ใครที่เคยบอกว่าให้รอตั้งรัฐบาลไว้อีก 10 เดือนก็ได้! เพื่อรอให้สว.ลากตั้ง 250 คน หมดอายุไปก่อนในเดือน พ.ค. 67 แต่ปัจจุบันออกมาเรียกร้องกับรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ว่านโยบายนั่นนี่ เมื่อไหร่จะทำ?

ควร “ตั้งสติ” และใจเย็น ๆ แล้วแสดงออกอย่างมีเหตุมีผลด้วยว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดนี้เพิ่งเข้าถวายสัตย์ฯ เมื่อวันที่ 5 ..ที่ผ่านมา และวันที่ 11 ..นี้ จะแถลงนโยบายการทำงานของรัฐบาลต่อรัฐสภา

พยัคฆ์น้อย” เห็นเอกสารคำแถลงนโยบายรัฐบาล สรุปคร่าว ๆ ว่าเป็นกรอบใหญ่ที่ทุกพรรคนำมาผนวกกัน และพูดถึงเป้าหมายการทำงาน ไม่ได้ลงในเรื่องรายละเอียดทุกอัน เพราะรายละเอียดทุกอย่างจะอยู่ที่การปฏิบัติ โดยมีกรอบในการบริหารและพัฒนาประเทศตามกรอบความเร่งด่วน ได้แก่ กรอบระยะสั้น กรอบระยะกลาง และระยะยาว

สำหรับกรอบระยะสั้นที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการใช้จ่าย เพิ่มความเชื่อมั่นเพื่อดึงดูดการลงทุน และฟื้นฟูเครื่องยนต์เศรษฐกิจอีกครั้ง คือ นโยบายการเติมเงิน 1 หมื่นบาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต

นโยบายต่อมา การแก้ปัญหาหนี้สินทั้งในภาคเกษตร ภาคธุรกิจ (เอสเอ็มอี) และภาคประชาชน

นโยบายเร่งด่วนถัดมา คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการ ราคาพลังงานทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในทันที นอกจากนี้จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ

โดยวางแผนความต้องการและสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เร่งเจรจาการใช้พลังงานในพื้นที่อ้างสิทธิกับประเทศข้างเคียง และสำรวจแหล่งพลังงานเพิ่มเติม รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ ภายใต้กลไกตลาด

มาถึงตรงนี้ “พยัคฆ์น้อย” ขอคั่นจังหวะว่า การเจรจาเรื่องการพัฒนาแหล่งพลังงาน (ก๊าซน้ำมัน) ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทยกัมพูชา น่าจะสำเร็จลุล่วงในรัฐบาลเศรษฐานี่แหละ!

นโยบายต่อมา คือ รัฐบาลจะผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เพราะการท่องเที่ยวจะเป็นกุญแจดอกแรกในการสร้างรายได้ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น และสร้างงานให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก

นโยบายเร่งด่วนสุดท้าย คือ การแก้ปัญหาความเห็นแตกต่างเรื่องรัฐธรรมนูญ พ.. 2560 เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ โดยรัฐบาลจะหารือแนวทางในการทำ “ประชามติ”

ส่วนนโยบายระยะกลางและระยะยาว คือ การสร้างรายได้โดยการใช้การทูตเศรษฐกิจเชิงรุกเพื่อเปิดประตูการค้า สู่ตลาดใหม่ ๆ รวมไปถึงส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมสีเขียว อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ

รวมทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ โดยเฉพาะเรื่องค่ารถไฟฟ้า 20 บาท ซึ่งถือว่าเป็น “นโยบายท้องถิ่น” จะอยู่ในหมวดหมู่นี้ เนื่องจากรัฐบาลต้องเจรจากับเอกชน 3 ราย ที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯปริมณฑล คาดว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี จึงจะสำเร็จลุล่วงออกมาตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารรถไฟฟ้า วันละประมาณ 2 ล้านคน

นอกจากนี้ยังมีนโยบายสำหรับเกษตรกร รัฐบาลจะสร้างรายได้ในภาคการเกษตร โดยใช้หลักการตลาดนำนวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ด้วยนวัตกรรมเกษตรแม่นยำ นโยบายเรื่องสิทธิในที่ดิน-การพิจารณาออกเอกสารสิทธิ นโยบายกระจายอำนาจ (ผู้ว่าฯ ซีอีโอ) นโยบายสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ นโยบายปฏิรูปการศึกษา

นโยบายเปลี่ยนรูปแบบการเกณฑ์ทหาร-ปรับปรุงกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหม นโยบายปราบปรามยาเสพติด นโยบายยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค นโยบายในการเป็นผู้นำในอาเซียนเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ

กว่าจะถึงเดือน พ.. 67 คงสำเร็จไปหลายโครงการ เช่น ลดราคาพลังงานเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทไฟเขียว “ประชามติ” ทำรัฐธรรมนูญใหม่ แค่ ครม.อนุมัติให้งบประมาณ กกต.ก็ทำประชามติได้แล้ว ไม่ต้องรอ สว.หมดอายุขัย!!.

——————-
พยัคฆ์น้อย