อรถทุกประเภท ไม่ชำนาญห้ามขับลุยเด็ดขาด
-ระดับน้ำเกิน 80 ซม. ระดับน้ำสูงสุดเท่าที่รถจากโรงงานจะสามารถขับผ่านได้

Mid-section of mechanic preparing a check list

“วิธีเช็กรถหลังลุยน้ำท่วม”
“ระบบเบรก” ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะน้ำรอการระบายไม่ได้สะอาดอะไรมากมายนัก น้ำสกปรกสามารถเข้าไปติดขัดได้ในระบบเบรก ทั้งยังทำให้เกิดขึ้นความชื้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลงโดยเฉพาะ “น้ำมันเบรก” ที่อาจเสื่อมคุณภาพได้ เช่นเดียวกับหน้าสัมผัสของชุดผ้าเบรคเองที่เกิดจากขี้ผงต่างๆ จนเป็นรอยบนชุดจานเบรกได้
ของเหลวทั้งหมด เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ ฯลฯ โดยเฉพาะผู้ที่ลุยน้ำท่วมสูงๆ ควรเร่งเช็กทันที ว่ามี “น้ำเล็ดลอดเข้าไปในเครื่องยนต์หรือไม่” หากมีต้องรีบถ่ายน้ำมันเครื่องทันที
ลูกปืนล้อ เป็นส่วนที่หลายคนอาจจะลืมเลือน ซึ่งภายในลูกปืนจะมีจาระบีคอยหล่อลื่น แต่อาจละลายหายไปกับน้ำ หรือาจจะเสื่อมคุณภาพ กลายเป็นต้นตอของลูกปืนดัง ลูกปืนล้อแตก และอาจจะส่งผลถึงอุบัติเหตุร้ายแรงได้เช่นกัน
ฉีดน้ำล้างช่วงล่างให้ทั่ว ใช้แปรงขนอ่อนขัดเอาเศษโคลน ขยะ หรือเศษกิ่งไม้ออก
ระบบปรับอากาศ ที่กลิ่นไม่พึงประสงค์อาจจะมากับน้องน้ำและติดอยู่ภายในรถพอสมควร 
-ฟิวส์ หากน้ำท่วมถึงกล่องฟิวส์ ให้ถอดฟิวส์ออกมาเช็ด และเป่าให้แห้ง รวมไปถึงเป่าลมไล่น้ำตามขั้วสายไฟ และแบตเตอรี่ด้วย..

ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญและควรระวังระหว่างขับรถลุยน้ำ “หากรถดับ อย่าพยายามสตาร์ตรถเด็ดขาด” เพราะอาจสร้างความเสียหายมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นให้หาวิธีเคลื่อนย้ายรถไปไว้จุดที่ปลอดภัยก่อนติดต่อช่างผู้ชำนาญมาตรวจเช็กรถ เพื่อแก้ไขได้อย่างถูกวิธีครับ..

………………………..
คอลัมน์ : รู้ก่อนเหยียบ
โดย “ช่างเอก”

ติดต่อสอบถามข้อมูลโดยตรงที่ [email protected]

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่