นี่เป็นส่วนหนึ่งจาก “เสียงสะท้อน” ที่ ’น่าคิด“ ซึ่งถูกระบุไว้ในเวทีประชุมรับฟังความเห็น แนวทาง การบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน หรือ “Food surplus” ของประเทศไทยที่จัดขึ้นเมื่อปลายเดือน มิ.ย. เพื่อจะนำสู่การจัดตั้ง ’ธนาคารอาหารแห่งชาติประเทศไทย – Thailand‘s Food Bank“ รือ “ฟู้ดแบงก์ไทย”…

“บริหารจัดการอาหาร” นี่ “น่าสนใจ”

และ ’น่าลุ้น…ไทยมีธนาคารอาหาร?“

Fullframe of healthy and unhealthy food

ทั้งนี้… “เข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอสำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศ ตลอดจนอาหารมีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมตามความต้องการตามวัยเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งมีระบบผลิตที่เกื้อหนุน ที่ยังสามารถรักษาความสมดุลของระบบนิเวศและความคงอยู่ของฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือภัยพิบัติ” …นี่เป็น “นิยามมั่นคงทางอาหาร” ที่มีอยู่ใน พ.ร.บ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ซึ่งทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ได้สะท้อนไว้เมื่อปีที่แล้ว ในการสะท้อนต่อข้อมูล ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง “มั่นคงทางอาหาร”

บางช่วงบางตอนจากข้อมูลโดยศูนย์ดังกล่าว มีการชี้ไว้ว่า…เรื่อง ’มั่นคงทางอาหาร“  นั้นถูกพูดถึงในหลายประเด็น เนื่องจาก เกี่ยวพันกับผู้คน ชุมชน สังคม เช่น เศรษฐกิจ รายได้ ความยากจน ซึ่งหากประชาชนหรือประเทศใด ’ขาดความมั่นคงทางอาหาร“ ก็จะส่งผลกระทบในหลาย ๆ มิติ …ซึ่งจากประเด็นนี้ ’ฟู้ดแบงก์-ธนาคารอาหาร“ ก็’น่าลุ้น“

และ ’ยิ่งน่าลุ้น“ เมื่อพิจารณาข้อมูลที่นักวิชาการ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เคยสะท้อนผ่านเวทีเสวนาใต้ชายคาประชากร หัวข้อ “แผนระดับชาติของไทยปักธงไว้ตรงไหนให้คนไทยมีอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างยั่งยืน” ที่จัดขึ้นช่วงปลายเดือน ก.พ. 2566 ซึ่ง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ก็เคยสะท้อนต่อข้อมูลไว้เช่นกัน โดยบางช่วงบางตอนจากเวทีดังกล่าว มีการระบุไว้สรุปได้ว่า... ’อาหารไม่ได้มีแค่เรื่องของการกิน หรือเรื่องของสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวโยงไปถึงมิติอื่น ๆ อาทิ ทางสังคม ทางวัฒนธรรม รวมถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย… จึงจำเป็นที่ประเทศไทยต้องกำหนดทิศทาง-แนวทาง ให้ชัดเจน-เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งแม้เรื่องของอาหารถูกบรรจุเอาไว้ในแผนแม่บทชาติด้วยเช่นกัน แต่ยังขับเคลื่อนได้ไม่มากเท่าที่ควร จำเป็นต้องมีแนวทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้น“ …ซึ่งกรณีนี้ “ธนาคารอาหารก็น่าจะเกี่ยว”

Woman picking bell peppers in a reusable bag Ecology Earth Day thematics

การจะจัดตั้ง “ธนาคารอาหาร-ฟู้ดแบงก์” นั้นประเทศไทยมีโครงการที่มีชื่อว่า ’โครงการพัฒนาธนาคารอาหารแห่งชาติ“ เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาอาหาร ที่รัฐบาลไทยมีดำริจัดทำขึ้น โดย มีโมเดลคล้าย ๆ กับ “กฎหมายบริจาคอาหาร” ของเกาหลีใต้ ทั้งนี้เพื่อ สนับสนุนการบริจาคอาหารส่วนเกินให้กลุ่มเปราะบาง ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม กับการจะทำให้ฟู้ดแบงก์ไทยเกิดขึ้นได้จริงนั้น ก็จำเป็นต้องมีแผนขับเคลื่อนให้ชัด ๆ จึงนำสู่การจัดเวทีระดมสมองเพื่อจัดทำแนวทาง โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) เมื่อปลายเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา

กับเรื่องนี้นั้น… หัวใจสำคัญอยู่ที่การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการอาหารส่วนเกิน หรือ ’Food surplus“ ของประเทศไทย ที่… ต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อแก้ปัญหาสูญเสียอาหาร และรวมถึงขยะอาหาร ด้วย

หัวหน้าโครงการการจัดตั้งธนาคารอาหารของไทย ดร.ปัทมาพร ประชุมรัตน์ ระบุไว้ในเวทีระดมสมองว่า… มีผลศึกษาในไทยกรณี Food surplus พบว่า… 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตขึ้นมาจะถูกทิ้ง ซึ่งทั้งสิ้นเปลืองทรัพยากร เพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงอยากเห็นฟู้ดแบงก์ไทยเกิดได้จริง และประสบความสำเร็จ ขณะที่ ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ที่ปรึกษาโครงการฯ ระบุไว้ว่า… หัวใจสำคัญของการบริจาคอาหารส่วนเกิน คือการสร้างเครือข่ายกับผู้บริจาคกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีระบบที่สร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เกิดการบริจาคอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงควรให้ความสำคัญกับอาหารที่ไปถึงมือผู้รับด้วย นอกจากปริมาณที่เพียงพอ ต้องมีโภชนาการครบถ้วนด้วย ซึ่งคนไทยมีพื้นฐานจิตใจที่ดีเรื่องบริจาค แต่อาจยังขาดช่องทางให้บริจาค จึงควรสื่อสารสร้างแรงจูงใจและเข้าถึงผู้อยากบริจาคให้มากยิ่งขึ้น

Woman cooking vegetables on pan

ในเวทีรับฟังความเห็นดังกล่าวยังมีการเสนอแนะไว้ด้วยว่า… จะผลักดันให้ฟู้ดแบงก์ไทยเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องทำให้คนไทยตระหนัก
ถึงประโยชน์การ ’ลดปริมาณขยะอาหาร“ หรือ ’ลดอาหารส่วนเกินที่เหลือทิ้ง“ โดยอาจจะ “เพิ่มแรงจูงใจ” ผ่านทางมาตรการจูงใจต่าง ๆ อย่างเช่น มาตรการทางภาษี ด้วยการลดหย่อนภาษี ให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งห่วงโซ่การผลิต

ทั้งนี้ ย้อนดูนิยาม “มั่นคงทางอาหาร” ย้อนดูกรณี “อาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างยั่งยืน” กับเรื่อง ’Thailand‘s Food Bank – ธนาคารอาหารแห่งชาติประเทศไทย“ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และ ’น่าลุ้นให้มีเร็ว ๆ“…

คนไทยที่บางวัน ต้องอดอาหาร“ ยังมี

และ ’ต้องกินอาหารที่ไม่ดี“ นั้นก็มาก

’จัดการอาหาร“ ไทย ’ทำได้ดี…ดีแน่“.

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่