เกิด ’เหตุร้ายในโรงเรียน“ ต่อเนื่องจนน่าตกใจ…และเกิด ’ปุจฉาเซ็งแซ่!!“ อีกครั้ง…หลังจากเมื่อเร็ว ๆ นี้เกิดเหตุร้ายติดต่อกัน 2 เหตุการณ์!!… เหตุแรก… นักเรียนเสียชีวิตคาตู้กดน้ำโรงเรียน” ซึ่งเบื้องต้นสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากไฟฟ้ารั่ว!! ส่วนอีกเหตุการณ์… นักเรียนตกอาคารเรียนเสียชีวิต” ช่วงวันหยุด ซึ่งเบื้องต้นกำลังอยู่ในขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนหาสาเหตุ?? อย่างไรก็ตาม ที่น่าสังเกตคือ…แม้ทั้ง 2 เหตุการณ์จะต่างกรณี-ต่างสถานที่-ต่างเวลา แต่ ลักษณะสถานที่เกิดเหตุเหมือนกันคือพื้นที่โรงเรียน และก็ทำให้เรื่องของ ’ความปลอดภัยในโรงเรียน“ กลับมามีปุจฉา เป็น ’ประเด็นกังขา??“ อีกครั้ง…

ทั้งนี้ เกี่ยวกับเรื่อง “ความปลอดภัยในโรงเรียน” เรื่องที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูลในวันนี้นั้น… เมื่อไม่นานมานี้ในประเทศไทยก็เพิ่งจะมีการเปิดตัว ’กรอบความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษา ปี พ.. 2565-2573 ฉบับภาษาไทย“ โดยวัตถุประสงค์สำคัญของกรอบหรือคู่มือดังกล่าวก็เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษานำไป ’ใช้สร้างมาตรการความปลอดภัย“ซึ่งคู่มือนี้จัดทำขึ้นโดย องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย โดยทุนสนับสนุนจาก พรูเด็นซ์ ฟาวน์เดชั่น และ มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก ประเทศไทย (Save the Children Thailand)

มีคู่มือรับมือภัยหลากหลายรูปแบบ…
รวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ กับอุบัติเหตุ
เพื่อจะ ’ป้องกันเหตุร้ายในโรงเรียน!!“

และเกี่ยวกับ ’กรอบความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษา ปี พ.. 2565-2573 ฉบับภาษาไทย“ดังกล่าวนี้ ทาง มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก ประเทศไทย หรือ Save the Children Thailand ได้ให้ข้อมูลมาว่า… กรอบการดำเนินงานความปลอดภัยรอบด้านฉบับนี้ มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Comprehensive School Safety Framework ที่ใช้ตัวย่อว่า CSSF” เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนผู้กำหนดนโยบาย นักวางแผน ผู้บริหารสถานศึกษา ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในการ ส่งเสริมสิทธิเด็ก ความยั่งยืน และการปรับตัวต่อภัยต่าง ๆ ในภาคการศึกษา ที่อาจก่อเกิดอุปสรรคต่อครู บุคลากรการศึกษา และที่สำคัญ…

เพื่อ ’ใช้สำหรับปกป้องคุ้มครองเด็ก“

ความเป็นมาของกรอบความปลอดภัยนี้ ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2555 และได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาพสังคมมาหลายครั้ง โดยกรอบความปลอดภัยนี้ได้รับการรับรองจากกว่า 60 ประเทศทั่วโลกที่เล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการ “สถานศึกษาปลอดภัย” ผ่านแนวทาง ลดความเสี่ยงจากภัยทุกรูปแบบให้แก่ครู บุคลากรการศึกษา และโดยเฉพาะเด็ก เพราะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของเด็ก ทั้งภัยคุกคามทางธรรมชาติ เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โรคระบาด ความรุนแรง ความขัดแย้ง รวมถึงภัยคุกคามในชีวิตประจำวัน และภัยจากอุบัติเหตุ เป็นต้น

นอกจากเป็น “คู่มือความปลอดภัย” ให้สถานศึกษา-โรงเรียนในไทยแล้ว กรอบความปลอดภัยนี้ยัง “เชื่อมโยง” กับกรอบงานระดับโลกที่สำคัญหลายฉบับด้วย อาทิ… อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พ.. 2532, เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ พ.. 2558-2573, กรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.. 2558-2573 ทั้งนี้ เพื่อให้ “กรอบความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษา” เป็นแกนกลางการ ส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ทาง ประเทศไทยก็ให้การรับรอง และนำคู่มือนี้มาใช้เป็นแนวทางด้วย โดยจะดำเนินการผ่าน “เสาหลัก 3 ด้าน” ดังต่อไปนี้…

เสาหลักที่ 1 ด้าน โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ดังนี้คือ… ต้องมีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องมีมาตรฐานและกรอบดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีมาตรการควบคุมคุณภาพการก่อสร้าง ต้องมีการประเมินและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง น้ำ-สุขาภิบาล-สุขอนามัยต้องมีความปลอดภัย,เสาหลักที่ 2 ด้าน การบริหารจัดการความปลอดภัยสถานศึกษาและความต่อเนื่องทางการศึกษา ดังนี้คือ… มีทักษะการตอบสนองและจัดการภัยพิบัติ มีการจัดการความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วม ต้องวางแผนต่อเนื่องทางการศึกษา มีแผนเผชิญภัยพิบัติ, เสาหลักที่ 3 ด้าน การศึกษาเพื่อการลดความเสี่ยงและการปรับตัวต่อภัยพิบัติ อาทิ… มีหลักสูตรการเรียนเรื่องนี้ที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ มีการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากร เป็นต้น …นี่เป็นข้อมูลโดยสรุปของเรื่องนี้…

เสาหลัก 3 ด้าน ’สร้างความปลอดภัย“
ให้สถานศึกษา’ปลอดจากภยันตราย“

ทั้งนี้ เป้าหมายกรอบความปลอดภัยนี้ จากเอกสารที่เผยแพร่มาผ่านมูลนิธิSave the Children Thailand ได้ให้ข้อมูลวัตถุประสงค์กรอบความปลอดภัยนี้ไว้ว่า… 1.เพื่อปกป้องนักเรียน ครู บุคลากรการศึกษา จากการเสียชีวิต บาดเจ็บ ความรุนแรง ภัยอันตรายในโรงเรียน-ในพื้นที่จัดการเรียนการสอน 2.เพื่อป้องกันและลดการหยุดชะงักทางการศึกษา เมื่อเกิดเหตุสะเทือนขวัญ สถานการณ์ตึงเครียด หรือภัยคุกคามต่าง ๆ 3.เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรการศึกษา ให้มีส่วนร่วมลดความเสี่ยงจากอันตรายทุกรูปแบบในสถานศึกษา …ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นข้อมูลโดยสังเขปของกรอบ…

’ความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน“
’มีกรอบสากล“ และ ’ไทยก็รับรอง“…
ที่สำคัญคือ…’ต้องใส่ใจใช้จริงจัง!!“.