กรณีทันตแพทย์เปิดคลินิกร่วมกับนายแพทย์ เป็นสหคลินิก (ทันตกรรมและเวชกรรม) ให้บริการช่วงเวลานอกราชการ โดยไม่ได้จดเป็นนิติบุคคล ซึ่งเชื่อมั่นว่า ได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลแล้วเป็นสหคลินิก (ทันตกรรมและเวชกรรม) ให้บริการช่วงเวลานอกราชการ โดยไม่ได้จดเป็นนิติบุคคล เช่นนี้

  1. รูปแบบของการประกอบกิจการ คุณหมอมีสิทธิเลือกสถานภาพของการประกอบกิจการเป็น
    1.1 บุคคลธรรมดา เจ้าของคนเดียว โดยคุณหมอ หรือคุณหมอน้องชายก็ได้ ขึ้นอยู่กับการขออนุญาตเปิดสถานพยาบาลในนามของท่านใด ส่วนอีกท่านหนึ่งต้องมีข้อตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของผู้ได้รับอนุญาตเพื่ตรวจและรักษาผู้ป่วยโดยผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาเอง และมีข้อตกลงแบ่งเงิน ค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร หรือข้อตกลงกับสถานพยาบาล เพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของผู้ได้รับอนุญาตเพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วย และมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วยโดยสถานพยาบาลเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาแทนผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ แล้วนำามาจ่ายให้กับผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะเพื่อแบ่งรายได้ให้แก่สถานพยาบาลต่อไป หรือ
    1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลโดยส่วนตัวเห็นว่า ควรเปิดในรูปแบบที่สองเพื่อที่ว่าจะได้เริ่มหน่วยภาษีหน่วยใหม่จากเงินได้ที่เป็นเงินเดือนประจำของทั้งสองท่าน ที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ก็มีข้อเสียคือ ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินส่วนแบ่งของกำาไร อีกชั้นหนึ่งนอกจากห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งสำานักงานบัญชีที่ปรึกษาจะช่วยดำเนินการให้ (ถ้าได้ว่าจ้างให้จัดทำาบัญชีให้)
  1. เงินได้พึงประเมินที่ได้รับ
    2.1 กรณีมีใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล (ซึ่งต้องมีอยู่แล้ว) เงินได้พึงประเมินที่ได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งกรณีตามข้อ 1.1 และ 1.2 ข้างต้น
    2.2 สำาหรับเงินส่วนแบ่งของกำาไรที่ห้างหุ้นส่วนแบ่งให้
    แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร.