โศกนาฏกรรม เด็กอายุ 14 บุกยิง ณ ห้างดังใจกลางเมืองเเห่งหนึ่ง ถือเป็นหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่ประชาชนนั้นให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งท่ามกลางประเด็นข่าวมากมาย ประเด็นหนึ่งที่ชาวเกมเมอร์ นักพัฒนาเกม นักกีฬาอีสปอร์ต พี่เอก Heartrocker รวมถึงคนในวงการเกม หรือเเม้เเต่บุคคลทั่วไปเห็นเเล้ว ได้เเต่พูดคำว่า “Ah Sh*t ,Here We go Again!” ประโยคมีมดังของ CJ จากเกม GTA Sanandres ที่เเปล (เเบบสุภาพๆ) ว่า อ่าาาา! อีกเเล้วหรอเนี่ย

สาเหตุก็เพราะ มีสื่อหลายเจ้ามีการพาดหัวว่า เด็กวัย 14 นั้นมี “ประวัติติดเกม” โดยมีหลักฐานเป็นเเชทไลน์ที่เป็นการพูดคุยกันระหว่างกลุ่มเพื่อน เเละมีรูปหน้าจอของเกม PUBG Mobile อยู่ในเเชทไลน์นั้น ซึ่งที่ตลกร้ายเจ้าที่มาของประโยคเด็ด “Ah Sh*t Here We go Again!” อย่างเกม GTA ก็ยังเคยเป็นหนึ่งในต้นเหตุที่ผู้ต้องหาที่เป็นเยาวชน (ในขณะนั้น) ในกรณีปล้นฆ่ารถเเท๊กซี่เมื่อหลายปีที่เเล้ว อ้างว่าการที่ตนได้กระทำการปล้นนั้น “ตนได้เลียนเเบบเกม GTA” คล้ายกันไปอีก

GTA San Andreas - Ah shit, here we go again. - YouTube

โดยนั้นน่าจะเป็นกรณีดังเเรกๆ (เท่าที่ผมจะสามารถจำความได้) ที่ “เกม”เริ่มตกเป็นจำเลยของสังคมไทย ซึ่งนั้นเมื่อเหตุการณ์เหล่านี้ มีผู้ก่อเหตุเป็น ‘เยาวชน’ ที่ดูเเล้วไม่น่าจะก่อเหตุอุกอาจเหล่านี้ได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งถัดไปที่ ภาครัฐ สื่อ หรือแม้แต่สังคมมองที่กำลังมองหาว่า ‘ใครผิด?’นั้นมักจะพุ่งเป่ามาที่ “เกม” เสมอซึ่งจริงๆเเล้ว เกมคือสาเหตุทั้งหมดนั้นจริงๆหรือ

“เกม” คืออะไร?

เกม เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่มอบความบันเทิงให้แก่มนุษย์หรือบางครั้งอาจใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา โดยมีโครงสร้างหลักประกอบด้วยเป้าหมายและกฎกติกาที่ถูกกำหนดโดยมนุษย์สำหรับการแข่งขันหรือพัฒนาทักษะด้านร่างกายการใช้พละกำลังหรือความคิดเพื่อเอาชนะ ในปัจจุบัน “เกม” ได้เข้าไปมีบทบาทในชีวิตประจำวัน เกิดการแข่งขันชิงของรางวัลจากผู้เล่นแบบเดี่ยวหรือทีม หรือที่เรียกว่า eSports อีกทั้งยังมอบความบันเทิงให้ทั้งผู้เล่นและผู้ชมไปพร้อมกัน ซึ่งก็มีหลายประเภทมากมาย

สรุป “เกม” นั้นคือ สื่ออย่างหนึ่ง ที่ไม่ต่างจาก ภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ หรือสื่ออื่นๆ ที่มีหน้าที่ให้ความบันเทิง ให้ความรู้ หรือให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเเก่ผู้ที่เสพมันทั้งทางด้านร่างกาย ความคิด หรือจิตใจ

เเล้ว”เกม”ส่งผลต่อจิตใจได้หรือไม่

เมื่อเกิดเรื่องราวความรุนแรง วิดีโอเกม มักถูกตั้งข้อสังเกตว่า เป็นต้นเหตุของความเลวร้ายเสมอไม่ใช่แค่บ้านเรา ในต่างประเทศอย่าง สหรัฐอเมริกาก็เช่นเดียวกัน เเต่ถามกันถึงเรื่อง Paper กับเรื่องนี้เเล้วมีบทสัมภาษณ์ ของ Tom Grimes ศาสตราจารย์ด้านวารสารศาสตร์แห่งรัฐเท็กซัส (หนึ่งในรัฐที่มีเหตุกราดยิงมากที่สุดแห่งหนึ่ง) ผู้ซึ่งทำงานด้านจิตเวช และ ได้ตีพิมพ์งานวิจัยมากมายเกี่ยวกับบทบาทของสื่อและวิดีโอเกมต่อพฤติกรรมรุนแรง กล่าวผ่านสื่อ อย่าง  KXAN  ว่า “วิดีโอเกมไม่ได้ทำให้ คนทั่วไปกลายเป็นผู้ป่วยทางจิต ผมปฏิเสธไม่ได้ว่าวิดีโอเกม มีผลต่อสภาวะจิตใจจริง แต่มันไม่ได้มีผลต่อสภาวะจิตใจอะไรขนาดนั้น”

“การเล่นเกมไม่ได้ทำให้คนทั่วไปเกิดอาการป่วยทางจิต ถามง่ายๆ คุณเคยรู้สึกเล่นเกมมาเยอะ เล่นจบแล้ว อยากออกไปยิงคนในโรงเรียนประถมไหมล่ะ? คำตอบมันก็ง่ายมากเลยนะ” Tom Grimes กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีหลากหลายงานวิจัยชี้ให้เราเห็นว่า เกมอาจจะเกี่ยวโยงกับพฤติกรรมความรุนแรงในบางระดับ แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงที่จะสัมพันธ์ชัดต่อเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งใหญ่ เช่น การกราดยิง และเมื่อเทียบสหรัฐอเมริกากับประเทศอื่น ๆ ที่เล่นเกมเหมือนกัน เช่นประเทศญี่ปุ่น (ที่เป็นประเทศผู้พัฒนาหลาย ๆ เกมเสียด้วยซ้ำ) ก็ไม่ได้มีเหตุกราดยิงหรือความรุนแรงจากปืนมากเท่าสหรัฐอเมริกา

เเละถ้าถามว่าความเห็นบนโลกโซเซียลออนไลน์ ว่า “เกม”ส่งผลต่อจิตใจได้หรือไม่ ก็จะได้คำตอบประมาณว่า “ถ้าผมเล่น FIFA ผมจะต้องไปเป็นนักฟุตบอลไหม” “ผมเล่นเกมเศรษฐีมาหลายปี ผมยังไม่รวยเลย” หรือเเม้เเต่คำพูดที่ฟังเเล้วก็เจ็บจี๊ดถึงใจ ก็คือ “คนเล่นเกม จริงๆเขาไม่มีเวลาออกไปซื้อปืนไปฆ่าคนหรอก เเค่นั่งกดกาชาตังก็หมดเเล้ว” ซึ่งทั้งหมดนี้เเม้จะเป็นคอมเมนต์ประชดประชันเเต่หลายความเห็นก็กล่าวตรงกันว่า “ไม่เกี่ยวกัน” ขึ้นอยู่กับนิสัยหรือสันดานล้วน (อันนี้ เขาพิมพ์มาจริงๆนะ)

เเล้วถ้าเกี่ยวกับกรณีเด็ก 14 ละ ก็มีผู้มาให้ความเห็นอยู่เหมือนกัน ถ้าจะอ้างอิงก็คือ พี่ชล Zofearz คอมเมนต์เตเตอร์เกมชื่อดัง ที่ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ โหนกระเเสไว้อย่างน่าสนใจว่า “เราลองเอาเด็กติดเกม ไปยิงปืนจริงๆในสนามยิงปืนสิครับ ยืนยันว่ายิงไม่ได้เเน่นอน ถึงยิงได้ก็ยิงไม่โดนเป้า”

อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน, โทรทัศน์, ห้องข่าว และ ข้อความ

ถ้าวิเคราะห์ตามความจริงเเล้วการที่จะสามารถยิงปืนได้ ถ้าหากไม่ได้ฝึกมาก่อน ไม่มีทางเลยที่เราจะสามารถลั่นไกได้อย่างถูกต้อง ยิ่งถ้าอาวุธปืนมีมาตราฐานเเล้วละก็จะมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงเพราะปกติจะมีการ “ห้ามไก” ไว้ เเต่เนื่องจากในกรณีนี้เป็นอาวุธดัดเเปลง ความปลอดภัยจึงค่อนข้างต่ำ ส่วนในเรื่องการดัดเเปลงปืนจะต้องเป็นคนมีความรู้เเละความสนใจพอสมควร ซึ่งก็ตรงกับพฤติการณ์ที่ ผู้ก่อเหตุเขามีความชื่นชอบในเรื่องปืนอยู่แล้ว ชอบอัปคลิป อัปรูป โชว์การยิงปืน เทคนิคการประกอบ การโหลดกระสุน อะไรต่างๆ อันนี้ต่างหากที่ชัดเจนกว่าเรื่องเกมด้วยซ้ำ

สิ่งเดียวที่ “เกม” ส่งผล คือการเล่นมันมากเกินไป ซึ่งอะไรที่มันมากเกินไปมันไม่ดี ยิ่งถ้าเล่นเเล้วไม่มีพ่อเเม่หรือผู้ปกครองคอยควบคุมดูเเล “ตั้งเเต่เเรก” ยิ่งไปกันใหญ่ ทำให้เกิดอาการ “ติดเกม” ซึ่งมันก็เกิดจากการดูเเลของครอบครัว ซึ่งในปัจจุบันน่าเห็นใจที่ว่าสภาพเเละ Norm ของสังคมค่อนข้างจะบีบคั้นทำให้เกิดช่องว่างในสถาบันครอบครัวมากขึ้น

เเล้วทำไม”เกม”ถึงตกเป็นจำเลยของสังคม

เอาละอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า เท่าที่จำความได้ว่าจุดเริ่มต้นเป็นคำกล่าวอ้างของ “เยาวชน”ผู้ก่อเหตุปล้นเมื่อหลายปีก่อน ซึ่ง ณ ตอนนั้นเป็นประเด็นดังจนทำให้ผู้ปกครองมองว่า “เกม” นั้นอันตราย อีกส่วนนึงนั้นก็คือเกมเป็นสื่อที่ “เด็ก” เสพเเละเข้าถึงได้ง่ายเเละมากที่สุด ต่างจากละคร ซีรีส์ ภาพยนตร์(ไทย) ยิ่งในยุคปัจจุบันไปถามได้เลยว่ามือถือเด็กคนไหนไม่มีเกมบ้าง อย่างน้อยก็ต้องมี Candy Crush เเหละ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเกมบางเกม ก็มีความรุนเเรงฝังอยู่ในเกมจริงๆ นอกจากนี้การที่สื่อนำ “เกม” ขึ้นมาเป็นประเด็นเพื่อดึงยอดวิว ก็เป็นอีกส่วนนึงที่ทำให้เกมนั้นตกเป็นจำเลย เพราะมันสำเร็จมากเเล้วจากกรณีที่ผมได้กล่าวไปข้างต้น

เเต่ทั้งนี้การที่จะเหมาว่าเกมนั้นจะเป็นต้นเหตุนั้นก็คงไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะ “เกม” นั้นก็เป็นสื่อไม่ต่างจาก ภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ หรือสื่ออื่นๆ ที่ต่างก็มีความรุนเเรงเเฝงอยู่ในทุกๆสื่อที่กล่าวมาถ้าจะให้ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เกี่ยวกับฆาตกร ละครดราม่าตบจูบข่มขืน ซึ่งหากว่าใช้ตรรกะเดียวกัน ผู้ก่อเหตุก็สามารถกล่าวได้ไหมว่า ทำไปเพราะเลียนเเบบละคร ซีรีส์ หรือเเม้ข่าวที่นำเสนอ ซึ่งนั่นคงจะไม่ถูกต้องนักเเถมเป็นชี้ให้เห็นปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า

เพราะ “เกม” นั้นก็สามารถให้สิ่งดีๆได้เเม้เเต่เกมอย่าง GTA ที่สังคมมองว่าเป็นตัวร้ายนักตัวร้ายหนา ก็สามารถให้เป็นระโยชน์เเก่ผู้เล่นได้เช่นกัน เพราะถ้าคิดวิเคราะห์กันให้ดีๆเเล้ว ในเเง่เนื้อเรื่องที่ต้องบอกว่าตัวเกมนั้นสะท้อนความจริงในสังคมได้ดีมากๆ สรุปที่อยากจะผมอยากจะให้มองนั่นก็คือ เกมนั้นก็เป็น “สื่อสีเทา” อย่างนึง ที่มีทั้งประโยชน์เเละโทษ ไม่ต่างจะสื่ออื่นๆ ไม่ใช้ตัวร้าย ตัวอันตราย อย่างที่เราคิด

เเละสิ่งที่สังคมควรทำที่สุดคือ เพิ่งด่วนสรุปและโทษสิ่งที่เราคาดว่าน่าจะเกี่ยว เพราะภาพลักษณ์หรือภาพจำของมัน เกมอาจจะมีความเกี่ยวข้องอยู่บ้างก็ได้ แต่อย่ามองอะไรเพียงเเต่ที่เห็นอยู่ตรงหน้า อย่างกรณีนี้ ปัญหาเรื่องการควบคุมหรือการเข้าถึงอาวุธหรือปืน ปัญหาความเครียดและความกดดันของเยาวชน ความคาดหวังของพ่อเเม่ ปัญหาพิษเศรษฐกิจที่ส่งผลถึงครอบครัว หรือแม้แต่ปัญหาทางสภาพจิตใจของแต่ละบุคคล ก็ล้วนซ่อนอยู่เบื้องหลังคำว่า “มีพฤติกรรมติดเกม” ทั้งนั้น

ทั้งที่ประเทศของเราผลักดัน eSports กันถึงขนาดที่มีนักกีฬาไปคว้าเเชมป์โลก ไปคว้าเหรียญทองเอเชียนเกมส์ มีเกมส์ดีๆที่สามารถตีตลาดถูกใจชาวต่างชาติ ได้อย่าง Home Sweet Home เเต่ในขณะที่สังคมเรายังมอง เเละโปรโมตว่า เกมส์เป็นตัวร้าย อยู่อย่างนี้เห็นที่ ซอฟพาวเวอร์ที่เรียกว่า “เกม” ตามที่คณะกรรมการซอฟพาวเวอร์อยากจะผลักดันอาจจะเป็นไปได้ยากเสียเเล้ว

——————————————–
GAMESTALK BY INSIDE THE GAMES
คอลลัมน์โดย Wacther
ติดตามรีวิวเกมส์ และ อื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ : INSIDE THE GAMES