ข้อตกลงการลี้ภัยและการย้ายถิ่นฐานของสหภาพยุโรปฉบับใหม่ จะกำหนดให้ผู้อพยพที่เดินทางเข้าประเทศสมาชิกอียู “อย่างผิดปกติ” ต้องเข้ารับการตรวจสอบตัวตน, สุขภาพ และความปลอดภัย ตลอดจนบันทึกไบโอเมทริกซ์ หรือข้อมูลชีวมิติ ของใบหน้าและลายนิ้วมือ ซึ่งอาจใช้เวลาดำเนินการนานถึง 7 วัน
ขั้นตอนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุว่า ผู้อพยพคนใดควรได้รับกระบวนการขอลี้ภัยแบบเร่งด่วน หรือแบบปกติ และคนใดควรถูกส่งกลับประเทศบ้านเกิด หรือประเทศทางผ่าน ส่วนเด็กจะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และประเทศสมาชิกของอียู ต้องมีกลไกติดตามผลที่เป็นอิสระ เพื่อทำให้แน่ใจว่า สิทธิต่าง ๆ จะได้รับการคุ้มครอง
เอกสารขอลี้ภัยที่ได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น จะได้รับการดำเนินการในศูนย์หลายแห่ง ไม่ไกลจาก “พรมแดนรอบนอก” ของอียู ซึ่งส่วนใหญ่คือ ชายแดนทางบก, ท่าเรือ และสนามบิน เพื่อช่วยให้ทางการสามารถส่งตัวผู้ขอลี้ภัยกลับประเทศได้อย่างรวดเร็ว หากคำขอของพวกเขาถูกตัดสินว่า ไม่มีมูลความจริง หรือไม่สามารถยอมรับได้
อนึ่ง ผู้อพยพจะไม่ถือว่าเดินทางเข้าอียู จนกว่าพวกเขาจะเสร็จสิ้นขั้นตอนการคัดกรอง และการตรวจสอบทั้งหมด โดยระหว่างรอผลการตรวจสอบ ทุกคนต้องอาศัยอยู่ในสถานที่ซึ่งเจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้
อีกประการหนึ่ง ระบบใหม่จะปฏิรูปกลไกที่เรียกว่า “ดับลินที่ 3” ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ประเทศที่ผู้อพยพเดินทางเข้าเป็นประเทศแรก จะเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการลี้ภัย ส่งผลให้อิตาลี กรีซ และมอลตา ต้องเผชิญกับแรงกดดัน เนื่องจากพวกเขาประสบกับการหลั่งไหลเข้าของผู้อพยพจำนวนมาก ทั้งทางบกและทางทะเล ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ภายใต้กฎระเบียบใหม่ ประเทศสมาชิกของอียู ที่มอบวุฒิการศึกษาระดับปริญญา หรืออนุปริญญา ให้แก่ผู้ขอลี้ภัย จะเข้ามารับเอกสารแทน อีกทั้งกลไกความสามัคคีภาคบังคับ จะทำให้ประเทศสมาชิกทั้งหมด รับผู้ขอลี้ภัยจำนวนหนึ่ง ที่เดินทางมาถึงประเทศที่อยู่รอบนอก
หากประเทศใดไม่อยากทำเช่นนั้น พวกเขาสามารถมอบเงิน สิ่งของอื่น ๆ หรือการบริจาคช่วยเหลือ ให้กับประเทศที่ดำเนินการได้ ซึ่งระดับของการบริจาคนั้น จะขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และจำนวนคำขอลี้ภัยที่ประเทศนั้นได้รับ
ทั้งนี้ ผู้ขอลี้ภัยอย่างน้อย 30,000 คนต่อปี จะอยู่ภายใต้ระบบการย้ายถิ่นฐานนี้ ขณะที่ประเทศต่าง ๆ จะจ่ายเงิน 20,000 ยูโร (ราว 763,000 บาท) ให้กับผู้ขอลี้ภัยแต่ละคนที่พวกเขาปฏิเสธด้วย
ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับ “ประเทศที่สามที่ปลอดภัย” จะได้รับอนุญาตเมื่อทำการตรวจสอบผู้ขอลี้ภัยอย่างละเอียด นั่นหมายความว่า ผู้อพยพเข้าประเทศอย่างผิดปกติ ซึ่งเดินทางมายังอียู ผ่านประเทศที่ถือว่า “ปลอดภัยมากพอ” ที่จะยื่นคำร้องขอความคุ้มครอง อาจถูกปฏิเสธได้ แต่การที่จะเกิดกรณีเช่นนั้น มันจะต้องมี “ความเชื่อมโยง” ระหว่างผู้ขอลี้ภัย กับประเทศทางผ่าน.
เลนซ์ซูม
เครดิตภาพ : AFP