คลื่นกระแทก (Shock wave) หรือคลื่นความเข้มข้นต่ำแบบแรงกระแทกได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในเรือดำน้ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมามีการนำวิทยาการนี้มาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ด้วยเครื่องคลื่นเสียงสลายนิ่ว โดยการส่งคลื่นพลังงานช็อกเวฟจากนอกตัวผู้ป่วยเข้าไปยังเป้าหมาย (ซึ่งเรียกว่า เอ็กซ์ตร้าคอร์โพเรียล ช็อคเวฟ ลิโธทริพซี หรือ อี.เอส.ดับเบิลยู.แอล (extracorporeal shock wave lithotripsy : ESWL)) คือ นิ่วในตัวผู้ป่วยให้แตกสลายออกเป็นชิ้นเล็กพอที่สามารถปัสสาวะผ่านออกมาได้ตามกระแสปัสสาวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ช็อกเวฟเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีความถี่ต่ำเกิดเป็นช่วง ๆ แต่ก็มีแรงดันสูง การเกิดคลื่นในช่วงแรงดันบวกจะเกิดในช่วงสั้น ตามมาด้วยแรงดันลบในระยะที่นานกว่าการรักษาอยู่ในระดับปลอดภัย

จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์การรักษาด้วยคลื่นความถี่ต่ำจะสามารถกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดหัวใจได้ดี และจากผลการศึกษาในห้องทดลองพบว่าคลื่นกระแทกหรือคลื่นความถี่ต่ำช่วยให้เกิดการสร้างหลอดเลือดขึ้นใหม่ในองคชาต ด้วยทฤษฎีดังกล่าวจึงได้นำมาศึกษาวิจัยพบว่า การใช้คลื่นเสียงความเข้มข้นต่ำแบบแรงกระแทกจากภายนอก (Low intensity extracorporeal shock wave therapy : LI-ESWT) ไปบนองคชาตของผู้ป่วยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เกิดจากปัญหาของหลอดเลือด โดยให้ผู้ป่วยได้รับคลื่นดังกล่าว 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน

หลังจากทำการรักษาตามโปรแกรม พบว่าผู้ที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่เกิดจากปัญหาหลอดเลือด และไม่ตอบสนองต่อยาเฉพาะกิจจะฟื้นตัวจากอีดีที่อ่อนแอหมดพลังใจทำให้เพิ่มพลังสมรรถภาพทางเพศดีขึ้น และยังไม่พบว่ามีอาการปวดหรือผลข้างเคียงในระหว่างและหลังการรักษาแต่อย่างใด 

ปัจจุบันได้ใช้รักษาที่อังกฤษ อิสราเอล ญี่ปุ่น อินเดีย จีนและสหรัฐ ดังนั้นการรักษาโรคอีดีด้วยคลื่นกระแทกจึงเป็นเทคโนโลยีและทางเลือกใหม่ในการฟื้นฟูในผู้ที่หย่อนสมรรถภาพทางเพศอันมาจากปัญหาของหลอดเลือด และกลุ่มอีดีที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาเฉพาะกิจกลุ่มเบาหวานเรื้อรัง  ที่น่าสนใจมากคือกลุ่มคนไข้โรคหัวใจที่รับยากลุ่มไนเตรต imdur isodril isosorbride แล้วกินยาเฉพาะกิจไม่ได้ เป็นต้น แนวทางการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกันการเลือกวิธีรักษาด้วยวิธีใดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้วินิจฉัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาคือฟื้นตัวโดยลดละเลิกการใช้ยาตามอาการมากน้อยของอีดีแต่ละคน สุดท้ายยังความปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุด.

…………………………
ดร.อุ๋มอิ๋ม