อย่างไรก็ตามปัญหานี้ไม่เกิดขึ้นกับแมววิเชียรมาศ (Siamese cats) ด้วยใบหน้าสีเข้มที่ถูกล้อมรอบด้วยสีอ่อนกว่า อุ้งเท้าและหางสีเข้ม ราวกับถูกแต้มไว้ มาพร้อมกับลำตัวสีครีมและดวงตาสีฟ้าเป็นประกาย เราทุกคนจึงเห็นแมววิเชียรมาศโดดเด่นไม่เหมือนใคร

สีที่เป็นเอกลักษณ์นั้นมาจาก “ยีนหิมาลัย” ซึ่งถูกค้นพบในสายพันธุ์นี้เมื่อปี 2005 โดยถือว่าเป็น “ยีนด้อย” ที่ถูกส่งต่อมาจากทั้งพ่อและแม่ ทำให้ขนมีความไวต่ออุณหภูมิจนเปลี่ยนสีได้

แรกเริ่มลูกแมวพันธ์ุนี้จะเกิดมาพร้อมสีขาวล้วน เพราะออกจากท้องแม่แมวที่มีอุณหภูมิสูง จากนั้นบริเวณปลายของแต่ละส่วนเช่น หาง ขา หู และใบหน้าจะเริ่มเย็นลง กระตุ้นให้ยีนหิมาลัยทำงานส่งผลให้เมลานินในร่างกายเปลี่ยนแปลง เมื่ออายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์ เฉดสีเข้มจะเริ่มแพร่กระจายไปยังขาของแมว จากนั้นเมื่ออายุได้ 1 เดือน สีสุดท้ายก็จะปรากฏขึ้นในหลาย ๆ จุด ไม่ว่าจะเป็นอุ้งเท้า หาง จมูก และหู

เลสลี่ ลีออนส์ (Leslie Lyons) นักพันธุศาสตร์แมว จากมหาวิทยาลัยมิสซูรีกล่าวว่า การกลายพันธุ์ของยีนหิมาลัยนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติในแมวบ้านที่เอเชียใต้ โดยเขาเป็นคนแรกที่บ่งชี้การกลายพันธุ์ในแมววิเชียรมาศได้ ดวงตาสีฟ้าสดใสเองก็เกิดจากยีนหิมาลัยเช่นเดียวกัน ยีนนี้ทำให้สีขนของพวกมันเข้มขึ้นตามอายุแมวที่มากขึ้นด้วย รวมถึงบาดแผลหรือการถูกตัดขนก็อาจทำให้สีเปลี่ยนไปด้วยเหมือนกัน เช่น หากแมววิเชียรมาศได้รับการผ่าตัด ขนบริเวณที่ถูกโกนก็อาจจะกลับมาในแบบเข้มขึ้น เพราะขนเกิดใหม่จะเย็นลง

ในช่วงทศวรรษที่ 1920 แมววิเชียรมาศที่อาศัยอยู่ในมอสโก โดยแมวตัวนั้นสวมแจ๊กเกตคลุมไหล่ที่ถูกโกน ขนกลายเป็นสีขาวทั้งหมดเนื่องจากบริเวณนั้นถูกทำให้อุ่นขึ้น แต่เวลาผ่านไปมันก็กลับมาเข้มขึ้นกว่าเดิมอีกครั้ง (เมื่อเจออากาศเย็น)

เลสลี่ ลีออนส์ กล่าวว่า การกลายพันธุ์ของยีนหิมาลัยนั้น มันมาพร้อมกับปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่นกันรวมถึงปัญหาสายตาด้วย เนื่องจากแมววิเชียรมาศมักมีอาการตาเหล่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการมองเห็นและการรับรู้เชิงลึก แม้ในบางตัวที่มีดวงตาอยู่ในแนวระดับเดียวกันก็อาจมีอาการตาสั่นได้ ซึ่งเป็นภาวะที่บางครั้งดวงตาจะเคลื่อนไปด้านข้างเล็กน้อยซ้ำ ๆ แบบไม่สามารถควบคุมได้

ขอบคุณ ข้อมูลจาก ngthai.com  (Nationnal Geographic ฉบับภาษาไทย)