ใครจะไปเชื่อ จาก 8 โครงการก่อสร้างพัฒนาเมืองกาฬสินธุ์ ของ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย วัตถุประสงค์ เพื่อจะแก้ไขปัญหาป้องกันน้ำท่วม บรรเทาความเดือดร้อนซ้ำซ้อน ให้ชาวบ้าน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์, .ฆ้องชัย และ อ.กมลาไสย งบประมาณ 558.2 ล้านบาท

โครงการฯเริ่มตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว (ปี 2562) มีทั้งก่อสร้างวางท่อระบายน้ำ แนวเขื่อนกันตลิ่งพัง และถนน ส่วนใหญ่ก่อสร้างไม่เสร็จ จนชาวบ้านทนไม่ไหว ติดป้ายประณามตั้งชื่อ “ถนน 7 ชั่วโคตร”

8 โครงการก่อสร้างพัฒนาเมืองกาฬสินธุ์ มี 2 หจก.” ที่ชนะประมูลงานได้ ก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญาแถมยังสร้างผลกระทบให้กับชาวบ้านเดือดร้อนมาหลายปี ยิ่งช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝน สภาพงานก่อสร้างที่ยังไม่เสร็จทำให้เห็นปัญหาติดตามมา นอกจากถนนแล้ว บริเวณแนวก่อสร้างตามริมตลิ่ง กำลังจะกลายเป็น ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ เพราะทั้งดินและทรายที่ถมไว้เริ่มถูกฝนชะล้างไหลลงแม่น้ำ

ทุกโครงการถือว่าสร้างด้วย เงินภาษีประชาชน ทางเดลินิวส์จึงได้ส่ง ทีมข่าวเฉพาะกิจ ตามเกาะติดปัญหามาตั้งแต่มีการร้องทุกข์ไว้เมื่อปี 2566 เมื่อเจาะลึกข้อมูลจึงทราบว่า เบิกจ่ายเงินรัฐไปแล้วกว่า 252 ล้านบาท แม้ก่อนหน้านี้ทาง กรมโยธาธิการฯ ยอมรับว่าทำ หนังสือแจ้งเตือน ให้ “ผู้รับจ้าง” ไปแล้วหลายครั้ง เมื่อเดลินิวส์ตีแผ่ต่อเนื่องจนทำให้ อธิบดีกรมโยธาธิการฯ ต้องลงพื้นที่ตระเวนมาดูหลายจุด เมื่อได้เห็นข้อเท็จจริงด้วยสายตาตัวเอง จึงตัดสินใจ ยกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้าง 6 โครงการฯ ของ ผู้รับจ้างรายใหญ่ทั้ง 2 ราย ในสัญญาโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำหลักเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองกาฬสินธุ์ และโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำปาว ซอยน้ำทิพย์ อ.เมืองกาฬสินธุ์

คงเหลืออีก 2 โครงการฯ คือ โครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งแก่งดอนกลาง เขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ (งบประมาณ 39,540,000 บาท) และเขื่อนป้องกันตลิ่งบ้านหนองหวายหนองคล้า ต.ลำชี อ.ฆ้องชัย (งบประมาณ 39,525,000 บาท) ราวกับเป็น น้ำลดตอผุด จากเหตุการณ์ จ.กาฬสินธุ์ ใครจะไปเชื่อจะไปเกิดขึ้นกับถนนในพื้นที่ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ของ กรมทางหลวงชนบท เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2561 สิ้นสุดสัญญาไปวันที่ 20 ก.พ. 67 ก็ยังไม่เสร็จ (คืบหน้า 69.753%) จนชาวบ้านตั้งชื่อให้ ถนน 7 ชั่วโคตร เช่นเดียวกัน ระยะทาง 16.460 กม. (งบประมาณ 540 ล้านบาท) กระทั่งต้นเดือน พ.ค. ทำให้กรมทางหลวงชนบทบอกเลิกสัญญากับผู้รับจ้าง ทำงานมีปัญหาล่าช้ามาตลอดไม่แล้วเสร็จตามสัญญา

ถึงแม้ผลพวงการ ยกเลิกสัญญาจ้าง จะทำให้ผู้ประกอบการ ไม่มีสิทธิยื่นขอรับงานจากกรมโยธาธิการฯ และ กรมทางหลวงชนบท ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้จะเร่งรัดจัดหา ผู้รับจ้างรายใหม่ เข้าดำเนินการเพื่อลดผลกระทบ ทั้ง 2 กรมฯ ยังจะต้องแจ้งเวียนชื่อไปยัง กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังเป็น ผู้ทิ้งงาน ไม่สามารถรับงานจากทางราชการได้อีก แต่ข้อเท็จจริงมีรายงานช่วงปลายเดือน เม.ย. บริษัทฯ ที่มีปัญหาก็ยังไปได้งานทำถนนอีก

ยังดีนอกจากเดลินิวส์จะช่วยตีแผ่แล้ว ทาง เครือข่ายภาคประชาสังคม ต่อต้านการทุจริต ป...เขต 4 ประจำ จ.กาฬสินธุ์ ร่วมกับ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเขต 12 ในฐานะประธานธรรมาภิบาลจังหวัดกาฬสินธุ์ เกาะติดส่งหนังสือถึงหลายหน่วยงานเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สตง., ..., ... และดีเอสไอ ให้ลงมาเร่งตรวจสอบด้วย

นับเป็นอีกปัญหาใหญ่ นายกฯเศรษฐา อย่ามองข้ามเด็ดขาด บริษัทที่ประมูลงานของภาครัฐไปได้แล้ว ยังกล้าทิ้งงานเช่นนี้? ถ้าหน่วยงานไม่รีบลงดาบเฉียบขาดจริงจัง ก็น่าเสียดาย “เม็ดเงินภาษีประชาชน” ที่ถูกนำไปใช้แบบไม่คุ้มค่า!!.

……………………………………
เชิงผา

อ่านบทความทั้งหมดที่นี่..