กลายเป็นอีกเรื่องที่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วประเทศ กำลังให้ความสนใจไม่น้อย!! ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลาง เผยแพร่คำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ 2443/2563 คดีหมายเลขแดงที่ 1855/2563 ลงวันที่ 27 ก.ย.2566 เป็นคดีที่ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ในคดีพิพาทเกี่ยวกับ การที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ผู้ฟ้องคดี ได้ขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ดังนี้ 1.เพิกถอนประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.. 2563 ลงวันที่ 20 .. 2563 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบสำหรับความผิดตาม พ...จราจรทางบก พ..2522 .. 2563 ลงวันที่ 20 .. 2563 และ 2.ทุเลาการบังคับตามประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด

ศาลปกครองกลางได้รับพิจารณาคดีและพิเคราะห์ คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัย 2 ประเด็น 1.ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.. 2563 เป็นกฎที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลได้อ้างอิงกฎหมาย คือ พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522, ประมวลกฎหมายอาญา, ประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญาและรัฐธรรมนูญ สรุปได้ว่า การกำหนดแบบใบสั่งโดยทำให้ผู้รับใบสั่งเข้าใจได้ว่าตนเป็นผู้มีความผิด และต้องชำระค่าปรับ โดยมิอาจโต้แย้งหรือดำเนินการประการอื่นได้ และยังมีลักษณะยืนยันว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 29 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศดังกล่าวจึงเป็นการออกกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2.ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบสำหรับความผิดตาม พ...จราจรทางบก พ.. 2522 .. 2563 เป็นกฎที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลได้อ้างอิงกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติวิธีทางปกครอง พ.ศ. 2539 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 สรุปได้ว่า การกำหนดค่าปรับตายตัวล่วงหน้าโดยเจ้าหน้าที่มิอาจใช้ดุลพินิจในการเปรียบเทียบปรับให้เหมาะสม ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจรใช้ดุลพินิจกำหนดค่าปรับตามความเหมาะสมแห่งพฤติการณ์ กรณีนี้จึงขัดหรือแย้งกับมาตรา 140 วรรคสี่ แห่ง พ...จราจรทางบก พ.. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ...จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) .. 2562 จึงเป็นการออกกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลปกครองกลาง พิพากษาเพิกถอน ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 20 ก.ค. 2563 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 20 ก.ค. 2563 โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกประกาศดังกล่าว อย่างไรก็ตามคำพิพากษายังไม่ถือว่าสิ้นสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในระยะเวลา 30 วัน ล่าสุด พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. มีข้อสั่งการไปยังฝ่ายปฏิบัติด้วยว่า ให้ทุกหน่วยถือปฏิบัติตามเดิมจนกว่าจะมีกฎ ระเบียบ คำสั่ง กำหนดเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการอุทธรณ์จึงยังไม่มีผลตามคำบังคับ

บช.น.เข้มกฎจราจร โดนใบสั่ง ไม่จ่ายค่าปรับ ...

หากย้อนไปตั้งแต่ปี 2563 ใบสั่งจราจรแบบใหม่ถูกบังคับใช้แต่ละปีไม่ต่ำกว่าสิบล้านใบ ประชาชนไม่น้อยก็ร้องเรียนมาตลอด เพราะเหมือน ถูกมัดมือชก เมื่อเจอใบสั่งส่งตรงมาถึงบ้าน บางครั้งความเร็วรถยนต์ เพียง 122-125 กม./ชม. (เกิน 120 กม./ชม. เพียงเล็กน้อย) ต้องชำระค่าปรับเต็ม 500 บาท โต้แย้งก็ไม่ได้ จนมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เหมือนตำรวจพยายามทำยอดใบสั่งจราจร ไม่เห็นใจหัวอกประชาชน ยิ่งช่วงเทศกาลวันหยุดยาวต่างโดนกันถ้วนหน้า

นับเป็นอีกเรื่องใหญ่ หากคำพิพากษามีผลย้อนหลัง แล้ว “ใบสั่งจราจร” หลายสิบล้านใบที่ออกมาตั้งแต่ปี 2563 จะเป็นโมฆะด้วยหรือไม่ ประชาชนที่ชำระค่าปรับไปแล้วจะต้องทำอย่างไร? เรียกว่าปมวุ่น ๆ ครั้งนี้ ต้องติดตามจนถึงบทสรุปชั้นอุทธรณ์จะลงเอยรูปแบบไหน!!

———————
เชิงผา