น้ำอสุจิเป็นเลือด หมายถึงการมีเลือดอยู่ในน้ำอสุจิ มักทำให้เกิดความวิตกกังวลอย่างมากและสร้างความหวาดกลัวให้กับผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่น้ำอสุจิเป็นเลือดมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ และถือเป็นภาวะที่ไม่ร้ายแรงและสามารถหายด้วยตัวเองได้โดยเฉพาะในผู้ป่วยอายุน้อย

ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 40 ปีและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงจำเป็นต้องได้รับการประเมินและการตรวจอย่างละเอียด และควรรวมถึง: การวัดความดันโลหิตและการตรวจคลำช่องท้องเพื่อระบุว่ามีตับและม้ามโตหรือการขยายตัวของไตหรือไม่ ต้องทำการตรวจอวัยวะเพศเพื่อประเมินว่ามีก้อนเนื้องอกของลูกอัณฑะหรือไม่หรือมีหนองจากท่อปัสสาวะ ตลอดจนการตรวจทางทวารหนักเพื่อประเมินต่อมลูกหมาก อาจมีการตรวจสอบเพิ่มเติม ได้แก่ การส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ การตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์ทางทวารหนัก และการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากทำได้ง่ายขึ้นโดยการทำอัลตราซาวนด์ทางทวารหนัก มีประโยชน์ในการวินิจฉัยนิ่วของต่อมลูกหมากหรือท่อทำอสุจิ ถุงน้ำหรือซีสต์ของต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากอักเสบ และการเปลี่ยนแปลงของการอักเสบ รวมถึงการรักษาในบางกรณีที่ซีสต์หรือฝีระบายออก และพบว่าเป็นสาเหตุของน้ำอสุจิเลือด

การสืบสวนที่ซับซ้อนขึ้นอยู่กับประวัติและการตรวจร่างกายพบอะไรบ้าง บทบาทของการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถให้ภาพความคมชัดสูง (Magnetic Resonance Imaging ย่อมาเป็น MRI) ถูกนำมาพิจารณาเพื่อแยกแยะสาเหตุที่พบได้ยากของน้ำอสุจิเป็นเลือด ตามหลักฐานการประเมินภาวะน้ำอสุจิเป็นเลือดไม่เพียงมีประโยชน์ในการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายเท่านั้น แต่ยังคุ้มค่าอีกด้วย ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำว่าควรตรวจสอบผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงอย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอายุน้อยที่มีเหตุการณ์น้ำอสุจิเป็นเลือดครั้งแรกหรือเพียงหนึ่งครั้ง สามารถติดตามอย่างใกล้ชิดและตรวจสอบได้เฉพาะเมื่อเห็นว่าจำเป็นเท่านั้น

น้ำอสุจิเป็นเลือด ถูกนิยามโดยการมีเลือดอยู่ในน้ำอสุจิ มักเป็นอาการที่แยกได้ อย่างไรก็ตามอาจเกิดร่วมกับภาวะปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลำบาก และ/หรือปวดถุงอัณฑะ ปัญหานี้ทำให้เกิดความวิตกกังวลอย่างมากและทำให้ผู้ป่วยหวาดกลัว ภาวะน้ำอสุจิเป็นเลือดถือเป็นภาวะที่ไม่เป็นเนื้อร้ายและสามารถหายด้วยตนเอง มักเกิดจากสาเหตุการอักเสบหรือการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ภาวะน้ำอสุจิเกิดเป็นซ้ำใหม่หรือต่อเนื่อง อาจบ่งบอกถึงพยาธิสภาพที่ร้ายแรงกว่า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 40 ปี และผู้ป่วยดังกล่าวควรถูกส่งต่อไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อขอคำปรึกษา

——————-
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล