1. หากที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้ผู้ชำระบัญชีจัดสรรกำไรสะสม เป็น “เงินปันผล” ให้แก่ผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับภายหลังบริษัทฯ เลิกกิจการ ย่อมเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทฯ โดยผู้ชำระบัญชีจ่ายเงินปันผล ย่อมมีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% ของเงินปันผล ทั้งกรณ๊ผู้ถือหุ้นที่เป็นบริษัท (โดยมาตราา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528) และบุคคลธรรมดา (โดยมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร) โดยไม่ต้องตั้งสำรองตามกฎหมายอี่แต่อย่างใด เนื่องจากมีการเลิกบริษัทฯ แล้ว

2.กรณีไม่มีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้จัดสรรกำไรสะสมเป็นเงินปันผล การคืนทุน พร้อมทั้งกำไรสะสม ให้แก่ผู้ถือหุ้น นั้น เฉพาะในส่วนของกำไรสะสม เท่านั้นที่ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) สำหรับผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดา ให้บริษัทฯ โดยผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร 
(2) สำหรับผู้ถือหุ้นที่เป็นบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นั้น บริษัทฯ โดยผู้ชำระบัญชี ไม่มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่อย่างใด เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในกรณีนี้บทบัญญัติมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งระบุไว้ว่า ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4) ให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้ นั้น ท่านให้ใช้กับเฉพาะกรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น มิให้ใช้บังคับกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่อย่าวมด ความเข้าใจว่า บริษัทฯ โดยผู้ชำระบัญชี ต้องเอายอดกำไรสะสมตามงบเลิกกิจการ ไปยื่นหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทผู้ถือหุ้น 95% นั้น ความเข้าใจดังกล่าวยังไม่ถูกต้อง

3.บริษัทที่ถือหุ้น 95% ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ตามมาตรา 40 (4)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องนำผลประโยชน์ฯ ดังกล่าว ไปถือรวมเป็นรายได้อื่นในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ด้วย.