หลายๆคนที่ขับรถ คงจะเคยได้ยินชื่ออุปกรณ์ที่สำคัญกับรถยนต์อย่าง “หม้อน้ำ” แต่หากวันหนึ่งที่เกิดเหตุสุดวิสัยอย่าง หม้อน้ำร้อนขึ้นมา จะทำอย่างไร?

สำหรับ “หม้อน้ำ (Radiator)” คืออุปกรณ์ระบายความร้อน ของเครื่องยนต์ อาศัยปั๊มน้ำเป็นตัวหมุนเวียนน้ำ โดยจะรับน้ำร้อนมาจากเสื้อและฝาสูบเข้ามาสู่ด้านบนของหม้อน้ำ ก่อนจะไหลไปตามท่อลักษณะแบนเล็กที่เชื่อมติดกับรังผึ้ง (ครีบระบายความร้อน) ทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติถ่ายเทความร้อนได้ดีและรวดเร็ว เมื่อน้ำร้อนเหล่านี้ เคลื่อนตัวสู่ด้านล่าง ก็จะถ่ายเทความร้อนออกไปให้รังผึ้ง ขณะเดียวกันเมื่อมีลมปะทะจากภายนอก หรือพัดลมหม้อน้ำทำงาน ความร้อนที่รังผึ้งก็จะถูกระบายสู่อากาศ ให้เครื่องยนต์อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะกับการทำงานระหว่าง 85-92 องศาเซลเซียส โดยจะมีวาวล์น้ำเป็นตัวเปิดปิดเพื่อรักษาอุณหภูมิร่วมด้วย

Auto mechanic opening radiator cap and checking overheated car cooling system in a workshop

เทคนิกแก้ไขเมื่อหม้อน้ำรั่ว
-กรณีหม้อน้ำรั่วจนทำให้หม้อน้ำแห้ง ในเบื้องต้น เมื่อจอดเสร็จแล้ว ให้รีบเปิดฝากระโปรงหน้ารถ เพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากห้องเครื่องให้เร็วขึ้น
-รอจนเครื่องยนต์เย็นลง จึงค่อยเปิดฝาหม้อน้ำ โดยใช้ผ้าช่วยจับเพราะอาจจะยังร้อนอยู่บ้าง หรือสวมถุงมือถ้ามีอยู่ อย่าเอาหน้าเราเข้าไปใกล้หม้อน้ำ เพราะแรงดันน้ำใน หม้อน้ำ ที่น้ำยังอาจจะร้อนอยู่นั้น อาจพุ่งขึ้นมาโดนหน้าเราจนได้รับบาดเจ็บได้
-ให้เติมน้ำทีละน้อยๆอย่างช้าๆ โดยทิ้งช่วงเวลาห่างกัน 5 นาที ในเวลาเดียวกันคอยสังเกตุดูระดับน้ำในหม้อน้ำ

ทั้งนี้ หากน้ำที่เติมลงไปแล้วไม่เต็มสักที แถมมองไปใต้รถมีน้ำไหลไหลรั่วออกมาหมด สันนิษฐานได้ ก่อนเลยว่า หม้อน้ำแตก ให้แจ้งอู่ซ่อมรถได้เลย เพราะเราคงจะทำอะไรเองไม่ได้แล้ว ให้อู่มาลากรถไปแก้ไขต่อไป แต่ถ้าน้ำรั่วซึมเพียงเล็กน้อย ก็ยังสามารถขับรถต่อไปได้แต่อย่าขับเร็ว ให้หมั่นสังเกตเข็มวัดอุณหภูมิบนหน้าปัดรถ และเมื่อความร้อนขึ้นสูงให้หยุดรถเป็นระยะๆ แล้วทำแบบ เดิมๆ จนกว่าถึงจุดหมายปลายทางและนำรถไปซ่อมหม้อน้ำ หรือแก้ไขต่อไปครับ…

………………………..
คอลัมน์ : รู้ก่อนเหยียบ
โดย “ช่างเอก”
ติดต่อสอบถามข้อมูลโดยตรงที่ [email protected]

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่