@@@@ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้พบปะผู้ประกอบการไทยที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้า Naturally Goods Expo 2024 ณ ศูนย์การประชุมระหว่างประเทศ นครซิดนีย์ งานแสดงสินค้า Naturally Goods เน้นจัดแสดงสินค้าเพื่อความยั่งยืนที่ผลิตจากธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปีนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์ ได้นำผู้ประกอบการไทยที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน เข้าร่วมงานฯ จำนวน 22 ราย เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งเป็น 4 สาขา ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์ สินค้าตกแต่ง และ personal care ทั้งนี้ สินค้าไทยได้รับความนิยมจากลูกค้าชาวออสเตรเลียเป็นอย่างมาก

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้พบปะผู้ประกอบการไทยที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้า Naturally Goods Expo 2024 ณ ศูนย์การประชุมระหว่างประเทศ นครซิดนีย์ เน้นจัดแสดงสินค้าเพื่อความยั่งยืนที่ผลิตจากธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

@@@@ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ขอประชาสัมพันธ์ #บริการทางกงสุล 7 ประเภท ที่สามารถ #ดำเนินการทางไปรษณีย์ได้ และ Link ไปสู่หน้าเว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลประกอบการดำเนินการนั้น ๆ ดังนี้ 1.การขอสูติบัตร https://ume.la/sgnRjR 2.การขอมรณบัตร https://ume.la/flTCm5 3.การรับรองเอกสาร https://ume.la/523JHS 4. การขอตราประทับรับรองเอกสารแปล https://ume.la/XGhZFz 5.การรับรองหนังสือมอบอำนาจ https://ume.la/ntaRdD 6. การขอหนังสือขอผ่อนผันเกณฑ์ทหาร https://ume.la/vAsYrj 7. การรับรองหนังสือให้ความยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ https://ume.la/QPGTwP

@@@@ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ซึ่งเดินทางเยือนออสเตรเลียตามคำเชิญของกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับภาพรวมสถานการณ์ความมั่นคงไซเบอร์ในไทย และความร่วมมือด้านไซเบอร์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ รวมถึงความร่วมมือระหว่างไทยกับออสเตรเลีย โดยมีผู้ช่วยทูตทหาร 3 เหล่าทัพ พร้อมข้าราชการสถานเอกอัครราชทูตฯ ร่วมการสนทนาในครั้งนี้ด้วย

เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เดินทางเยือนออสเตรเลียตามคำเชิญของกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และความร่วมมือด้านไซเบอร์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ

@@@@ พระครูโชติธรรมวิเทศ (พระอาจารย์ธานี) เจ้าอาวาสวัดธรรมรังษี นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ได้รับพระเมตตาเข้าเฝ้า เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร มหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานครพระองค์ทรงพระเมตตาทรงเจิมแผ่นวางศิลาฤกษ์ สร้างอาคารที่พักสงฆ์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช (อมฺพรมหาเถร) เนื่องในศุภวาระทรงเจริญพระชนมายุครบ 8 รอบ พุทธศักราช 2566 วัดธรรมรังษี เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567 พระองค์ทรงพระเมตตาพรมน้ำพระพุทธมนต์ เนื่องในโอกาสอายุวัฒนมงคลวันเกิดพระอาจารย์ธานี 52 ปี เจ้าอาวาสวัดธรรมรังษี เมลเบิร์น ออสเตรเลีย ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

เจ้าอาวาสวัดธรรมรังษี นครเมลเบิร์น ได้รับพระเมตตาเข้าเฝ้า เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงพระเมตตาทรงเจิมแผ่นวางศิลาฤกษ์ สร้างอาคารที่พักสงฆ์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช

@@@@ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 นางหัทยา คูสกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ พบกับนาง Thuy Doan-Smith, Chief Operating Officer ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Forum of National Human Rights Institutions: APF) และนาง Jelena Milutinovic, Operations and Partnerships Officer ณ ที่ทำการสถานกงสุลใหญ่ฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานของ APF ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครซิดนีย์ APF มีประเทศสมาชิกจำนวน 25 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการจัดตั้งและการดำเนินงานขององค์กรสิทธิมนุษยชนระดับชาติของประเทศสมาชิก รวมถึงการส่งเสริมการประสานงานระหว่างกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระดับชาติกับกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระดับอนุภูมิภาคและระดับภูมิภาค ประเด็นที่ APF ให้ความสำคัญในลำดับต้นในห้วง 5 ปีนี้ ได้แก่ การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ การคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ พบกับนาง Thuy Doan-Smith, Chief Operating Officer ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APF) และนาง Jelena Milutinovic, Operations and Partnerships Officer เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานของ APF

@@@@ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 เรย่า รัชญา นิลกรรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท RAYYA TAX AGENTแห่งประเทศออสเตรเลีย
บริษัทดูแลลูกค้าคนไทย และนักเรียนต่างชาติในด้านภาษี จัดตั้งบริษัท เคลมเงินกองทุน และบัญชีธุรกิจ อันดับต้นๆของคนไทยในประเทศออสเตรเลีย ได้รับเชิญจากบริษัท Marwell Records ประเทศไทย ให้เกียรติร้องเพลงเปิดตัว เพลงใหม่ ซึ่งแต่งขึ้นมาเพื่อนักร้องหญิง เนื่องจากค่ายเพลงนี้ที่ผ่านมามีเพียงนักร้องชาย และเริ่มทำโปรเจคใหม่ ที่จะสร้างนักร้องหญิงขึ้นมา เรย่าได้ให้เกียรติ ร้องเพลงแรกที่ทำขึ้นเพื่อนักร้องหญิง ทั้งนี้ ในขณะเป็นฤดูหน้าภาษี ของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตอนนี้ ลูกค้าให้ความไว้วางใจในบริษัทอย่างมาก ที่จะใช้บริการทำภาษีของปี 2024 เรย่าหลังจากที่ได้เทรนงานทีมงานที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว จึงบินมาเทรนงานทีมงานในประเทศไทย และได้มีโอกาสเดินทางมาร่วมร้องเพลงเปิดตัวเธอเอง 1 เพลง ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 2 วันในการทำงานได้ทั้งทำเพลงและ MV ในการถ่ายทำ จากนั้นก็จะบินกลับ กรุงเทพฯ เพื่อทำงานต่อ สำหรับคนไทยในประเทศออสเตรเลีย ต้องการเคลมเงินภาษีคืนปี 2024 ทักแชท Line OA : @rayyataxagent ช่องทางเดียว ………………….. บริษัท Marwell Records ประเทศไทย เป็นค่ายเพลงที่เปิดใหม่ของผู้สื่อข่าวอาวุโส เดลินิวส์ นายไตรภพ เฮงพูลธนา ซึ่งร่วมทุนกับเพื่อนสนิทตั้งแต่วัยเยาว์ นายนิวัฒน์ กิระนันทวัฒน์ ประธานกรรมการ บริษัท ท้อปเท็นเทรดดิ้ง กรุ๊ป เป็นสตูดิโอที่มีอาจารย์สอนร้อง ควบคุมการอัดเสียง ถึง 3 คน คือ นายประภาส พิมพิบูลย์ (อาจารย์ เสภาษ) นายวีรวิชญ์ สายันเกณะพงศ์ (อาจารย์หนึ่ง ภูไท) นาย พิทักษ์ ภูลายดอก (อาจารย์ปู ปลาทอง) ด้วยห้องอัดเสียงและระบบที่ทันสมัยที่สุดในจังหวัดขอนแก่น ติดต่อใช้บริการได้ที่ โทร 0966 619 312 หรือ 096 679 830

กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ พบกับนาง Thuy Doan-Smith, Chief Operating Officer ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APF) และนาง Jelena Milutinovic, Operations and Partnerships Officer เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานของ APF

@@@@ วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน 2567 นักเรียนบางส่วนของโรงเรียนภาษาไทยวัดพุทธรังษี ได้มีโอกาสไปร่วมการแสดงเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในงาน Community Language Schools Spectacular ณ Sydney Town Hall จัดโดย NSW Federation of Community Language Schools ซึ่งได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เพื่อให้สมาชิกโรงเรียนภาษาชุนชนต่างๆ ถึง 67 โรงเรียนได้ร่วมกันแสดงวัฒนธรรมของประเทศของตนเอง ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และแขกที่มาร่วมงานที่ได้รับชมและมีส่วนร่วมในงานครั้งนี้
นักเรียนของโรงเรียนฯ ได้แสดงความสามารถด้านดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทย โดยครั้งนี้ได้นำการแสดงดนตรีอังกะลุงของนักเรียนรุ่นกลางในเพลงโยสลัม 2 ชั้นและมาร์ชิ่งทูจอร์เจีย สร้างความแปลกใหม่ให้กับผู้ชมชาวต่างชาติซึ่งโรงเรียนฯ มิได้นำอังกะลุงไปเผยแพร่เป็นเวลาหลายปีแล้ว นอกจากนี้ นักเรียนรุ่นพี่ของโรงเรียนฯ ได้แสดงนาฏศิลป์ชุดธิดาฟ้าหยาดอันสวยงาม การแสดงทั้งสองชุดเรียกเสียงปรบมือจากผู้ชมเป็นอย่างมาก นับว่าประสบผลสำเร็จอีกครั้งในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในต่างแดน

นักเรียนบางส่วนของโรงเรียนภาษาไทยวัดพุทธรังษี ร่วมการแสดงเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในงาน Community Language Schools Spectacular ณ Sydney Town Hall จัดโดย NSW Federation of Community Language Schools ซึ่งได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน 2567

@@@@ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 เวลา 14.00-16.00 น. นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานและข้าราชการทีมประเทศไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา คู่สมรส และเจ้าหน้าที่ ได้ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2567 โดยได้ร่วมกันจัดกิจกรรม “ชั่วโมงหรรษา” (Happy Hour) เพื่อสร้างความสนุกสนานร่าเริงและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมให้แก่ผู้สูงอายุ ณ บ้านพักผู้สูงอายุ Goodwin Aged Care กรุงแคนเบอร์รา กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการแสดงรำเชิญพระขวัญ การสาธิตการไหว้ครูมวยไทย การรับชมวีดิทัศน์เกี่ยวกับประเทศไทย การขับร้องเพลงโดยจิตอาสา การรับประทานอาหารว่างของไทย และการรำวงร่วมกัน กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้สูงอายุ และคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของบ้านพักผู้สูงอายุ Goodwin Aged Care, Farrer รวมทั้งจิตอาสาข้าราชการทีมประเทศไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา และคู่สมรส รวมจำนวนประมาณ 70 คน

เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานและข้าราชการทีมประเทศไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา คู่สมรส และเจ้าหน้าที่ ได้ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567

@@@@ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา จัดการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ชุดไทย ชุดแต่งกายประจำชาติ: เรื่องราวมรดกทางวัฒนธรรม” ณ อาคารศาลาไทย เพื่อนำเสนอวิวัฒนาการของผ้าไทยและชุดไทย โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร. อนุชา ทีรคานนท์ คณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย เป็นผู้บรรยายในหัวข้อดังกล่าว และมีแขกผู้เข้าร่วมชาวต่างชาติประกอบด้วยเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำออสเตรเลียที่เป็นสตรี และสมาชิกชมรมสตรีระหว่างประเทศ (Women International Club (WIC)) ในกรุงแคนเบอร์รา จำนวนประมาณ 70 คน ………………….. การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับชุดไทยและผ้าไทย และสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลไทยเพื่อเสนอรายการ “ชุดไทย: ความรู้ งานช่างฝีมือ และแนวปฏิบัติการแต่งกายชุดไทยประจำชาติ” ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) โดยในคำกล่าวเปิดงาน นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ยังได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจและพระวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ผ้าไทยและส่งเสริมให้ชุดไทยมีความทันสมัย รวมทั้งการฝึกอบรมสร้างอาชีพให้แก่สตรีไทยผ่านการจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงสืบสานพระราชปณิธาณดังกล่าว รวมทั้งได้เน้นย้ำความสำคัญของชุดไทยที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่คู่ควรแก่การสงวนรักษาไว้เพื่อคนรุ่นหลังด้วย ……………….. ในช่วงการบรรยาย ผศ.ดร. อนุชาฯ ได้อธิบายประวัติและวิวัฒนาการของชุดไทยในแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่สมัยทวารวดี จนถึงสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงที่การแต่งกายของคนไทยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมภายนอก รวมถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของตะวันตก ก่อนนำเสนอแนวความคิดและจุดกำเนิดของชุดไทยพระราชนิยมทั้ง ๘ ชุดเพื่อการสวมใส่ในงานพิธีหรือในโอกาสต่างๆ ซึ่งออกแบบตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยได้ทรงใช้เป็นชุดฉลองพระองค์ในงานพระราชพิธีและในโอกาสตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการ รวมถึงออสเตรเลีย นอกจากนี้ กิจกรรมการบรรยายได้มีการจัดเดินแบบชุดไทยและชุดไทยพระราชนิยม โดยได้รับเกียรติจากเอกอัครราชทูต ข้าราชการ และคู่สมรสของหน่วยงานทีมประเทศไทยในกรุงแคนเบอร์รา รวมทั้งกิจกรรมประดิษฐ์เข็มกลัดติดหน้าอกจากผ้าไหมไทยอีกด้วย

สถานเอกอัครราชทูต จัดการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ชุดไทย ชุดแต่งกายประจำชาติ: เรื่องราวมรดกทางวัฒนธรรม” ณ อาคารศาลาไทย เพื่อนำเสนอวิวัฒนาการของผ้าไทยและชุดไทย โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร. อนุชา ทีรคานนท์ เป็นผู้บรรยาย

@@@@ การประชุมคณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 39/2567 ณ วัดพุทธดัลลัส เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 กำหนดการ วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม เริ่มเวลา 08.00 น. พิธีเปิดการประชุมคณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศสหรัฐอเมริกา และวันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ฉลองครบรอบ 42 ปี วัดพุทธดาลัส รัฐเท็กซัส การประชุมคณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีเจ้าอาวาส รักษาการแทนเจ้าอาวาสร่วมประชุมทั้งหมด 62 วัด พระสงฆ์ 120 รูป ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางบริหารจัดการระหว่างวัดกับชุมชน การแบ่งสายการปกครองแต่ละภาคส่วน เพื่อจะได้ดูแลแต่ละวัดได้ทั่วถึง ในการเดินทางไปร่วมงานในครั้งนี้ ได้รับการต้อนรับจาก พระเดชพระคุณ พระเทพสารสุธี (ทองปลิว มาสวโร) เจ้าอาวาสวัดพุทธดัลลัส และคณะสงฆ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างดีมาก กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

พระครูโชติธรรมวิเทศ เจ้าอาวาสวัดธรรมรังษี เมลเบิร์น ออสเตรเลีย ได้รับนิมนต์จาก พระเดชพระคุณ พระเทพสารสุธี เจ้าอาวาสวัดพุทธดัลลัส นครดัลลัส เดินทางไปร่วมงาน การประชุมคณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 39/2567 ณ วัดพุทธดัลลัส

ไตรภพ ซิดนีย์