ในเมื่อสัญญาณน้ำเหนือมาแรง ทีมข่าว 1/4 Special Report มีโอกาสพูดคุยกับมุมมองนักวิชาการไปแล้ว เรื่องภาพรวมของความเตรียมพร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วมต้องบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ดีสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศโดยตรง คือ สำนัก งานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็น ผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สัปดาห์ที่แล้ว พล.อ.ประวิตร พร้อม ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ(สทนช.) นำคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปตรวจสถานการณ์น้ำท่วม บริเวณจุดก่อสร้างอาคารบังคับน้ำอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ซึ่ง พล.อ.ประวิตร สั่งกำชับเร่งแก้ไขและบรรเทาสถานการณ์ในพื้นที่โดยเร็วที่สุด มอบหมายให้         สทนช. ประสานกับกรมอุตุฯติดตามความเคลื่อนไหวสภาพอากาศ

กอนช.” เกาะติดปัญหาน้ำใกล้ชิด

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาฯ สทนช. เพิ่งจะมารับตำแหน่งใหม่เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา และยังมีอีกตำแหน่งคือ รอง ผอ.กอนช. เปิดเผยว่า  ในช่วงวันที่ 1-30ก.ย.ที่ผ่านมา มีพื้นที่ประสบอุทกภัย รวม 31 จังหวัด 180 อำเภอ 304ตำบล แบ่งเป็น ภาคเหนือ 9จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8จังหวัด ภาคตะวันออก 7จังหวัด ภาคกลาง 6จังหวัด และภาคตะวันตก 1จังหวัด โดยล่าสุด 11จังหวัด แต่อีก 20จังหวัดที่ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วม กอนช. ยังคงติดตามประเมินสถานการณ์เพื่อบริหารจัดการน้ำ ให้สถานการณ์คลี่คลายลงโดยเร็วที่สุด แบ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างรวม 17จังหวัด และน้ำท่วมขังอยู่บางจุดรวม 3จังหวัด ในช่วงที่ผ่านมา กอนช. ได้มีการวิเคราะห์ ประเมิน และเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชล ประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ

โดยเตรียมความพร้อมรับมือ 10มาตรการฤดูฝน ทั้งการปรับแผนบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถาน การณ์น้ำ การปรับแผนการบริหาร จัดการเขื่อนระบายน้ำ และ ประตูระบายน้ำ โดยพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำสำหรับเป็น แก้มลิง หน่วงน้ำ จัดจราจรน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ และลำน้ำ สำหรับรองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน เพื่อลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัยและให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของ อ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งการเตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที โดยมีการสื่อสารเตือนภัยด้านน้ำอย่างต่อเนื่อง อาทิ ประกาศแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลาง และระดับพื้นที่ในการเตรียมแผนป้องกันรับมือและให้การช่วยเหลือประชาชนที่อาจได้รับผล    กระทบ เพื่อเน้นย้ำในเรื่องการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า ในการเตรียมพร้อมเคลื่อนย้ายสิ่งของได้ทันท่วงที

ห่วงช่วงนี้ยังมีฝนตกชุกทุกภาค

เลขาฯสทนช. กล่าวต่อว่าได้สื่อสารเตือนภัยด้านน้ำ โดยออกประกาศแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสียหายทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด ขณะนี้ กอนช. ได้วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชีตอนกลาง บริเวณ อ.เมืองขอนแก่น และ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม พร้อมประกาศแจ้งเตือนเฝ้าระวังสถาน การณ์น้ำในลำน้ำชีล้นตลิ่ง (ช่วงวันที่ 4-15ต..) ในพื้นที่ 6จังหวัด ประกอบด้วย จ.ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร และศรีสะเกษ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือ ส่วนมวลน้ำจาก จ.นครราชสีมา ได้เคลื่อนตัวมาผ่าน จ.ศรีสะเกษ แล้วจะเคลื่อนตัวไหลลงแม่น้ำโขง

ที่สำคัญการติดตามคาดการณ์สภาพอากาศ กับทางกรมอุตุนิยมวิทยา ทำให้ทราบว่าระหว่างวันที่ 5-10 ต.ค. ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีมวลน้ำจากตอนบนลงมา ประกอบกับอาจจะมีฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม

ดร.สุรสีห์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ช่วงนี้ กอนช. จะประเมินคาดการณ์มวลน้ำที่จะไหลลงมา การคาดการณ์สถานการณ์น้ำทะเลอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนจัดจราจรน้ำ รวมถึงประสานงานกับกรุงเทพมหานครเพื่อเตรียมความพร้อมในการระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ รวมถึงจุดเสี่ยงน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานคร โดยจะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชม. เพื่อเตรียมการดูแล ป้องกัน และลดผลกระทบความเสียหายจากน้ำท่วมอย่างเต็มศักยภาพ

ผลขับเคลื่อนแผนทรัพยากรน้ำ

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผอ.กอนช.นั้นได้เดินหน้าแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและขับเคลื่อนแผนบริหารทรัพยากรน้ำในแต่ละพื้นที่  ตามแผนแม่บทน้ำ 20 ปี ไปแล้ว อาทิ 1.การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคเหนือระยะยาว แม่น้ำเจ้าพระยาใหญ่ตอนบน (ปิง วัง ยม น่าน) พัฒนาแหล่งเก็บน้ำสำคัญเพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำและตัดยอดน้ำหลากเพื่อบรรเทาน้ำท่วม เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 4,600 ล้าน ลบ.. รวมถึงจัดหาพื้นที่หน่วงน้ำ ชะลอน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มต่ำอีก 1.8 ล้านไร่

2.การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคกลางระยะยาวกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยการขับเคลื่อน 9แผนบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ขณะนี้มีความก้าวหน้าประมาณ 32%ผลการขับเคลื่อน   ที่สำคัญ ได้แก่ คลองระบายน้ำหลาก บางบาลบางไทร การเพิ่มประสิทธิ ภาพการระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา การปรับปรุงคลองชัยนาทป่าสัก การเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทานเดิมทั้งฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก คาดว่าจะขับเคลื่อนได้ทั้งหมดภายในปี 2570ซึ่งจะทำให้พื้นที่น้ำท่วมใน 17จังหวัดลดลง จาก 9.31ล้านไร่ คงเหลือ 3.05ล้านไร่

3.การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือระยะยาวผลการขับเคลื่อนแผนบริหารทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชีมูล การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองเจริญ (พรด) อ่างเก็บน้ำบ้านโหล่น อ่างเก็บน้ำลำชีลอง อ่างเก็บน้ำห้วยสามหมอ  และอ่างเก็บน้ำวังตาลาด สามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้ประมาณ 92.65ล้าน ลบ.. โครงการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำแบบขั้นบันไดในลำน้ำชีตอนบน โดยปรับปรุงฝายเดิมให้เป็นประตูระบายน้ำและก่อสร้างประตูระบายน้ำเพิ่มเติมอีก 6แห่ง สามารถป้องกันพื้นที่น้ำท่วมได้ 9,400ไร่

4.โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คณะทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.)มีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำรองรับอีอีซี ปี 2563-2580รวม 38โครงการ ได้รับจัดสรรงบประมาณไปแล้ว 21โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ 11โครงการ ได้น้ำเพิ่มขึ้น 201.19 ล้าน ลบ.. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10โครงการ คาดว่าแล้วเสร็จภายในปี 67จะได้น้ำเพิ่มขึ้น 114.20 ล้าน ลบ.. จะต้องขับเคลื่อน 17โครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2573ได้น้ำเพิ่ม 556.80 ล้าน ลบ..