ระยะนี้เป็นช่วง “ทุกข์พ่อแม่” จำนวนไม่น้อยที่ต้องวิ่งหาเงินหมุนเงินกันระวิง เพื่อเป็น “ค่าใช้จ่ายรับเปิดเทอม” ของลูก ๆ และก็อาจต้องกังวลกับการที่ ’ลูกไม่อยากไปโรงเรียน“ อีกต่างหาก!! ทั้งนี้ เรื่องค่าใช้จ่ายก็ขอเอาใจช่วยพ่อแม่ทุกท่านให้จัดการผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ส่วนกับทุกข์อีกหนึ่งรูปแบบของบรรดาพ่อแม่บางส่วนคือ “อาการงอแงของลูก” จากการที่ “ไม่อยากไปโรงเรียน” นั้น กรณีนี้หลายคนอาจเห็นเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ๆ ที่อาจเกิดภาวะนี้ได้ แต่วันนี้ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ก็มีข้อมูลมาสะท้อนต่อ ซึ่งกับเด็กบางส่วนที่มีอาการนี้ อาจไม่ใช่แค่เรื่องงอแงเท่านั้น อาจมีปัจจัยลึก ๆ

อาจจะ มีภาวะ“ ที่ เป็นปัจจัย“
หรืออาจเกี่ยวกับโรค สคูลโฟเบีย“

ทั้งนี้ การ “ไม่อยากไปโรงเรียน” ของเด็กบางรายนั้น กรณีนี้นอกจากจะเกิดได้จากอาการงอแงตามปกติแล้ว ในทางการแพทย์ ในทางจิตวิทยา ก็ได้มีการศึกษาเรื่องนี้ไว้เช่นกัน และมีการพบว่า ในเด็กบางคนที่มีอาการไม่อยากไปโรงเรียนนั้น อาจจะมี “สาเหตุ-ปัจจัย” เกิดมาจากภาวะแบบหนึ่งที่เรียกว่า “สคูลรีฟิวเซิล (school refusal)“ หรืออีกชื่อเรียกหนึ่งที่นิยมใช้กันมากเพื่อเรียกภาวะนี้ นั่นก็คือ “โรคกลัวโรงเรียน“ ที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “สคูลโฟเบีย (school phobia)“

เด็กวัยเรียนอาจมีภาวะหรือเป็นโรคนี้

เกี่ยวกับ “สคูลรีฟิวเซิล” หรือ “ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน“ที่มีการใช้ชื่อเรียกว่า “โรคกลัวโรงเรียน” หรือ “สคูลโฟเบีย” นั้น ภาวะหรือโรคที่ทำให้เกิดปัญหาในเด็กบางคนในกรณีนี้ มีข้อมูลใน เว็บไซต์คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้มีการอธิบายไว้ โดยสังเขปมีว่า ในทางการแพทย์ ภาวะที่เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน ถือเป็น “อาการเร่งด่วนทางจิตเวช” ซึ่งเด็กที่เกิดภาวะนี้ จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที เพราะถ้าไม่รีบดูแลรักษาและปล่อยให้เกิดอาการนานวันเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่เด็กหยุดไปโรงเรียน อาจยิ่งทำให้ปัญหาซับซ้อนขึ้น โดยทำให้

การนำเด็กกลับสู่โรงเรียนยากมากขึ้น

ในแหล่งข้อมูลดังกล่าวยังได้ระบุถึง “โรคสคูลโฟเบีย” หรือ “โรคกลัวโรงเรียน” เอาไว้อีกว่า ในต่างประเทศได้มีการศึกษา
ภาวะนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ เอียน เบิร์ก (Ian Berg) ซึ่งได้ทำการศึกษาผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน และพบว่า เด็กที่มีภาวะนี้มักมี “ลักษณะสำคัญ” ดังต่อไปนี้แสดงออกมา ได้แก่ มักจะขาดเรียนเป็นเวลานานกว่าปกติ, มีปฏิกิริยาทางอารมณ์รุนแรง ในทุกครั้งที่ไปโรงเรียน เช่น หวาดกลัว อาละวาด ร้องไห้ แสดงความก้าวร้าวออกมา, มีอาการทางกายบางอย่างที่อธิบายไม่ได้ แสดงออกมาทุก ๆ ครั้งที่ต้องไปโรงเรียน เช่น ปวดหัว ปวดท้อง และอีกลักษณะคือเด็กบางคน
ยัง แสดงออกผ่านพฤติกรรมต่อต้านสังคม นี่เป็นการศึกษาในต่างประเทศ เกี่ยวกับ

“โรคกลัวโรงเรียน-โรคสคูลโฟเบีย“
โรคที่ ในเด็กไทยก็อาจจะเป็นได้!!“

สำหรับ “ช่วงอายุเด็ก” ที่อาจเกิดภาวะนี้ได้นั้น ข้อมูลระบุไว้ว่า โรคกลัวโรงเรียนเกิดได้กับเด็กทุกเพศ ซึ่งส่วนใหญ่จะ พบความชุกเกิดขึ้นกับเด็ก 2 กลุ่ม หลัก ๆ คือ 1.กลุ่มเด็กเล็ก อายุ 5-8 ปี และ2.กลุ่มเด็กโต อายุ 11-14 ปี ที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงร่างกายและอารมณ์ ขณะที่ “สาเหตุ” มีหลายปัจจัย ได้แก่ เด็กเล็กวัยอนุบาลอาจเกิดจากความ วิตกกังวล หรือกลัวที่จะต้องพลัดพราก, เด็กที่ มีปัญหาบุคลิกภาพ เช่น วิตกกังวลง่าย หรือถูกเลี้ยงดูแบบปกป้องเกินไป, เด็กโต กลุ่มนี้อาจมีสาเหตุจากการที่เด็ก มีปัญหาต่าง ๆ ขณะใช้ชีวิตที่โรงเรียน เช่น มีปัญหาการเรียน มีปัญหาปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน หรือเด็กถูกทำโทษอย่างรุนแรง จนไม่อยากไปโรงเรียน นี่เป็นคำอธิบายโดยสังเขปถึงปัจจัยที่กระตุ้นให้เด็กกลัวการไปโรงเรียน

แล้วมี “หลักสังเกตอาการ“ เบื้องต้นหรือไม่? กรณีนี้ใน เว็บไซต์คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลไว้ว่า อาจสังเกตจากสัญญาณเตือนได้หลายรูปแบบ เช่น ด้านพฤติกรรม จากการที่เด็กชอบขอร้องให้พ่อแม่อนุญาตให้ตัวเองหยุดเรียน จนถึง แสดงออกรุนแรง อาทิ อาละวาด ต่อต้านขัดขืนไม่ยอมออกจากบ้าน ร้องไห้ ด่าทอ ทำร้ายร่างกายผู้ปกครอง ด้านความคิด เด็กมักแสดงสัญญาณเตือนล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงกลางคืนของวันก่อนต้องไปโรงเรียน หรือ แสดงคำพูดเชิงลบเกี่ยวกับการไปโรงเรียนอยู่ตลอดเวลา หรือบางคนอาจจะมีอาการนอนไม่หลับ

ขณะที่ด้านสรีรวิทยาหรืออาการทางกาย…เด็กที่เกิดภาวะนี้อาจจะแสดงออกมาผ่านทางอาการต่าง ๆเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดหัว วิงเวียน เหงื่อออกมาก ถ่ายเหลว ท้องเสีย โดยมักจะเป็นในช่วงเช้าที่เด็กจะต้องไปโรงเรียน แต่เมื่อได้หยุดเรียน หรือได้อยู่บ้าน อาการก็จะดีขึ้น หรือหายไปเองในตอนสาย ๆ หรือตอนบ่าย หรือในวันที่ไม่มีการไปเรียน

“ภาวะนี้จะยิ่งอันตรายในเด็กที่มีภาวะซึมเศร้า หรือป่วยด้วยโรคจิตเวชอื่นอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อบุตรหลานเข้าข่ายอาการนี้ ควรเร่งวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อปรับสภาพจิตใจให้เด็ก ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามมากขึ้น ส่วนวิธีรักษา อาจจะต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกัน โดยเน้นการแก้สาเหตุร่วมกับการใช้พฤติกรรมบำบัด“ นี่เป็นข้อมูลคำแนะนำ

“ไม่อยากไปโรงเรียน“ อาจมิใช่งอแง
ลูก อาจจะป่วยโรคกลัวโรงเรียน“
“ใส่ใจไว้ใช่ว่า“ สกัดปัญหาลาม!!