@@@@ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เดินทางเยือนรัฐเซาท์ออสเตรเลียอย่างเป็นทางการเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และการขยายความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ในการเยือนครั้งนี้ เอกอัครราชทูตฯ พร้อมด้วยนาง Amanda-Jane Giannopoulos กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครแอดิเลด ได้เข้าเยี่ยมคารวะนาง Frances Adamson AC ผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐเซาท์ออสเตรเลีย และได้พบหารือกับบุคคลและหน่วยงานสำคัญต่างๆ ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ประกอบด้วย (1) นาง Zoe Bettison รมต. ด้านการท่องเที่ยวและกิจการด้านพหุวัฒนธรรม (2) นาย Blair Boyer รมต. ด้านการศึกษาและการฝึกอบรมทักษะ (3) นาย John Gardner รองผู้นำฝ่ายค้านประจำสภาผู้แทนราษฎร (4) นาง Jing Lee รองผู้นำฝ่ายค้านประจำวุฒิสภา (5) นาย David Reynolds PSM ผู้บริหารกระทรวงการค้าและการลงทุน (6) นาง Jane Johnston ผู้บริหาร StudyAdelaide (7) นาง Rebecca Knights ผู้บริหารกระทรวงพลังงานและกิจการเหมืองแร่ และ (นาย David Gautier ผู้บริหาร Adelaide Festival Center เอกอัครราชทูตฯ ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างไทยกับรัฐเซาท์ออสเตรเลียในด้านการค้าและการลงทุนในสาขาต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนผ่านพลังงานสีเขียว การพัฒนาพลังงานไฮโดรเจน อาหารและเกษตร การท่องเที่ยว การศึกษาโดยเฉพาะด้านอาชีวศึกษา ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม

เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เดินทางเยือนรัฐเซาท์ออสเตรเลียอย่างเป็นทางการ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนาง Frances Adamson AC ผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐเซาท์ออสเตรเลีย และได้พบหารือกับบุคคลและหน่วยงานสำคัญต่างๆ ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567

@@@@ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานทีมประเทศไทยในกรุงแคนเบอร์ราเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีไทย ซึ่งประกอบด้วยนางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พรรครวมไทยสร้างชาติ นางสาวขัตติยา สวัสดิผล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล และนางสาวพลอยทะเล ลักษมีแสงจันทร์ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ในโอกาสที่คณะฯ เดินทางมาศึกษาดูงานที่เครือรัฐออสเตรเลียตามคำเชิญของกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือและแลกเปลี่ยนความเห็นในหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ออสเตรเลีย และแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือในระดับประชาชน-ประชาชนระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ ในกรุงแคนเบอร์รา คณะฯ ได้ศึกษาดูงานที่สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งออสเตรเลียและรัฐสภาออสเตรเลีย โดยได้มีโอกาสพบหารือกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลียด้วย

คณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีไทย นำโดย นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสาวขัตติยา สวัสดิผล เดินทางมาศึกษาดูงานที่เครือรัฐออสเตรเลียตามคำเชิญของกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย

@@@@ ตามที่ “สงกรานต์ไทย” ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 โดยองค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ณ เมือง Kasane สาธารณรัฐบอตสวานา เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมและประเพณีสงกรานต์ที่สำคัญของไทย ภายใต้แนวคิด “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล” สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ เชิญชวนพี่น้องชาวไทยเข้าร่วมงาน Songkran Festival at Taronga ณ สวนสัตว์ Taronga ซิดนีย์ ระหว่างเวลา 10.00-15.00 น. ภายใต้ธีมงานวันสงกรานต์ไทย โดยภายในงานพบกับกิจกรรมสนุก ๆ มากมาย เช่น ทำพัด DIY เพ้นท์หน้า แต่งชุดไทยถ่ายรูปกับน้องช้าง ‘ผักบุ้งและแตงโม’ รวมถึงการแสดงนาฏศิลป์และวงดนตรีไทย การแสดงมวยไทย สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถรับส่วนลดค่าตั๋วเข้าสวนสัตว์ 20% ซื้อตั๋วออนไลน์ โดยใช้ Promo code “THAILAND” ที่ลิงค์ https://taronga.org.au/sydney-zoo หรือ ซื้อตั๋วด้านหน้าสวนสัตว์และแจ้ง Promo code “THAILAND”

@@@@ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2567 นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้เป็นประธานฝ่ายฆราวาสเปิดโครงการสร้างสุภัทโทเจดีย์ ณ วัดโพธิปาละ นครแอดิเลด รัฐเซาท์ออสเตรเลีย วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างเจดีย์ดังกล่าวเพื่อเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเพื่อถวายเป็นอาจาริยบูชาแด่หลวงปู่ชา สุภัทโท ในโอกาสนี้ พระโสภณภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อกัลยาโณ) เจ้าอาวาสวัดพุทธโพธิวัน นครเมลเบิร์น ได้ร่วมเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และเจริญพระพุทธมนต์ให้พรแก่ชุมชนชาวพุทธที่เข้าร่วมงาน

เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้เป็นประธานฝ่ายฆราวาสเปิดโครงการสร้างสุภัทโทเจดีย์ ณ วัดโพธิปาละ นครแอดิเลด รัฐเซาท์ออสเตรเลีย พระโสภณภาวนาวิเทศ เจ้าอาวาสวัดพุทธโพธิวัน นครเมลเบิร์น ได้ร่วมเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2567

@@@@ ขบวนพาเหรด Sherridon Homes Gala Parade ที่เป็นที่ชื่นชอบของครอบครัวมาเนิ่นนานสําหรับคนในท้องถิ่น Bendigo และเมืองในละแวกใกล้เคียง อีกทั้งผู้มาเยือนจํานวนมาก ได้เสร็จสิ้นลง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2567 เป็นไฮไลท์สําคัญสำหรับการเฉลิมฉลองเทศกาล Bendigo Easter Festival ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2567 ธีมสําหรับขบวนพาเหรดปี 2024 คือ Chinese New Year of the Dragon ตรุษจีนปีแห่งมังกร สมาคมชาวจีนเบนดิโกนําเสนอการจัดแสดงทางวัฒนธรรมที่งดงาม และปิดท้ายด้วยมังกรจักรพรรดิที่ยาวที่สุดในโลก Dai Gum Loong เดินผ่านทิวทัศน์ถนนสายประวัติศาสตร์ของเบนดิโก View St, Pall Mall, McCrae St และ Bridge St. ชมรม สโมสร วงดนตรี กลุ่มวัฒนธรรม คณะเต้นรํา ชมรมกีฬา กลุ่มโรงเรียนและอื่น ๆ อีกมากมาย เดินและเต้นรํา เคลื่อนไหวด้วยชุดแต่งกายหลากหลายกรุยกรายไปตามถนนในเมืองนําสีสันมาสู่ฝูงคน …………………….. เป็นปีแรกอีกเหมือนกันที่ชุมชนชาวไทยในเมืองเบนดิโกได้เข้าร่วมเดินขบวนพาเหรด จากความคิดของ พิม ทับทิม นันทะบุญ และ แพท เพชรอนงค์ วงศ์ภา ซึ่งรวบรวม คนไทยในเบนดิโกมาฝึกซ้อมรำแบบเร่งด่วน และแต่งกายด้วยชุดไทยเท่าที่ตัวเองมีหรือหาได้ แพท เล่าว่า “เป็นปีแรกคะ ตื่นเต้นไปทั้งทีม รูปก็ไม่ได้ถ่าย พลาดไปอีกจุด คือ เวลาช่องโทรทัศน์เขาถ่าย เราไม่ได้ลำตรงหน้ากล้องเลยคะ แต่ได้รับการต้อนรับที่ดีมากคะ ปลี้มที่ได้เป็นตัวแทนของคนไทย ได้ถือป้ายประเทศไทย โบกธงไทย พาลูกหลานเดินประกาศความเป็นไทย จริงๆเริ่มต้นจากน้องพิม น้องทำงานที่ Age care ดูแลผู้สูงอายุ ก็มาชวนไปแสดงให้คนชราดู พวกเขาก็มีความสุข ชื่นชอบมาก ได้กำลังใจ ฝึกซ้อมหลายๆชุดไปแสดงให้เขา หลังๆมาถูกเชิญให้ไปร่วมในงานเทศกาลซาร์ คือเป็นงานเกี่ยวกับชาติต่างๆ รวมกันมาแสดง มาลองทานอาหารแปลกๆ ปีนี้น้องชวนให้เข้าร่วมขบวนพาอีสเตอร์ คุยกับกาไนซ์เซอร์ เขาก็เรียกร่วมประชุมเพื่อที่จะวางแผนกันว่าเราจะทำยังไง แล้วก็ระดมพลให้แต่งตัวชุดไทย ได้ชุดอะไรก็ใส่อันนั้น ไม่มีงบประมาณนะคะ ช่วยกันคนละมือไม้ โชคดีคะ การต้อนรับเป็นไปอย่างดีได้ยินเสียงปรบมือเราก็ดีใจนะคะ”

ทับทิม นันทะบุญ และเพชรอนงค์ วงศ์ภา นำชุมชนชาวไทยในเมืองเบนดิโก กว่า 40 ชีวิต เข้าร่วมเดินขบวนพาเหรด Sherridon Homes Gala Parade เป็นปีแรก เป็นไฮไลท์สําคัญสำหรับการเฉลิมฉลองเทศกาล Bendigo Easter Festival เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2567

@@@@ เพนกวิน Penguin เป็นเมืองท่าบนชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในพื้นที่ Central Coast Council ใช้เวลาขับรถ 15 นาทีไปทางตะวันออกของ Burnie ตามแนวชายฝั่งไปเมืองเพนกวิน ห่างจากเดวอนพอร์ต Devonport 31 กิโลเมตร ขับรถยนต์เลียบชายฝั่ง ใช้เวลาเพียง 22 นาที ห่างจากลอนเซสตัน 131 กิโลเมตร ใช้เวลาในการขับรถ 1.5 ชั่วโมง และโฮบาร์ตอยู่ห่างออกไป 310 กิโลเมตรในอีกด้านหนึ่งของเกาะ ขับรถจะใช้เวลา 3.5 ชั่วโมง เมืองเพนกวินเป็นเมืองเล็ก มีประชากรประมาณ 4,380 คน …………………….. เมืองนี้ได้รับการตั้งชื่อโดยนักพฤกษศาสตร์ Ronald Campbell Gunn ตามนกเพนกวินตัวน้อยที่พบได้ทั่วไปตามพื้นที่ชายฝั่ง รูปปูนปั้น Big Penguin ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองทําจากปูนซีเมนต์เฟอร์โรโดย Goliath Cement Co of Railton และต่อมาถูกเคลือบด้วยไฟเบอร์กลาสตั้งอยู่ในใจกลางเมืองตรงข้ามกับที่ทําการไปรษณีย์ เปิดตัวเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2518 สร้างขึ้นเพื่อรําลึกถึงการครบรอบหนึ่งร้อยปีของการตั้งชื่อเมือง เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวต้องไปกดชัตเตอร์คู่ด้วย นอกจากนี้จุดที่น่าสนใจ Tourist Attraction อีกจุด คือ ถงขยะริมถนนทั้งหมดตกแต่งด้วยเพนกวินปูนประดับ fairy penguin เมืองนี้มีเอสพลานาดesplanade ที่งดงาม เส้นทางเดินที่สวยงาม มีตลาดในร่มวันอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดของรัฐแทสเมเนีย ซึ่งมีผู้ขายมากกว่า 200 ราย จําหน่ายอาหาร ไวน์ งานฝีมือ และสินค้าในท้องถิ่น เมืองPenguin ตั้งอยู่ที่ฐานของ Dial Range ซึ่งเป็นเทือกเขาเล็กๆ ที่มีพรมแดนติดกับที่ราบ Riana และ Gunns สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินป่า Mount Montgomery, Mount Dial, Mount Gnomon และ Mount Duncan ภูเขาทั้งสี่ในบริเวณใกล้เคียงเพนกวินนี้ถือเป็นเส้นทางเดินป่ายอดนิยม

เพนกวิน Penguin เป็นเมืองท่าบนชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในพื้นที่ Central Coast Council อยู่ห่างจากนครโฮบาร์ต 310 กิโลเมตร เมืองเพนกวินเป็นเมืองเล็ก มีประชากรประมาณ 4,380 คน

@@@@ เพ็ญนภา จิตรกสิกร และสามี Gary Hall ฝรั่งหัวใจพุทธ จัดงานผ้าป่าช่วงเดือน มีนาคม (ซึ่

เป็นช่วงอากาศดีที่สุดของปีของรัฐแทสมาเนีย) ติดต่อกันมา 4 ปี หลังจากเธอย้ายจากบริสเบนมาตั้งหลักปักฐานที่เมือง เพนกวิน ถือโอกาสจัดงานสงกรานต์ 2024 ประจำเมืองเพนกวิน แทสมาเนีย เพื่อให้คนไทยได้สนุกสนานสำเริงสำราญ ฉลองสงกรานต์หลังจากพิธีทำบุญตักบาตรในแต่ละปี จะมี

าติโยมทางโกลด์โคสมาช่วยงานบุญเสมอและจะมี

าติโยมที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงมาร่วมทำบุญประมาณ 100-130 คน เพ็ญนภา เล่าว่า “วัดสังฆรังสี นครโฮบาร์ท เป็นวัดไทยวัดเดียว ในแทสมาเนีย ห่างไกลจากเมืองเพนกวินระยะทาง 330 กม. ใช้เวลาประมาณ 4 ชม เพ็ญและสามีเดินทางไปทำบุญเป็นครั้งคราวเพราะระยะทาง หลังจากเราฃื้อ บ้าน ฟาร์มสเต ประมาณ 10 ไร่ จึงนิมนต์พระมาทำบุญบ้าน ซึ่งท่านก็เมตตารับนิมนต์ เดินทางมาพบปะ

าติโยมทางเหนือ ด้วยระยะทางที่ห่างไกล คนทางเหนือของเกาะ ไม่สามารถเดินทางไปร่วมบุญได้บ่อยนัก เราจึงจัดงานผ้าป่า จะได้มีโอกาสมาร่วมทำบุญกัน” ปีนี้ แกรี่ สามีของเธอได้ติดต่อพูดคุยกับนายกเทศมนตรีเมืองเพนกวิน จะจัดงานเป็นทางการเปิดต่อสาธารณชน (public) เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณีไทย สงกรานต์ปีใหม่ไทย และพระพุทธศาสนา เพื่อให้ชาวต่างชาติได้ร่วมกิจกรรม จึงได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี เธอเล่าต่อว่า “เราทั้งสองตัดสินใจถูกต้องมาก เราเปิดเป็น public เป็นครั้งแรก มีคนท้องถิ่นแทสมาเนีย มาร่วมงานประมาณ 250 คน ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เทศบาลเมืองเพนกวิน ได้อนุญาตให้เราใช้ผ้าไหม ตัดชุดไทยไปใส่ให้เพนกวินสัญญลักษณ์ของเมือง ช่วงเช้า เรามีพิธีสงฆ์ ร่วมกันทำบุญถวายผ้าป่า ตักบาตร เริ่มประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระ การแสดง การละเล่น มโหรสรรพ รำวงสงกรานต์ และเล่นน้ำ ย้ายมาอยู่เมืองนี้ดีใจมาก ยังได้ทำบุญ ปกติเพ็ญและสามี จะไปวัดทำบุญทุกวันอาทิตย์ที่ วัดสังฆรัตนาราม เมืองโกโคสท์ เป็นประจำ เป็นกรรมการวัด มีหน้าที่ช่วย งาน จัดเตรียม โรงทาน งานผ้าป่าต้นเดือนของทางวัด ตลอดระยะเวลา 5 ปี มาอยู่ที่นี่ไกลวัดไปนิด ไปไม่ได้ทุกอาทิตย์”

เพ็ญนภา จิตรกสิกร และ Gary Hall จัดงานผ้าป่าช่วงเดือนมีนาคม ถือโอกาสจัดงานสงกรานต์ 2024 ประจำเมืองเพนกวิน เปิดต่อสาธารณชนเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณีไทย สงกรานต์ปีใหม่ไทย และพระพุทธศาสนา เพื่อให้ชาวต่างชาติได้ร่วมกิจกรรม

@@@@ เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้เข้าร่วมงานเทศกาลอาหารและวัฒนธรรมไทย “ของดี 4 ภาค” ซึ่งสมาคมคนไทยแห่งรัฐเซาท์ออสเตรเลีย Thai-Australian Association of South Australia ได้ร่วมกับอาสาสมัครคนไทยในพื้นที่ จัดขึ้นที่สวนสาธารณะ Kings Reserve เขต Torrensville โดยภายในงาน มีการจัดแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของทั้งภาคเหนือ อีสาน กลาง และใต้ อาทิ การรำไทย การสาธิตมวยไทย การนวดไทย การละเล่นเด็กไทย การเดินแบบชุดไทยย้อนสมัย การจำหน่ายอาหารและสินค้าไทย การสาธิตและแข่งขันปรุงอาหารไทยและการแกะสลักผลไม้ไทย เป็นต้น ในคำกล่าวเปิดงานข้างต้น เอกอัครราชทูตฯ ได้ชื่นชมและขอบคุณสมาคมคนไทยแห่งรัฐเซาท์ออสเตรเลียและอาสาสมัครในพื้นที่ ที่ได้มีบทบาทแข็งขันในการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย นำ “สีสัน” ของไทยมาสู่ออสเตรเลีย ซึ่งนับเป็นการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในสังคมพหุวัฒนธรรมของออสเตรเลีย ตลอดจนเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนไทยกับประชาชนออสเตรเลียด้วย งานดังกล่าวมีแขกผู้มีเกียรติฝ่ายออสเตรเลียเข้าร่วม อาทิ The Honourable Zoe Bettison รัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวและกิจการพหุวัฒนธรรมแห่งรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ในฐานะผู้แทนมุขมนตรีรัฐเซาท์ออสเตรเลีย The Honourable Jing Lee MLC รองผู้นำฝ่ายค้านในสภานิติบัญญัติรัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐมนตรีเงาด้านพหุวัฒนธรรม และรัฐมนตรีเงาด้านการท่องเที่ยวและการบริการรัฐเซาท์ออสเตรเลีย นาย Michael Coxon นายกเทศมนตรีเมือง West Torrens รวมทั้งนาง Amanda Giannopoulos กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครแอดิเลด โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งคนไทยและชาวต่างชาติประมาณ 9,000 – 10,000 คน

​สมาคมคนไทยแห่งรัฐเซาท์ออสเตรเลีย TAASA จัดงานเทศกาลอาหารและวัฒนธรรมไทย “ของดี 4 ภาค” ร่วมกับอาสาสมัครคนไทยในพื้นที่ เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 จัดขึ้นที่สวนสาธารณะ Kings Reserve เขต Torrensville ซึ่งเคยจัดเป็นประจำทุกปี

ไตรภพ ซิดนีย์