ทั้งนี้ หากเกิดความผิดปกติกับสมองส่วนดังกล่าว จะทำให้ผู้ป่วยทรงตัวลำบาก พูดลำบาก มองหรือฟังผ่าน ๆ อาจจะคล้ายอาการของคนเมา
ถ้าขยายความเรื่องนี้ โดย นพ.สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ บอกว่า ภาวะสมองน้อยฝ่อ เกิดได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งที่สามารถรักษาได้และยังไม่พบวิธีการรักษา กระบวนการตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาให้พบสาเหตุ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
โดยสาเหตุที่พบ ได้แก่ ภาวะฝ่อจากความเสื่อม (Degeneration) ภาวะฝ่อจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ (Immune-mediated) ภาวะฝ่อจากยาหรือสารต่าง ๆ (Drug-induced) ภาวะฝ่อไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic) แต่ในทางปฏิบัติเราไม่สามารถตรวจจนพบสาเหตุได้ทั้งหมด บางครั้งต้องอาศัยการตรวจติดตาม การลองให้การรักษาและติดตามผลลัพธ์
“ลักษณะอาการของผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของการทรงตัว ไม่ว่าจะเป็นในขณะอยู่กับที่หรือขณะมีการเคลื่อน ไหว รวมถึงลักษณะของเสียงพูดที่จะมียืดยานสลับกับรวบคำที่ผิดปกติไป โดยลักษณะทั้งหมดจะมองดูคล้ายกับการเคลื่อน ไหวและการพูดของคนเมา โดยอาการทั้งหมดจะไม่แตกต่างกันถึงแม้จะเกิดจากคนละสาเหตุ”
ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยใน การวินิจฉัยแยกโรค จึงอาศัยจากลักษณะและอาการร่วมอย่างอื่น ๆ เช่น ระยะเวลาในการเกิดและการดำเนินโรค อาการร่วมอื่น ๆ ยาหรือสารเคมีที่ใช้หรือสัมผัสเป็นประจำ เป็นต้น ซึ่งตัวโรคสามารถให้การวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการถ่ายภาพเอกซเรย์สมอง เพื่อยืนยันการวินิจฉัย หลังจากนั้นจึงจะมีการตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจเลือดและน้ำไขสันหลัง
ในกรณีที่สงสัยสาเหตุจากภาวะความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพราะเป็นเพียงสาเหตุเดียวที่พอจะมีวิธีการหยุดยั้งหรือทุเลาอาการฝ่อได้ ด้วยการให้ยากดภูมิคุ้มกัน.
อภิวรรณ เสาเวียง