แผนการลงทุน 5 ปีของ ปตท. (2566-2570) ใช้งบประมาณ 100,227 ล้านบาท และลงทุนในอนาคต 5 ปีอีก 302,168 ล้านบาท เพื่อเป้าหมาย ความก้าวหน้าทางพลังงานอย่างมั่นคงและมุ่งสู่จุดพลังชีวิต ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2583 (ค.ศ. 2040) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี 2593 (ค.ศ. 2050) เพิ่มสัดส่วนลงทุนธุรกิจพลังงานสะอาดและธุรกิจใหม่ที่ไปไกลกว่าพลังงาน ใต้กรอบงาน 3 P

1. Pursuitof Lower Emission โครงการสำคัญในการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และนำไปใช้ประโยชน์ การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยคาร์บอนเครดิต โดยคาดว่าวิธีดังกล่าวจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 30%

2. Portfolio Transformation สร้างการเติบโตจากธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต เพิ่มสัดส่วนพลังงานสีเขียว และการบริหารจัดการ “ไฮโดรเจน”(ที่เป็นพลังงานสะอาด) โดยคาดว่าวิธีนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 50%

3. Partnership with Nature and Society เพิ่มปริมาณการดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการทางธรรมชาติ ปลูกป่าและมีแผนดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง (ไม่ใช่ปลูกแล้วทิ้งซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย) โดย ปตท.มีเป้าหมายปลูกป่าบกและป่าชายเลน จากเดิม 1 ล้านไร่ เพิ่มอีก 2 ล้านไร่ ของ ปตท. 1 ล้านไร่ และกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่ ภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ.2030) เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับมา ทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ชุมชนปีละหลายล้านบาท

Free photo pathway in the middle of the green leafed trees with the sun shining through the branches

นอกจากลงทุนในธุรกิจสายน้ำมัน-ก๊าซ-ปิโตรเคมี อย่างที่กล่าวแล้ว ปตท.ยังรุกไปในธุรกิจที่ไม่ใช่พลังงาน ที่ชาวบ้านเห็นทั่วไป คือ ธุรกิจต่าง ๆ ที่อยู่ในปั๊ม ปตท. จนเหมือนห้างสรรพสินค้าย่อย ๆ รวมทั้งที่กำลังศึกษาอย่างจริงจังคือธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ ตั้งบริษัท อินโนบิก (เอเชีย) ทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท ที่ฮือฮาคือ การร่วมศึกษาทดลองยาชะลอความแก่ “มณีแดง” ที่ผ่านการทดลองในลิงแล้ว ทำให้ “ลิงแก่” กลายเป็น “ลิงหนุ่ม” มีอายุเยาวรุ่นไปอีก25 ปี จากผลสำเร็จนี้ “อินโนบิก” เตรียมไปลงทุนร่วมกับออสเตรเลียเพื่อจดสิทธิบัตร ผลิตยาอายุวัฒนะขายในอนาคต อันถือเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการใช้ชีวิตของมนุษย์อีกก้าวใหญ่ ๆ จากนี้ไป

ไม่ได้อวยหรือยกยอปอปั้น เพราะจะว่าไปการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวพลังงานโดยตรงหรือโดยเกี่ยวเนื่อง เช่น รถอีวี-ปั๊มอีวี รวมทั้งธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่พลังงานนั้น ทุกคนเห็นได้เองว่า ปตท.ไม่แพ้ใครในโลก บางอย่างเป็นวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้ามาก เช่นการรุกเข้าไปด้านสุขภาพ “มณีแดง” ที่จะเป็นประโยชน์กับมนุษยชาติมากมาย หากสำเร็จ

ด้วยภารกิจใหญ่โต การเปิดใจ-เปิดโลก เป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้รู้ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลวระหว่างทางที่ ปตท. จะเก็บซับเป็นความรู้และบทเรียน จึงเป็นอีกครั้งที่ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ซีอีโอ ปตท. และผู้บริหารในเครือ นพดล ปิ่นสุภา, ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ, กฤษณ์ อิ่มแสง, วุฒิกร สติฐิต, พรรณนลิน มหาวงศ์ธิกุล, กนกพร รอดรุ่งเรือง และทีมงานสื่อสารองค์กร ร่วมนำสื่อมวลชนเปิดหูเปิดตาศึกษาดูงานที่ โปรตุเกส และสเปน 2 ชาติยุโรปที่โดดเด่นด้านการมุ่งหน้าสู่พลังงานสีเขียว เช่นที่ มหาวิทยาลัย University of Porto โปรตุเกส ซึ่งเด่นด้านวิทยาศาสตร์ มีบริษัทสตาร์ทอัพมากมาย ท่าเรือ เซวิลญา (Seville) ที่ดูเหมือนเหงา ๆ แต่กลับมีธุรกิจขนส่งสินค้าระดับใหญ่ของยุโรป รวมทั้ง วิทยาลัย Ibedrolaที่สเปน (เหมือน รร.กำเนิดวิทย์ และสถาบันวิทยสิริเมธีของ ปตท. นี่ก็อีกวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล)

บางคนอาจเห็น ปตท.อวดรวย ดัดจริตเดินตามก้นโลกสีเขียว แต่ที่จริงแล้ว โลกสีเขียวเป็นทางรอดที่เลี่ยงไม่ได้ มลพิษกลายเป็นมัจจุราชเงียบคร่าชีวิตผู้คนมากมาย

Free photo view of metro city buildings cityscape

ไทยติดอันดับต้น ๆ ของโลกที่มีฝุ่นพิษ PM 2.5 ต่อเนื่องหลายปี น่าเศร้ายิ่งนัก ล่าสุด เคส หมอกฤตไท ที่เชียงใหม่ จังหวัดที่มีฝุ่นพิษ PM 2.5 เกือบมากสุดในประเทศ นำไปสู่การป่วยเป็น “มะเร็งปอดระยะสุดท้าย” ทั้งที่หมอยังหนุ่มแน่น อายุไม่ถึง 30 ปี ดูแลสุขภาพออกกำลังสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ แต่กลับโดน “ฝุ่นมรณะ” เล่นงานชนิดไม่ปรานี มันเป็นโศกนาฏกรรมของชาติ ไม่ใช่แค่ครอบครัวหมอกฤตไท และทุกคนมีสิทธิเสมอภาคที่จะโดนพิษPM 2.5 เล่นงาน ไม่เลือกชั้นวรรณะ หากดีแต่พูดไปวัน ๆ การลด “คาร์บอน” ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ของการเกิดมลพิษ จึงต้องทำจริงจัง

ปตท.มาถูกทางที่สุดแล้ว

————————-
ดาวประกายพรึก