เพราะชัดเจนแล้วว่ากฎหมาย อ้างไม่รู้ฟังไม่ขึ้น

จับเทรน”จ้างงานอินฟลูเอนเซอร์ ยอดผู้ติดตามสูงชวนเล่นพนัน สิ่งแรกที่หลายคนกังวลคือการเข้าถึงของบรรดาเยาวชน และนักเล่นหน้าใหม่ สัปดาห์นี้“ทีมข่าวอาชญากรรม”เลยชวนวิเคราะห์พนันออนไลน์ที่ระยะหลังแพร่หลายรวดเร็ว ผ่านมุมมองผู้คลุกคลีปัญหาและมีเจตนาหยุดเชื้อร้ายอย่างการพนัน

นายธนากร คมกฤส เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน เปรียบการพนันในปัจจุบัน เป็นเหมือนการแพร่ระบาดโควิด-19การแพร่ระบาดโรคนี้แต่เดิมก็เป็นโรคทั่วไป ที่ได้ผ่านการ“อัปเกรด”เข้ามา และทำให้เกิดการเผชิญปัญหา สิ่งเหล่านี้ก็เหมือนการพนันที่แต่เดิมมีบ่อน คาสิโน และเปลี่ยนมาเป็นพนันออนไลน์ซึ่งแฝงมาในรูปแบบต่างๆทั้งในเกม การลงทุน หรืออื่นๆที่ไม่ได้เปิดเผยว่านั่นคือการพนันโดยตรง ทำให้ยากต่อการจับตัว และง่ายต่อการติดเชื้อ

สำหรับนักเล่นพนันหน้าใหม่ กลุ่มหลักเป็นวัยทำงานช่วงต้น และหนีไม่พ้นกลุ่มเด็ก และเยาวชน ซึ่งผลัดเปลี่ยนหน้าเข้ามาอยู่เรื่อยๆ อีกกลุ่มคือผู้สูงอายุวัยเกษียณ ถือเป็นกลุ่มเปราะบาง ส่วนกลุ่มที่กังวลมากเป็นพิเศษ คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน เนื่องจากกลุ่มนี้อาจยังไม่รู้เท่าทัน และแบกรับความเสี่ยงได้น้อยกว่ากลุ่มอื่น

อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุบางรายก็น่ากังวล เพราะอาจนำเงินก้อนสุดท้าย ที่ใช้ในบั้นปลายชีวิตมากระจายความเสี่ยงไปกับการพนันที่ถูกล่อลวง ทำให้หมดตัวจนทำให้ชีวิตไม่มั่นคง

องค์การอนามัยโลก(WHO)ประกาศว่าการติดพนันเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง คล้ายติดสารเสพติด ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน รายงานว่า 1 ใน 5 ของผู้พนันในปี 64 ประเมินตนเองว่าติดพนัน คือ เล่นมาก เล่นบ่อย เล่นต่อเนื่อง เลิกไม่ได้ จนก่อให้เกิดปัญหา ในจำนวนนี้เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและเป็นกลุ่มเปราะบาง ทั้งเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุกว่า 1 ล้านคน”

การใช้“อินฟลูเอนเซอร์”เข้ามาเพื่อโฆษณาชักชวนให้มีการเล่นการพนัน นายธนากร มองวิธีนี้ถือเป็นการทำการตลาดของเครือข่ายเว็บพนัน ซึ่งปัจจุบันปรับกลยุทธ์ให้หลากหลายมากขึ้น แนวโน้มขณะนี้ก็มีให้เห็นอยู่ตลอด เช่น การใช้พริตตี้ ดารา นักแสดง หรือ กลุ่มคนที่มีบอร์ดผู้ติดตามสูง คนเหล่านี้ถือว่ามีอิทธิพลในสังคมออนไลน์

สำหรับพฤติกรรมผู้ติดการพนัน แบ่งได้หลายระดับ คือ กลุ่มลองเข้าไปเล่น ได้บ้างเสียบ้างแต่ก็ยังควบคุมตัวเองได้ , กลุ่มเล่นแล้วหยุด แต่เริ่มที่จะโหยหา และอยากเล่นต่อ โดยเพิ่มเงิน-เพิ่มเวลาในการเล่น ถือเป็นกลุ่มที่เริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยง และกลุ่มไม่สามารถหยุดเล่นได้ และต้องการเล่นตลอดเวลา กลุ่มนี้เป็นกลุ่มติดการพนัน

นายธนากร สะท้อนมุมมองผลกระทบภาครัฐหากเปิดให้บ่อนคาสิโนเป็นสิ่งถูกกฎหมายว่า ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมมากพอเหมือนต่างประเทศ และกฎหมายก็ยังไม่รองรับในบางส่วน ทำให้เกิดผลกระทบวงกว้างได้หากยังมีการเปิดบ่อนแบบถูกกฎหมาย

มาตรการที่ใช้ในการกำจัดผู้ที่ชักชวน หรือเชิญชวนให้มีการเล่นการพนันนั้น ปัจจุบันยังใช้กฎหมาย“ล้าหลัง”ควบคุม เป็นกฎหมายตั้งแต่ปี 2478 ประกาศใช้มากกว่า 90 ปี คิดว่าส่วนนี้อาจทำให้ไม่ครบถ้วนกับการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นมาจากการพนันในปัจจุบัน

ทั้งนี้ ฝากรัฐบาลใหม่ขอให้ร่วมมือหลายภาคส่วนให้มีการวางระบบ และ“สังคายนา”กฏหมาย พร้อมวางมาตรการควบคุม และต้องการให้มีหน่วยงานภาครัฐโดยตรงที่เข้ามาดูแลเรื่องการพนัน เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการพนัน และขอให้มองว่าปัญหาการพนันในประเทศไทย เป็นวาระระดับชาติที่ต้องร่วมมือกัน

คนทั่วไปคิดว่าพนันมีแต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม แต่ความเป็นจริงพนันก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ทำให้เกิดการเสพพอๆกับยาเสพติด อยากให้สังคมตื่นตัวต่อปัญหาและเห็นว่าพนันไม่ใช่เรื่องปกติ แต่เป็นสิ่งเสพติด การเพิ่มพนันเท่ากับเพิ่มสิ่งเสพติด ทำให้เกิดต้นทุนผลกระทบทางสังคมตามมา ต้องฝากภาครัฐแก้ปัญหาให้รอบด้าน”นายธนากร ทิ้งทาย.

ทีมข่าวอาชญากรรม รายงาน

[email protected]