@@@@ รัฐนิวเซาท์เวลส์พบผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในท้องถิ่นรายใหม่ 1599 ราย และเสียชีวิตเพิ่ม 8 ราย ภายใน 24 ชั่วโมง และได้ทำการทดสอบ 147,000 ครั้ง จนถึงเวลา 20.00 น. ของวันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 รัฐนิวเซาท์เวลส์ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนไปแล้วทั้งหมด8 ล้านครั้ง ในขณะที่รัฐกำลังเร่งดำเนินการให้ยอดการฉีดวัคซีนไอย่างน้อย อัตราร้อยละ 70 ซึ่งจะทำให้สิ้นสุดการล็อกดาวน์ และคาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนตุลาคม ประชากรซึ่งเป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด 77% ได้รับการฉีดแล้วหนึ่งครั้ง ในขณะที่อีก 44.5% ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว เมื่อวานนี้ มีคนทั้งหมด 114,000 คนได้รับการฉีดทั่วรัฐนิวเซาท์เวลส์
รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข รัฐนิวเซาท์เวลส์ นายแบรด ฮาซซาร์ด กล่าวว่า นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของเดลต้า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 ถึง 42,000 ราย ผู้ป่วยติดเชื้ออยู่ในโรงพยาบาลทั้งหมด 1164 ราย โดยผู้ป่วยอยู่ในไอซียู 221 ราย และใช้เครื่องช่วยหายใจ 94 ราย ในจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 8 ราย มี 1 รายที่เสียชีวิตในวัย 30 กว่าๆ ที่บ้านทางตะวันตกของซิดนีย์ เขาทดสอบว่าติดเชื้อหลังจากการตายของเขา ส่วนผู้เสียชีวิตอื่นๆ ได้แก่ ชายในวัย 70 ปีจากเวสเทิร์นซิดนีย์ ชายในวัย 40 ปี ซึ่งมีผลตรวจเป็นบวกหลังจากที่เขาเสียชีวิต ชายในวัย 70 ปี จากเวสเทิร์นซิดนีย์ ผู้หญิงในวัย 80 ปี จากทางใต้ของซิดนีย์ ชายในวัย 80 ปี จากทางตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ ผู้หญิงในวัย 80 ปี จากทางตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ และชายวัย 50 ปีจากเวสเทิร์นซิดนีย์ ทุกคนล้วนมีปัญหาด้านสุขภาพซับซ้อนมาก่อน
เมื่อถูกถามว่า เขากังวลหรือไม่ว่าผู้คนจะแห่กันไปที่ชายหาดในซิดนีย์ท่ามกลางอุณหภูมิที่สูงถึง 30C นาย Hazzard กล่าวว่า “ไม่ ผมกังวลเกี่ยวกับคนที่ไม่ได้รับวัคซีน อากาศบริสุทธิ์ที่เรารู้ว่าเป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน ผมเป็นห่วง 900 คนกำลังได้รับการดูแลใน “โรงแรมกักกันเพื่อสุขภาพ” ซึ่งเราใช้สำหรับผู้ที่ไม่สามารถแยกตัวจากสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ คนส่วนใหญ่ติดไวรัสที่บ้าน และที่ที่มีการแพร่เชื้อมากที่สุดเป็นอันดับสองก็คือ ติดมาจากที่ทำงาน ซิดนีย์ตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ยังคงเป็นจุดแพร่ระบาดหลัก อีกครั้งครับ ข้อความที่ส่งถึงชุมชนในวงกว้างก็คือ โปรดไปฉีดวัคซีน คุณกำลังทำเพื่อตัวเอง เพื่อครอบครัว และเพื่อชุมชนในวงกว้าง” นาย Hazzard กล่าวว่าในขณะที่เขาคิดว่ารัฐนิวเซาท์เวลส์จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดในไม่ช้า แต่ก็ต้องขึ้นกับการไปฉีดวัคซีนของประชาชนกันต่อไป
ด้านนาย George Newhouse นักกฏหมายด้านมนุษยธรรมจากโครงการความยุติธรรมแห่งชาติ National Justice Project กล่าวว่า รัฐบาลจำเป็นต้องเพิ่มการฉีดวัคซีนหรือปล่อยผู้ต้องขังบางส่วน เขากล่าวถึงนักโทษ 13,000 คนในรัฐนิวเซาท์เวลส์ มีเพียง 21 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับการฉีดวัคซีนสองครั้ง ขณะที่โฆษกของ Justice Health and Forensic Mental Health Network เปิดเผยว่า ผู้ป่วยในศูนย์ราชทัณฑ์ที่รัฐดำเนินการได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 30.5% ของผู้ป่วยได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว “59.6% ได้รับแล้วหนึ่งเข็ม” นายนิวเฮาส์กล่าวว่า “ไม่ใช่เวลาสำหรับ การจับตารอดูว่าจะเกิดอะไร แต่รัฐบาลจำเป็นต้องก้าวไปข้างหน้าและเริ่มฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับนักโทษทุกคนที่สามารถรับวัคซีนได้ หรือจะเริ่มปล่อยตัวนักโทษคนที่ไม่มีความเสี่ยงไม่มีอันตรายต่อสังคม” นายนิวเฮาส์กล่าวว่าประมาณหนึ่งในสี่ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในเรือนจำเป็นชาวอะบอริจิน “มันแสดงให้เห็นว่าชาวอะบอริจินมีความเสี่ยงมากที่สุด มันเป็นสถานการณ์ที่สิ้นหวัง คนข้างในคุกเป็นห่วงอย่างมาก” นายนิวเฮาส์ กล่าวว่า “วัคซีนที่ใช้กับระบบเรือนจำได้ถูกเปลี่ยนเส้นทางออกไปแล้ว รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลผู้ต้องขัง ไม่สามารถแค่ฉีดวัคซีนที่จำเป็น ขังนักโทษ และโยนกุญแจทิ้ง และคิดว่านั่นคือทางออก”
ด้านรัฐวิคตอเรีย พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ใน 450 ราย ภายใน 24 ชั่วโมง และได้ทำการทดสอบ 42,765 ราย จนถึงเวลา 20.00 น. ของวันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 และการติดตามการติดต่อของผู้ติดเชื้อสามารถเชื่อมโยงได้แค่ 75 รายกับเคสที่มีอยู่เท่านั้น หน่วยงานหลายหน่วยเรียกร้องให้สตรีมีครรภ์ใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงวัคซีนได้ก่อนเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์นี้ มีผู้ป่วยหนักทั่วรัฐ 143 คนอยู่ในโรงพยาบาล 34 คนอยู่ในไอซียู และ 26 คน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยในโรงพยาบาลเพียง 11 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนเพียงครั้งเดียว ขณะที่อีก 89 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อนเลย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของเชื้อเดลต้าทางเหนือและตะวันตกของเมลเบิร์นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยมากกว่า 350 รายในพื้นที่เหล่านั้น
ส่วนทางด้านรัฐควีนส์แลนด์ พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในท้องถิ่น 5 ราย ใน 24 ชั่วโมง เมื่อวันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 นาง Annastacia Palaszczuk มุขมนตรีรัฐควีนส์แลนด์ ยังไม่สั่งปิดเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐควีนส์แลนด์ แม้ว่าจะมีการพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในท้องถิ่นรายใหม่เพิ่มขึ้น แต่ได้เตือนว่า ใน 24 ชั่วโมงข้างหน้านี้ถือเป็นวิกฤต อาจจะต้องล็อคดาวน์ถ้าจำเป็น เธอกล่าวว่า ผู้ป่วยรายใหม่อยู่ในครอบครัวเดียวซึ่ง หมายความว่ายังไม่มีหลักฐานการแพร่ระบาดในชุมชน ได้มีคำสั่งให้ผู้ที่ติดต่อใกล้ชิดมากกว่า 1,000 ราย ให้แยกกักตัว และผู้เข้าเยี่ยมญาติในสถานดูแลผู้สูงอายุระหว่างโลแกนและเซาท์บริสเบน จะไม่ได้รับการอนุญาต นอกจากอาการหนักถึงต้องเสียชีวิต รวมทั้งผู้เยี่ยมนักโทษในเรือนจำก็ถูกจำกัดเช่นกัน หากพบหลักฐานข้อมูลใดๆ ของการติดเชื้อแพร่สู่ชุมชนจะทำให้เกิดการล็อกดาวน์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐอย่างรวดเร็วแน่นอน นาง Palaszczuk กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันเสาร์
รัฐนิวเซาท์เวลส์ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนไปแล้วทั้งหมด 8 ล้านเข็ม ในขณะที่รัฐกำลังเร่งดำเนินการให้ยอดการฉีดวัคซีนไอย่างน้อย อัตราร้อยละ 70 ซึ่งจะทำให้สิ้นสุดการล็อกดาวน์ และคาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนตุลาคม
@@@@ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2564 เป็นต้นไป รัฐ NSW มีการผ่อนคลายมาตรการป้องกัน COVID-19 สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบสองโดส ดังนี้ ผู้ที่อาศัยอยู่นอกเขต LGA ที่เป็นพื้นที่เสี่ยง อนุญาตให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบสองโดส “รวมตัวกันนอกบ้านได้ไม่เกิน 5 คน” ภายใน LGA ตนเองหรือภายในรัศมี 5 กม. จากบ้านพักอาศัย (ไม่นับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี) ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขต LGA ที่เป็นพื้นที่เสี่ยง อนุญาตให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบสองโดสซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน รวมตัวนอกบ้าน (รวมถึงการปิกนิค) “ได้เป็นเวลา 2 ชม.” ภายในรัศมี 5 กม. จากบ้านพักอาศัย แต่ยังห้ามออกจากบ้านในเวลาเคอร์ฟิวอยู่ (21.00 – 05.00 น.) สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในบางพื้นที่ของ Regional NSW ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 11 ก.ย. 2564 เป็นต้นไป อนุญาตให้รวมตัวนอกบ้านได้ไม่เกิน 20 คน ท่านสามารถดูข้อมูลของทางการ NSW ได้ที่ nsw.gov.au/covid19 มาตรการอาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอโปรดติดตามจาก www.nsw.gov.au
@@@@ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ขอส่งกำลังใจให้พี่น้องชาวไทย โดยมอบถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ เมือง Coffs Harbour (ถุงยังชีพ 100 ถุง) ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน ระหว่างเวลา 12.00-14.00 น. ร้าน Memory Thai (7 Vernon St, Coffs Harbour) เมือง Wollongong (ถุงยังชีพ 100 ถุง) ในวันศุกร์ที่ 17 กันยายน เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป หน้าร้าน Le Rose Thai Cuisine (3/81 Meadow St, Tarrawanna) เมือง Newcastle (ถุงยังชีพ 100 ถุง) ในวันศุกร์ที่ 17 กันยายน เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป ร้าน Bangkok Nights (37 Beaumont St, Hamilton) เมือง Albury ในวันศุกร์ที่ 17 กันยายน ระหว่างเวลา 14.00-16.00 น. ร้าน Thai Puka (652 Dean St, Albury) ถุงยังชีพ 50 ถุง ร้าน Golden food Thai restaurant (1081 Mate St, North Albury) ถุงยังชีพ 50 ถุง ผู้ที่รับถุงควรเป็นผู้อาศัยอยู่ในละแวกเมืองข้างต้น เพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับของทางการรัฐ NSW ในการจำกัดพื้นที่ออกนอกบ้าน ทั้งนี้ โปรดปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขของรัฐบาล NSW และระเบียบของทางร้านอย่างเคร่งครัด สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอขอบคุณชุมชนไทยและร้านค้าต่าง ๆ ที่ร่วมสนับสนุนและช่วยเหลือในการมอบสิ่งของแก่พี่น้องชาวไทย สถานกงสุลใหญ่ฯ จะมุ่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนไทยในพื้นที่ต่าง ๆ และจะแจ้งให้ทราบต่อไป
@@@@ เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แอน สาริศา บุญประสงค์ และกี๋ Ky Van Nguyen เจ้าของร้านปิซซ่าชื่อดัง Main street cafe เมือง Two Wells ได้ไปทำบุญที่ วัดป่าโพธิปาละ Bodhipala Monastery Buddhist temple ที่ Mount Pleasant เซาท์ออสเตรเลีย ได้มีความคิดริเริ่มนำเพื่อนๆไปช่วยกันทำงานก่อสร้างธรรมศาลาซึ่งกำลังก่อสร้างให้แล้วเสร็จ จึงได้ร่วมกับ วัฒนา ชำนาญช่าง รวบรวมช่างไปช่วยกันทำงานจิตอาสาทุกวันอาทิตย์ โดยมี ช่างคำฟอง จันทปัญญา ช่างคนลาว น้อย จันดาวงษ์ ช่างโตโต้ ขุนสมาทอง ช่างKheang Hwang ช่าง เคลิ้ม ไหมทอง ช่างสุมิตร นพโสภณ ช่างศิรภพ เชียงสร้อย และช่างทาสี Wayne Lubach ซึ่งเป็นช่างอาชีพไปช่วยทำงานจนเกือบแล้วเสร็จเป็นเวลาติดต่อกันหลายอาทิตย์
สาริศาเล่าว่า “เริ่มจากทำบุญแหละคะ แล้วก็ลุกลามไปเลย ไปทำบุญกลับมา พี่กี่เขาบอกพระประธานยังไม่มี ถ้าเราไปทำบุญกันครั้งหน้าเราลองถามพระอาจารย์ญาณดูมั้ย อาทิตย์ถัดไปชวนน้องแบมและน้องน้ำฝนไปด้วย เรารับเป็นโยมอุปัฏฐากจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายพระประธานหลังจากนั้น พระอาจารย์ญาณะก็นำพวกเราดูบริเวรวัด รวมถึงเข้าไปชมโบสถ์ และนี่คือจุดเริ่มต้น เห็นอาคารที่กำลังก่อสร้าง มีแค่พระอาจารย์กับสามเณรอีก 2 รูป พี่เล้งรู้จักช่างทำฝ้าและทาสีเป็นอย่างดี กลับมาจึงได้รีบติดต่อ แล้วฏ็ลงมือกันเลยคะ”
เล้ง วัฒนาเล่าว่า “ผมติดต่อเพื่อนๆที่ป็นช่างที่มีจิตใจต้องการจะทำนุบำรุงพระศาสนา บอกงานบุญฬหญ่นะ เขาก็เฮมากันเลย พวกนี้เป็นช่างอาชีพทำงานเร็ว พวกเราก็ติดฝ้าเพดานโบสถ์ มุงหลังคาพร้อมทั้งทาสี ส่วนเรื่องไฟฟ้าแอร์คอนพี่น้องชาวออสเตรเรียและเพื่อนๆชาวศรีลังกาเป็นผู้ร่วมสร้าง ทีมเราก็นำโดยพี่ฟองภรรยาและเพื่อนๆร่วมใจกัน 80-90% แล้วครับ แต่ถึงกระนั้นทางวัดป่าโพธิปาละก็ยังขาดทั้งปัจจัยอีกหลายๆอย่าง นี่แค่ส่วนหนึ่งพี่พวกเราได้มีส่วนร่วม มาช่วยกันนะครับ” ศรัทธาญาติโยมจากหลายเชื้อชาติ เข้ามาร่วมช่วยเหลือและพัฒนาวัดป่าโพธิปาละจากความร่วมแรง ร่วมใจของคณะสงฆ์ และศรัทธาญาติโยม การบูรณะปรับปรุงธรรมศาลาก็เริ่มเห็นผลชัดเจน เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
สาริศา บุญประสงค์ Ky Van Nguyen และวัฒนา ชำนาญช่าง รวบรวมช่างไปช่วยกันทำงานจิตอาสาทุกวันอาทิตย์ ติดฝ้าเพดานโบสถ์ มุงหลังคาพร้อมทั้งทาสี ที่ วัดโพธิปาละ Bodhipala Monastery Buddhist temple ที่ Mount Pleasant เซาท์ออสเตรเลีย
@@@@ ขอนำเสนอที่มาของ วัดป่าโพธิปาละ ที่ เมาท์ เพลสเชนต์ เซาต์ออสเตรเลีย กลางปี คศ. 2018 ญาติธรรมได้ร่วมกันถวายที่ดินขนาด 250 เอเคอร์แด่ ท่านเจ้าคุณโสภณภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อกัลยาโณ) เพื่อก่อตั้งวัดไทย ในสายหลวงปู่ชา ประกาศตั้งเป็นวัดโพธิปาละเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2019 ที่ตั้งของวัดอยู่ห่างจากสนามบินแอดิเลดด้วยการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1ชั่วโมง 15นาที หรือจากทางตะวันออกของชานเมืองแอดิเลดราว 50 นาที ที่ตั้งของวัดโพธิปาละก่อนหน้านี้ เคยเป็นที่พักนักเดินทางแบบ รีสอร์ตเล็กๆ มาก่อน บริเวณหลักของวัดโพธิปาละมีอาคาร อยู่ 6 หลัง ซึ่งประกอบด้วย กุฎิสำหรับคณะสงฆ์ 3 หลัง โรงจอดรถ โรงซักล้าง โรงครัว ที่พักและโรงทานสำหรับฆราวาส และหอฉันซึ่งคณะสงฆ์ใช้สวดอนุโมทนาแก่ญาติโยม ฉันอาหาร และทำวัตรเช้า/เย็น ใกล้ๆหอฉัน มีอาคารหลังใหญ่ใช้เป็นที่จัดงานและประชุม ภายในยังมีห้องสมุดเพื่อศึกษาปริยัติธรรม และไม่ไกลจากอาคารนี้ มีเพิง 2 หลัง หลังหนึ่งใช้เป็นที่เก็บเครื่องมือก่อสร้าง และ ห้องทำงานก่อสร้าง อีกหลังหนึ่งที่เคยเป็นโรงตัดขนแกะเพราะเป็นฟาร์มเลี้ยงแกะมาก่อนแต่ตอนนี้ใช้เก็บวัสดุก่อสร้างบางส่วน แหล่งน้ำใช้ของวัดมาจากน้ำฝนซึ่งจัดเก็บไว้ในถังเก็บน้ำซึ่งตอนแรกไม่พอเพียงสำหรับการใช้งาน ภายหลังคณะสงฆ์ได้ติดตั้งถังเก็บนำ้เพิ่มเพื่อเพิ่มปริมาณการเก็บน้ำเป็น 2 เท่า ปัจจุบันนี้ ถังเก็บน้ำทั้งหมดสามารถกักเก็บน้ำฝนได้ถึง 360,000 ลิตร
คณะสงฆ์หมู่แรกที่เข้าจำพรรษาใน2019 ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้งวัด ได้แก่ อาจารย์ญาณะทีโป พระปิยสีโล และ ปะขาวเดวิด คณะสงฆ์ออกบิณฑบาตรโปรดญาติโยมบริเวณใกล้เคียงสัปดาห์ละ 3 ครั้งเรื่อยมาตั้งแต่วัดก่อตั้งขึ้น ในปี 2019 มีพระอาจารย์อาวุโสหลายรูป ได้เมตตามาเยี่ยมเยียนที่วัด มี พระครูพัฒนกิจวิศาล (หลวงพ่อคำ),พระครูสุวรรณโพธิเขต (หลวงพ่อคูณ), หลวงพ่อทองอินทร์,พระครูปลัด อนันต์ อกิญจโน (หลวงพ่ออนันต์),พระราชวชิรญาณ (หลวงพ่อญาณธัมโม), พระครูวินัยธร (หลวงพ่อการุณิโก), ท่านอาจารย์แสวง,ท่านอาจารย์สุพต, พระครูสมุห์ คงฤทธิ์ รตนวัณโณ, ท่านอาจารย์ปริวัตร, ท่านอาจารย์โมเช่, ท่านอาจารย์โรคาโน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่การก่อตั้งวัดใหม่ และยังเป็นโอกาสดีที่คณะสงฆ์วัดโพธิปาละได้รับฟังคำสอนจากครูบาอาจารย์ผู้มาเยือนอย่างมีเมตตา ในช่วงฤดูร้อน และฤดูใบไม้ผลิทางวัดได้มีการก่อสร้างกุฏิและเริ่มต้นโครงการปลูกต้นไม้ 3,000ต้น โดยมีท่านอาจารย์ธนิโยเป็นผู้นำ เมื่อญาติโยมเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้น ทางวัดจึงจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนห้องน้ำเพื่อรองรับให้เหมาะสมตามจำนวน จากห้องน้ำรวมเพียง 1 ห้อง ก็เพิ่มเป็นอาคารห้องน้ำ ประกอบด้วย 5 ห้องเล็กมีห้องน้ำชาย 2 ห้อง ห้องน้ำหญิง 2 ห้อง ห้องน้ำคนพิการ 1 ห้อง ต่อมามีการสร้างศาลาครอบแท่นบูชาพระพุทธรูปปางลีลาหน้าทางเข้าวัด
คณะสงฆ์ที่จำพรรษาในปี 2020 มีอาจารย์ญาณทีโป สามเณร นิปาโก และนักปฏิบัติ คริสและ สก๊อต หลังจากเสร็จสิ้นจากการสร้างห้องน้ำวัดโพธิปาละ จัดงานทอดผ้าป่าซึ่งตรงกับช่วงออกพรรษา คุณ แมนดี้-เจน จีอานนอพฟอลัต กงสุลกิตติมศักดิ์รัฐเซาท์ออสเตรเลียและนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี่ และ ญาติโยมร่วม 150 คนมาร่วมงานคณะสงฆ์ และ คุณ แมนดี้-เจน จีอานนอพฟอลัต ได้นำญาติโยมปลูกต้นโพธิ์
ในต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา วัดโพธิปาละได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อกัลยาโณ ที่มาเยี่ยมวัด สอนธรรมะ และให้กำลังใจทั้งคณะสงฆ์และญาติโยม รวม 3 วัน ช่วงเวลาที่หลวงพ่อกัลยาโณมาเยี่ยมวัดโพธิปาละครั้งนี้ มีญาติโยมมาวัดเป็นจำนวนมากเพื่อมาฟังธรรม ศาลาที่มีอยู่จึงแลดูคับแคบลง และ ไม่สามารถรองรับศรัทธาญาติโยมได้หมดทุกคนในศาลา หลวงพ่อกัลยาโณได้เมตตาให้ต่อเติมศาลาให้ใหญ่ขึ้น วัดโพธิปาละได้ฉลองครบรอบ 2 ปีในวันที่ 31 มกราคม 2021 มีหลวงพ่อ กัลยาโณ เป็นประธาน คุณ แมนดี้-เจน จีอานนอพฟอลัต กงสุลกิตติมศักดิ์ และ ญาติโยมกว่า 100 คน จากหลายเชื้อชาติ มาร่วมงาน วัดโพธิปาละบริจาคอาหาร และข้าวของที่เหลือใช้ที่ได้จากการถวายของญาติโยมเพื่อเป็นกุศลให้กับองค์กรฟูดแบงค์ อยู่เป็นประจำ เพื่อช่วยคนที่ขาดแคลนอาหาร
วัดโพธิปาละ ที่ เมาท์ เพลสเชนต์ เซาต์ออสเตรเลีย วัดไทย ในสายหลวงปู่ชา จัดตั้งขึ้นโดย เจ้าคุณโสภณภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อกัลยาโณ) ที่ตั้งของวัดอยู่ห่างจากสนามบินแอดิเลดด้วยการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1ชั่วโมง 15 นาที
ศรัทธาญาติโยมมากขึ้นทำให้ธรรมศาลาที่มีอยู่คับแคบลงไม่สามารถรองรับได้หมดทุกคน หลวงพ่อกัลยาโณได้เมตตาให้ต่อเติมศาลาให้ใหญ่ขึ้น จากความร่วมแรงร่วมใจของคณะสงฆ์ และศรัทธาญาติโยมช่วยรื้อถอนปรับปรุง เริ่มเห็นผลชัดเจนเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
@@@@ ประวัติอาจารย์ญาณทีโป หรือ ชื่อจริง นายแอนดรูว์ เครก เทเลอร์ เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม คศ 1984 ที่เมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่ออายุได้ 19 ปี นายแอนดรูว์ได้มีความสนใจในพระพุทธศาสนา จึงได้เดินทางมาศึกษา ปฏิบัติธรรมฝากตัวเป็นลูกศิษย์ กับ หลวงพ่อกัลยาโณ (ท่านเจ้าคุณโสภณภาวนาวิเทศ) ที่วัดพุทธโพธิวัน เมืองเมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2004 หลังจากนั้นหลวงพ่อกัลยาโณ จึงได้นำนายแอนดรูว์ เดินทางไปบรรพชา และ อุปสมบทที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ในปี 2005 โดยมี ท่านเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง หลวงพ่อเลี่ยม (พระเทพวชิรญาณ) เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกัลยาโณ เป็นพระกรรมวาจาจาาย์ และ พระอาจารย์สิริปัญโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว หลวงพ่อกัลยาโณจึงได้พาพระญาณะทีโป มาจำพรรษาและศึกษาธรรมต่อที่วัดพุทธโพธิวัน เมลเบิร์น ออสเตรเลีย ในเดือน มกราคม ปีคศ 2019 หลวงพ่อกัลยาโณได้รับถวายที่ดินจากศรัทธาญาติโยม ในเมืองแอดิเลด และมีดำริที่จะสร้างวัดสาขาเพื่อที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนา และ ธรรมะขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กว้างไกลออกไป จึงได้ส่งพระอาจารย์ญาณทีโป มาเป็นพระอาวุโสและ หัวหน้าคณะสงฆ์ ในที่ดินผืนนี้ และ ได้ตั้งชื่อศาสนาสถานนี้ว่าวัดป่าโพธิปาละ ปัจจุบันพระอาจารย์ญาณะทีโปสิริอายุได้ 37 ปี 16 พรรษา
อาจารย์ญาณทีโปได้รับแต่งตั้งจาก หลวงพ่อกัลยาโณ (ท่านเจ้าคุณโสภณภาวนาวิเทศ) เจ้าอาวาสวัดพุทธโพธิวัน เมืองเมลเบิร์น ให้มาดูแลวัดป่าโพธิปาละ เป็นพระอาวุโสและ หัวหน้าคณะสงฆ์ ปัจจุบันพระอาจารย์ญาณะทีโป สิริอายุได้ 37 ปี 16 พรรษา
ไตรภพ ซิดนีย์
[email protected]