ผู้ชายจะถูกกระตุ้น เมื่อถูกสิ่งเร้ายั่วยุเพียงเล็กน้อยและพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ทุกที่ทุกเวลา ในขณะที่ผู้หญิงมักจะต้องการเพศสัมพันธ์น้อยลงและต้อง “มีอารมณ์” นอกจากนี้มีความเชื่อแล้วที่แพร่หลายเป็นเวลาหลายปี ผู้ชายมีความต้องการทางเพศสูงกว่าผู้หญิง มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดว่าผู้ชายเหมือนเตาไฟฟ้า จุดติดทันที แต่ผู้หญิงเหมือนเตาอั้งโล่ ใช้เวลานานไฟจึงก่อไฟติดได้ มีงานวิจัยมักถูกอ้างถึงเพื่อสนับสนุนแนวคิดที่ว่า บางทีอาจเป็นเพราะระดับฮอร์โมนเพศชายชื่อเทสโทสเตอโรนที่สูงขึ้น ผู้ชายจึงคิดเกี่ยวกับเรื่องเพศมาก แสวงหากิจกรรมทางเพศอย่างแข็งขันมากขึ้น และกระตุ้นอารมณ์ทางเพศได้ง่ายขึ้น เพศวิถีของผู้ชายเปรียบเสมือนสวิตช์เปิด-ปิด ในขณะที่เพศวิถีของผู้หญิงเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงที่ซับซ้อน การวิจัยอื่น ๆ พร้อมกับความเข้าใจเรื่องเพศสัมพันธ์ เพศวิถี และความต้องทางเพศกำลังบอกเราว่าแรงขับทางเพศไม่พอดีหรือตรงกับคำที่มีป้ายกำกับว่า “ชาย” และ “หญิง”

มีอิทธิพลหรือปัจจัยมากมาย บรรทัดฐานทางสังคมของเราและวิธีการถูกเลี้ยงดูตั้งแต่เด็กมาทำให้เอนเอียงไปในเรื่องเพศสัมพันธ์ของเราหรือกดขี่มัน อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อวิธีหรือประสบการณ์ที่เราสัมผัสกับเรื่องเพศสัมพันธ์ของเราและวิธีที่เรารายงานเรื่องนี้ในการศึกษา นักวิจัยกล่าวว่า คนที่ถูกเลี้ยงดูมาในฐานะผู้ชายในสังคมของเรา มักจะได้รับอนุญาตให้พูดอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความต้องการมีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่หญิงสาวมักถูกสั่งไม่ให้แสดงออกเรื่องเพศ

ความสนใจทางเพศของเราเกิดจากหลายปัจจัย รวมถึงไม่เพียงแต่ชีววิทยา อายุ และการใช้ยารักษาโรคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสถานการณ์ด้วย–สำหรับทั้งชายและหญิง นักวิจัยกล่าว “ทัศนคติทางเพศได้รับผลกระทบอย่างมากจากทัศนคติทางสังคมและศาสนา หากท่านได้รับแจ้งว่าการแสดงอารมณ์ทางเพศเป็นสิ่งไม่ดี เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งนี้จะส่งผลต่อความรู้สึกของท่านว่าควรทำหรือไม่ทำ” และข้อความเหล่านั้นอาจมีอิทธิพลต่อการวิจัยที่บอกเราว่าผู้ชายต้องการการมีเพศสัมพันธ์มากกว่าผู้หญิง

แสดงเป็นแบบแผนการรับรู้ภาพลักษณ์ของกลุ่มสังคมหรือภาพเหมารวมทางความคิด (stereotype) มีงานวิจัยศึกษาในปี พ.ศ. 2550 นักวิจัยมีเป้าหมายเพื่อค้นหาว่า บรรทัดฐานทางสังคมมีอิทธิพลต่อการรายงานพฤติกรรมทางเพศของผู้ชายและผู้หญิงมากเพียงใด รวมถึงการช่วยตัวเอง จำนวนคู่นอน และการดูภาพอนาจาร อาสาสมัครที่ได้รับ
ศึกษา เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทุกคนและจะถูกถามคำถามชุดเดียวกันแต่ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดย กลุ่มที่ 1 ได้รับแจ้งว่าผู้ช่วยวิจัยซึ่งจะเป็นเพื่อนในวัยเรียนมหาวิทยาลัย จะเห็นคำตอบของพวกเขา กลุ่มที่ 2 เชื่อมต่อกับเครื่องจับเท็จและบอก (อย่างไม่ถูกต้อง) ว่าจะทำให้ทราบว่าพวกเขาไม่ได้พูดความจริงหรือไม่ และ กลุ่มที่ 3 ไม่ได้เชื่อมต่อกับเครื่องจับเท็จในระหว่างการสำรวจ และไม่ได้รับแจ้งด้วยว่าจะเห็นคำตอบของพวกเขา

———————-
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล