ประเทศไทยเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก มีผู้เสียชีวิตถึง 2 แสนคนต่อปี แผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหวางรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก ด้านความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิเพื่อความปลอดภัยทางถนน ได้จัด เวทีสัมมนาเครือข่ายสมาชิกรัฐสภาเพื่อความปลอดภัยทางถนน พร้อมกันนี้นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ (ซอยรางน้ำ) เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ IMG_6993-1.jpg

นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า ปัญหาอุบัติเหตุถือเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตนเห็นชอบข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนนผ่านกลไกรัฐบาล ในการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อกำกับติดตามการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนนอย่างต่อเนื่อง โดยมีรัฐสภาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นเจ้าภาพหลัก ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุระดับชาติ โดยตนได้นัดหารือร่วมกับนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทันทีในวันที่ 23 พ.ย. เพื่อจัดทำข้อมูลก่อนเสนอประธานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบจัดตั้งคณะกรรมการให้ทันภายในเดือนสิ้นเดือน ธ.ค.นี้ เพื่อให้คณะกรรมการฯ สามารถกำหนดแนวทางและมาตรการที่เกี่ยวข้องได้ทันในการลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567

“คณะกรรมการชุดนี้ จะต้องทำหน้าที่กำกับติดตามอย่างเข้มข้น ทั้งประเด็นการบังคับใช้ทางกฎหมายโดยเฉพาะการสวมหมวกกันน็อกที่ยังไม่เข้มข้นเท่าที่ควร รวมไปถึงการปรับโครงสร้างทางถนนของประเทศ เนื่องจากพบว่า ปัจจุบันถนนของไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน 3 ดาว ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนได้” นายพิเชษฐ์ กล่าว

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ IMG_6991-1.jpg

นายวิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้เชี่ยวชาญในคณะที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันการบาดเจ็บ (WHO expert advisory panel on injury and violence prevention and control) กล่าวว่า ภาคีเครือข่ายวิชาการความปลอดภัยได้ขับเคลื่อนงานลดอุบัติเหตุทางถนน จึงมีข้อเสนอความเห็นเชิงนโยบายต่อสมาชิกรัฐสภา ดังนี้ 1. พิจารณาวางกลไกของรัฐสภา จัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการ กำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง กำหนดให้มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบ และเสนอความก้าวหน้าทุก 3 เดือน ซึ่งข้อเสนอนี้ทางรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ได้กำหนดหารือผู้ที่เกี่ยวข้องทันที 2. เสนอให้มีระบบโครงสร้างองค์กรบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนที่ชัดเจน และพิจารณาผลักดันร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร3. เสนอให้ถอดพ.ร.บ. 5 ฉบับ ออกจากแนบท้าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ลดผลกระทบต่อการบังคับใช้กฎหมายเพื่อความปลอดภัยของประชาชน 4. พิจารณาอย่างรอบด้านต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ ป้องกันแก้ไขปัญหาการดื่มแล้วขับขี่ 5. ผลักดัน 4 มาตรการที่ได้ผลดีผ่านกลไกรัฐสภา ให้การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในไทยลดลงได้ตามเป้าหมายแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนฉบับที่ 5

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ IMG_6995-1.jpg

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เป้าหมายลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในประเทศไทย ให้เหลือ 12 ต่อแสนประชากร ถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมาก จากปัจจุบันที่ยอดรวมในแต่ละปี ทั้งประเทศตายปีละเกือบ 20,000 ราย การบรรลุเป้าหมายข้างต้น หมายความว่าเราต้องลดผู้เสียชีวิตลงให้ได้ ประมาณ 8,000 ราย

ที่ผ่านมา สสส. และภาคีเครือข่าย รวมถึงฝ่ายกฎหมาย และหน่วยงานภาครัฐ ได้ดำเนินมาตรการหลายอย่าง ทั้งการรรณรงค์และบังคับใช้กฎหมาย แต่ยังต้องเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะการออกกฎหมาย ปรับแก้ และบังคับใช้อย่างจริงจัง

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ IMG_6992-1.jpg

“เรื่องนี้เป็นหน้าที่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา ทั้ง สส. และ สว. ถือเป็นกลไกที่สำคัญมาก ต้นแบบจากรัฐสภาอังกฤษ มีการตั้งคณะทำงานเฉพาะเพื่อดูแลปัญหาอุบัติเหตุ และประสบความสำเร็จอย่างมาก อัตราเสียชีวิตอยู่ที่เพียง 2,000 ต่อแสนประชากร น้อยกว่าเราถึง 10 เท่า”

สำหรับรัฐสภาไทยได้มีการตั้งอนุกรรมธิการ ขึ้นมาเกาะติดและติดตามแก้ไข ทั้งในเชิงข้อมูล การออกกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการประสานความร่วมมือกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีอยู่ 7,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ หากได้รับความร่วมมือในการมุ่งเน้น ป้องกันอุบัติเหตุในพื้นที่อย่างจริงจัง จะสามารถการเสียชีวิตบนท้องถนนลงได้

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ IMG_6994-1.jpg

ทั้งนี้ ในส่วนของ สสส. ได้มุ่งเน้นการทำงานในพื้นที่ ที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูง และการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะ 3 เรื่องสำคัญ คือ 1. การสวมหมวกกันน็อค 2. การขับขี่ด้วยความเร็วตามกฎหมายกำหนด และ 3. การคาดเข็มขัดนิรภัย หากทุกคนปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะช่วยลดการเสียชีวิตลงได้มา..