เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล อธิบายว่า “โรคเหงื่อออกเท้า” เป็นการปรับอุณหภูมิของร่างกายในการทำให้เท้าเย็นลง สร้างความสมดุลให้เซลล์ผิว แต่ถ้าเหงื่อออกเท้ามากเกินไปจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติ ไม่ได้เกิดจากปัญหาสภาพอากาศร้อนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่เราพบว่า เกิดจาก ต่อมเหงื่อถูกกระตุ้นการทำงานมากกว่าปกติ จนทำให้เกิดภาวะเหงื่อออกเท้ามากผิดปกติ (Palmar Hyperhidrosis) คือ เหงื่อออกเท้ามากเกินไปสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และมักเป็นบริเวณเท้าทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการสัมพันธ์ ร่วมกับเหงื่อออกมือหรือรักแร้ และอาการดังกล่าวนั้น มักเกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ หรือภูมิอากาศ โดยมักเป็นตั้งแต่อายุน้อย ๆ หรือมักมีประวัติครอบครัวมีอาการคล้ายคลึงกัน
ส่วนวิธีการรักษาจะเริ่มจากการ ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อ และ รับประทานยา ตามที่แพทย์แนะนำหากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจใช้การ ฉีดโบทูลินัมท็อกซิน ถ้ายังไม่ได้ผลอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อยับยั้งการผลิตเหงื่อเท้า โดยเป็นไปตามการวินิจฉัยและคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางเป็นสำคัญ
ผศ.นพ.ศิระ อธิบายถึงการผ่าตัดเหงื่อออกเท้าว่า จะใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้อง (Endoscopic Lumbar Symphatectomy) ผ่านช่องท้องเพื่อเข้าไปหนีบเส้นประสาทของต่อมเหงื่อเท้าทั้ง 2 ข้าง โดยมีแผลเล็กขนาด 2 เซนติเมตร 1 จุด และ 5 มิลลิเมตร อีก 2 จุด ที่ด้านข้างของท้องแต่ละข้าง อีกทั้งยังสามารถทำพร้อมกับการแก้เหงื่อออกมือหรือรักแร้ได้ โดยหลังการผ่าตัดผู้ป่วยพักฟื้นเพียง 1 วันก็กลับบ้านได้ โดยหลังการผ่าตัดอาการเหงื่อออกเท้าจะดีขึ้นทันที กลับมามั่นใจกับสุขภาพชีวิตของตนเองอีกครั้ง
สำหรับคนที่มีภาวะโรคเหงื่อออกที่เท้า สามารถเข้ามาปรึกษาในโรงพยาบาลวชิรพยาบาลได้เลย ซึ่งจะมีทีมแพทย์พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยสามารถเข้าไปที่โรงพยาบาลได้เลย หรือจะติดต่อได้ที่ นายแพทย์ศิระหรือ Lineid : @lungsurgeryth
อภิวรรณ เสาเวียง