โดยคดีสังหารสะเทือนขวัญที่เคยเกิดขึ้นก็มีทั้งคดีที่ผู้ก่อเหตุป่วยทางจิต และไม่ได้ป่วยทางจิต อย่างไรก็ตาม ทั้งที่ป่วยทางจิตและไม่ป่วยทางจิตนั้น กับ แรงจูงใจ-สาเหตุ“ ที่ทำให้ลงมือก่อเหตุ…ประการสำคัญประการหนึ่งที่เรา ๆ ท่าน ๆ ได้รับรู้กันก็คือ หึงหวง“ จนถึงขั้นกลายเป็น หึงโหด!!“…

เป็นคดีประเภท พิศวาสฆาตกรรม“

และบ่อย ๆ ที่เป็นเหตุ จิตรักมรณะ“ 

ทั้งนี้ กับ “จิตรักมรณะ” ที่เป็น “สาเหตุ” การก่อเหตุ “สังหารสะเทือนขวัญ” ที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็เกิดเหตุขึ้นอีกนั้น เรื่องนี้สังคมไทย
ก็จำเป็น ต้องสนใจ-ต้องเท่าทัน“ และกับเรื่องนี้ก็เคยมีการ “ถอด รหัสเตือนสังคม” ไว้ โดย ผศ.ดร.อรพิน สถิรมน หัวหน้าสาขาจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ก็เคยสะท้อนไว้ และ ณ ที่นี้ในวันนี้ก็ขอพลิกแฟ้มสะท้อนเตือนซ้ำย้ำไว้อีก ว่า… จากการที่สังคมไทยในยุคปัจจุบัน มีปัจจัยทำให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้น อีกทั้ง สิ่งเสพติดยิ่งแพร่ระบาด นี่ก็อาจทำให้ เกิดปัญหาทางจิตได้โดยไม่รู้ตัว และ เกิดการฆ่าโหดได้ง่าย ๆ

Person suffering from ptsd at psychologist

ทาง ผศ.ดร.อรพิน สะท้อนไว้ว่า… ด้วยสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน ที่มีปัจจัยทำให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้น กรณีนี้อาจทำให้หลาย ๆ คน “เจ็บป่วยด้านจิตใจโดยไม่รู้ตัว” และสำหรับบางคนนั้น…เมื่อประสบกับปัญหาทางภาวะสุขภาพจิตก็อาจจะ “ส่งผลรุนแรง” มากกว่าคนอื่น ๆ โดยที่กรณีนี้จะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้นเมื่อคน ๆ นั้น ถูกทำให้กระทบกระเทือนทางอารมณ์-ทางความรู้สึก ซึ่งอาจจะ แสดงออกผ่านทางการกระทำที่ขาดสติ-ขาดความยั้งคิด เนื่องจาก ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเอง ได้ โดย “ผู้ที่จะได้รับผลกระทบ หรือ “เหยื่อ” นั้น…

กลุ่มเสี่ยง“ ก็คือ…บุคคลที่ใกล้ชิด“

ที่… “คน ๆ นั้นรุนแรงใส่ได้สะดวก!!”

กลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากคนที่ประสบปัญหาทางสุขภาพจิตแล้วส่งผลอย่างรุนแรง คือ “คนใกล้ชิด” เช่น… ครอบครัว คู่รัก แฟน ก็เนื่องจากบุคคลนั้น ๆ สามารถจะใช้ความรุนแรงได้อย่างสะดวกและโดยง่าย ๆ ดังนั้น คนที่ใกล้ชิดจึงง่ายที่จะเป็น “เหยื่อความรุนแรง” จากการระบายอารมณ์ของผู้ที่มีปัญหาบุคลิกภาพ-มีปัญหาทางจิต ซึ่งกับประเด็นที่สงสัยกันมากว่า…เหตุใดคนยุคนี้ถึงตัดสินใจเลือก สยบพิษรักด้วยการฆ่า“ กันมากขึ้น?? กรณีนี้ทาง ผศ.ดร.อรพิน ระบุไว้ว่า… มีปัจจัยจาก 3 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่… 1.การเลี้ยงดู 2.สภาพแวดล้อมทางสังคม 3.ค่านิยมที่เป็นปัจจัยสำคัญ

Non explicit image of child abuse

กับปัจจัยการเลี้ยงดู…จากหลาย ๆ เหตุร้ายที่เคยเกิด เมื่อวิเคราะห์ “แรงจูงใจ” ที่ทำให้ผู้ก่อเหตุตัดสินใจ “จบรักที่ไม่สมหวังด้วยความรุนแรง” ส่วนใหญ่แล้วจะพบข้อมูลว่า คน ๆ นั้นมักจะถูกเลี้ยงดูหรือมีพื้นฐานมาจากการเติบโตขึ้นโดยเห็นการใช้ความรุนแรงเป็นประจำ จนทำให้รู้สึก “ชาชิน-เคยชิน” กับเรื่องการ “ใช้ความรุนแรงเพื่อหวังแก้ปัญหา”

นอกจากนั้น การที่เด็ก ถูกเลี้ยงดูแบบตามใจเกินไป รวมถึง มักถูกปล่อยให้ต้องอยู่คนเดียวตามลำพัง เด็กก็อาจจะ ขาดทักษะทางสังคม อาจทำให้เด็ก เติบโตขึ้นมาโดยที่ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าตนเองควรตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างไร?? โดยเรื่องของ “ความรัก” นั้นก็ย่อมจะต้องเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตด้วย ซึ่ง เมื่อพบความรักที่ไม่สมหวัง หรือผิดหวังเรื่องความรัก-คนที่รัก บางคนอาจจะตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยวิธีที่รุนแรง อย่างการ ทำร้ายคนที่ตนรัก“ หรืออาจจะถึงขั้น ลงมือฆ่า“  จากแรงกระตุ้นจากความคิดที่ว่า… เพื่อไม่ให้ใครได้ครอบครองแทนตน!!“

ทั้งนี้ กับแนวทาง “ป้องกันเป็นเหยื่อจิตรักมรณะ-พิศวาสฆาตกรรม” นั้น ทาง ผศ.ดร.อรพิน สถิรมน เคยแนะนำผ่าน “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ไว้ว่า… หากจะจบความสัมพันธ์ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการจบแบบด้วยดี การจะบอกเลิกก็ควรต้องพยายามพูดอย่างสร้างสรรค์ เช่น ไม่ใช้ถ้อยคำรุนแรง ห้ามโทษฝ่ายตรงข้ามเด็ดขาด และก็ต้องไม่ทำให้ผู้ที่ถูกบอกเลิกยังมีความหวังด้วย อีกทั้ง ถ้าพบรักใหม่ก็ไม่ควรโพสต์โซเชียลให้คนรักเก่าเห็น เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดหึงหวงรุนแรงได้!!…

Young child getting physical abuse from parent

และนอกจากที่ว่ามาแล้ว…ผู้เชี่ยวชาญจิตวิทยาท่านเดิมก็ยังแนะนำไว้อีกว่า… กรณีเลิกกับคนที่มีประวัติใช้ความรุนแรง ควรจะต้องหลีกเหลี่ยงการพบปะอีก รวมถึงพยายามไม่พูดคุยด้วยผ่านโซเชียล และก็ไม่ควรอยู่คนเดียวลำพังด้วย ควรพยายามอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย มีคนที่ไว้ใจได้พึ่งพาได้อยู่เป็นเพื่อน จะเป็นการ “ปลอดภัยไว้ก่อน”

อย่างไรก็ดี ทางนักวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้สะท้อนในภาพรวมถึง “การแก้ไขพฤติกรรมความรุนแรง” ไว้ด้วยว่า… ทำได้ด้วยการเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ โดยที่ “ระดับบุคคล” ควร “ฝึกควบคุมอารมณ์” โดยเฉพาะยามโกรธ และต้องคิดก่อนทำ เช่น คิดถึงผลที่ครอบครัวต้องได้รับจากการกระทำของตน สำหรับ “ระดับครอบครัว” พ่อแม่ผู้ปกครองต้อง “เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก” ด้วยการไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ส่วน “ระดับสังคม” ต้อง “ร่วมมือกันแก้ปัญหาด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ไร้ความรุนแรง” เช่น ไม่สร้างถ้อยคำหรือแสดงพฤติกรรมรุนแรงผ่านสื่อต่าง ๆ

สังคมไทย“ เกิด จิตรักมรณะระบาด“

“ยิ่งน่ากลัว” ภัย “พิศวาสฆาตกรรม!!”

“ไม่แก้-ไม่กัน” นับวัน ยิ่งอันตราย!!“.

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่