โดยเป็นการระบุถึงงาน C asean Forum 2023 ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทยที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้องานดังกล่าวข้างต้น โดยที่ประเด็น “Master Plan on ASEAN Connectivity” หรือ “MPAC” ถือเป็น “ประเด็นสำคัญ” ของงานนี้

การ เชื่อมโยงถึงกันในภูมิภาคอาเซียน

นี่จะ “ส่งผลดีต่อทุกประเทศในอาเซียน”

โดยต้องมีกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ “C asean Forum”  หรือ “CaF” เป็นงานสัมมนา-เป็นเวทีที่มีมานานราว 8 ปีแล้ว ซึ่งกับสิ่งที่คนไทยเราเคยได้ยินได้รับรู้กรณีหาก อาเซียนแข็งแกร่งเป็นหนึ่งเดียวกัน ได้…ก็จะ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของทุกประเทศในอาเซียน ที่ย่อม รวมถึงส่งผลดีต่อประชาชนของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน ด้วยนั้น กับศูนย์ C asean เวที C asean Forum นี่ก็นับว่ามีบทบาทน่าสนใจ โดยงาน C asean Forum 2023 หรือ “CaF 2023” ที่ผ่านพ้นไป จัดขึ้นโดยความร่วมมือขององค์กรชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งหลัก ๆ ได้แก่ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), กลุ่มปูนซิเมนต์ไทย, เวียตเจ็ท

งาน C asean Forum งาน CaF เป็นส่วนหนึ่งที่ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการเชื่อมโยงด้านต่าง ๆ ทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความยืดหยุ่นและมั่งคั่ง โดยกับงาน CaF 2023 ก็มีทั้งการเน้นย้ำถึงความสำคัญของ แผนแม่บท “MPAC 2025” ในการส่งเสริมความเชื่อมโยงและการบูรณาการทางเศรษฐกิจภายในอาเซียน และงานนี้ก็สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของศูนย์ C asean ในการร่วมส่งเสริมการพัฒนาในระดับภูมิภาค ผ่านการดำเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าว…

แผนแม่บทต้องมี Strategy for Change

เพื่อประสิทธิภาพ จะ ต้องมีกลยุทธ์

CaF 2023 ก็เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการ ขยายโอกาสการค้า การลงทุน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในอาเซียน งานจัดโดย ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับอาเซียน โดยแรงบันดาลใจจากแผนแม่บท MPAC 2025 ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความรู้และวิธีปฏิบัติหลายหัวข้อโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ Pham Quang Vinh ประธาน Vietnam-USA Society อดีตเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศสหรัฐอเมริกา และอดีตผู้นำการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐมนตรีอาเซียน ประเทศเวียดนาม, Hun Saroeun เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาประจำราชอาณาจักรไทย, Lim Chze Cheen Director of ASEAN Connectivity Division สำนักงานเลขาธิการอาเซียน, Tony Fernandes ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มแอร์เอเชีย และ รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี

เรื่อง ความยั่งยืน” “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” “ความท้าทายที่มาพร้อมเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรือความไม่แน่นอน เหล่านี้ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืน เพื่อสร้างอาเซียนที่เชื่อมโยงกันได้ดียิ่งขึ้น

…นี่เป็นหลักใหญ่ใจความสำคัญส่วนหนึ่งจากการระบุไว้โดย รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ในการแลกเปลี่ยนมุมมองในหัวข้อ “Connecting ASEAN with Digital Logistics & Supply Chain Solutions”นอกเหนือจากที่ได้ระบุไว้ถึงการสร้างความเชื่อมโยงในอาเซียนด้วยเทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์แบบดิจิทัลและห่วงโซ่อุปทานการชี้ปัจจัยหลัก ขับเคลื่อนความเติบโตอย่างยั่งยืนในระดับอาเซียน มีการย้ำความสำคัญของห่วงโซ่อุปทานที่ไร้รอยต่อ ยั่งยืน และมีความยืดหยุ่น รวมถึงการ เชื่อมโยงระบบแบบ end-to-end ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล แนวทางการทำงานที่ใช้ข้อมูลเป็นตัวนำ พลังงานหมุนเวียน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ โดยแนวทางแบบองค์รวมจะกระจายสินค้าจากภาคการผลิตสู่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อีกทั้งมีการเน้น ปัจจัยความสำเร็จ ที่มีรากฐานอยู่ที่การบริหารจัดการการขนส่ง เทคโนโลยีที่ช่วยในการดำเนินงาน และนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้ในการเชื่อมโยงระบบแบบ end-to-end จากการสั่งสินค้าไปจนถึงการชำระเงิน …เหล่านี้เป็นปัจจัย…

สร้างความเชื่อมโยงในระดับนานาชาติ

บูรณาการห่วงโซ่อุปทานแบบองค์รวม

ทั้งนี้ สำหรับ ฐาปน สิริวัฒนภักดี ผู้บริหารไทยเบฟเวอเรจ ประธาน ศูนย์ C asean ก็ยังได้มีการระบุโดยย้ำความสำคัญของการสร้างความแข็งแกร่งให้ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ได้เน้นว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนมีความจำเป็น รวมถึงความร่วมมือที่จะนำทรัพยากรและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมารวมกัน… การดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงฯ อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้สามารถสร้างอาเซียนที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการทำงานร่วมกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล …ประธานศูนย์ C asean ชี้ไว้

เหล่านี้เป็น ความเคลื่อนไหวน่าสนใจ

การ เชื่อมโยงอาเซียน-เชื่อมโยงผู้คน

มากขึ้นยิ่งดี ซึ่ง ดีกับคนไทยด้วย”.