หนึ่งในนโยบายเร่งด่วนภายใต้กรอบระยะเวลาสั้น ๆ ของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ที่แถลงต่อรัฐสภาในช่วงวันที่ 11-12 ก.ย.66 คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (รธน.) ฉบับปี 60 หรือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ด้วยการทำ “ประชามติ” เป็น
ด่านแรก

แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ทั้งนายเศรษฐา และนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ จากพรรคเพื่อไทย กล่าวยืนยันอย่างชัดเจนว่าจะไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์

ภูมิธรรม เวชยชัย” รำลึกจาก 19 ก.ย. 49 ถึง 19 ก.ย. 63 สังคมไทยเรียนรู้อะไร -  พรรคเพื่อไทย

ทำ “ประชามติ” ก่อนเพื่ออะไร? ทำเพื่อไปหักล้างผลของการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 60 ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 7 ส.ค.59 ซึ่งกลายเป็นปัญหาของการเมืองไทยมาถึงวันนี้ จากผลของประชามติ และ “คำถามพ่วง”

ร่างรัฐธรรมนูญปี 60 ผ่านความเห็นชอบจากการทำประชามติในครั้งนั้น 16,820,402 คน (61.35%) ไม่เห็นชอบ 10,598,037 คน (38.65%) ส่วน “คำถามพ่วง” ที่ระบุให้ สว. ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีกับ สส. ได้รับความเห็นชอบ 15,132,050 คน (58.07%) ไม่เห็นชอบ 10,926,648 คน (41.93%)

ดังนั้นเมื่อมีบทเรียนราคาแพงในการทำประชามติเมื่อวันที่ 7 .. 59 กันมาแล้ว การทำประชามติครั้งต่อไป จึงไม่ควร “ผลีผลาม”

เนื่องจากถ้าผลีผลาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่สำเร็จ ต้องเสียทั้งเวลา และเสียเงิน เพราะอย่าลืมว่าการทำประชามติก็เหมือนการเลือกตั้งทั่วประเทศ ซึ่งต้องใช้งบประมาณครั้งละไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท และเท่าที่มองดูรูปการณ์ อาจจะต้องทำประชามติ 2 ครั้ง ใช้เงินไม่ต่ำกว่า 6 พันล้านบาท

ถ้าเสียเงิน 6 พันล้านบาทแล้วทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สำเร็จ! ถือเป็นความโชคดีของคนไทย แต่ถ้าไม่สำเร็จนั่นหมายถึงการเอาเงิน 6 พันล้านบาท ไปทิ้งลงในแม่น้ำ

แต่ก่อนไปถึงจุดนั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) และรัฐสภาต้องหารือกัน หรือตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ-แก้รัฐธรรมนูญ เหมือนที่ครม.นายเศรษฐามีมติออกมาในวันที่ 13 ก.ย. 66 เพื่อได้ข้อสรุปที่เห็นชอบตรงกันในประเด็นคำถามของประชามติ ว่าควรมี ไม่ควรมีอะไรบ้าง ควรใช้เวลาถกกัน 2-3 เดือนก่อน

เมื่อถึงปีใหม่ 2567 ครม.จึงอนุมัติ (ให้งบ) ทำประชามติ จากนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จึงไปเตรียมการทำประชามติ โดยกำหนดวันลงคะแนนประชามติในช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์นั่นแหละ สวย!

การทำประชามติ เพื่อทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เที่ยวนี้จะผลีผลาม เอามัน! ไม่ได้ เนื่องจากยังมีสว.ลากตั้ง 250 คนอยู่ในรัฐสภาไปถึงวันที่ 11 พ.ค. 67 และถ้ายังไม่มี สว.ชุดใหม่เข้ามา สว.ชุดนี้ก็ยังวนเวียนอยู่ในรัฐสภา และจะมีเหตุอะไรให้พวกเขาอาจจะได้อยู่ยาวต่อไปหรือเปล่า ยังไม่มีใครรู้!

ดังนั้นการทำประชามติ เพื่อนำไปสู่การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องสุขุม รอบคอบ เสียเงินหลายพันล้านบาทแล้วต้องผ่าน! ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ถ้าบางพรรคการเมืองต้องการเอามัน! แต่ทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วไม่ผ่าน! แถมเสียเงินหลายพันล้านบาท ใครจะรับผิดชอบ?

——————–
พยัคฆ์น้อย