นับเป็นอีก พระราชกำหนดสำคัญ ที่ประกาศมาในช่วงส่งท้ายของรัฐบาลประยุทธ์ ที่ตอนนี้ถนนทุกสายมุ่งหน้าสู่การเลือกตั้ง ปี 2566 เกือบทุกพรรคการเมืองเริ่มเดินสายลงพื้นที่ต่างจังหวัดกันคึกคักตั้งแต่เหนือจดใต้รวมถึงหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร

พระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.. 2566 ได้ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา มีผลใช้บังคับ มาตั้งแต่วันที่ 17 มี.. 66

ต้องยอมรับว่าตลอดการบริหารงานของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อีกปัญหาใหญ่ของประเทศคือ อาชญากรรมทางไซเบอร์ ที่ผุดขึ้นมาพร้อมกับความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แม้ภาครัฐจะพยายามกวาดล้างจับกุม งัดสารพัดมาตรการมาป้องกัน แต่บรรดา อาชญากรไซเบอร์ ก็ยังอาศัยช่องโหว่กฎหมาย หลอกลวงประชาชน สุจริตชน สูญเสียทรัพย์สินจำนวนมาก หนำซ้ำผู้ตกเป็นเหยื่อก็ไม่ได้ลดน้อยลงแต่อย่างใด

ประยุทธ์แถลงควบคุมไวรัสโคโรนาได้ 100% พร้อมตั้ง คกก.  รับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ 60 ราย | Brand Inside

โดยเฉพาะ โทรศัพท์มือถือ ยุคนี้ใช้ได้สารพัดประโยชน์ แม้กระทั่ง โอนเงิน ได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นอุปกรณ์ที่แก๊งคนร้ายสามารถเข้าถึงตัวเหยื่อ พร้อมนำเงินที่ได้จากการหลอกลวงโอนผ่าน บัญชีเงินฝาก, บัตรอิเล็กทรอนิกส์, บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลอื่น หรือเรียกกันว่า บัญชีม้า โอนต่อไปเป็นทอด ๆ อย่างรวดเร็ว แต่ละวันยังคงมีประชาชนผู้สุจริตทั้งวัยรุ่นหนุ่มสาวไปจนถึงผู้สูงวัยเรียกว่าทุกสาขาอาชีพ ตกเป็นเหยื่อโดยเฉพาะ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ มูลค่าความเสียหายสูง แถมการ
กระทำความผิดได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างและเป็นอันตรายร้ายแรง ต่อระบบเศรษฐกิจ

กว่าตำรวจจะสืบสวนประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ติดตามเงินคืนกลับมาได้ก็เป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญ ทำให้ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ได้ถูกตราออกมา โดยมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมกันกำหนดแนวดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงาน กสทช., ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.),ดีเอสไอ, ปปง., สมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ฯลฯ

ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกลวง สามารถติดต่อศูนย์แจ้งเหตุภัยทางการเงินของธนาคารเพื่อระงับบัญชีได้ทันทีและตลอด 24 ชั่วโมง ขณะนี้มีธนาคารของรัฐและธนาคารพาณิชย์รวม 15 แห่ง โดยเปิด “ศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพ” ขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีหลายมาตราสำคัญที่ควรรับรู้ อาทิ การแจ้งความทำต่อพนักงานสอบสวนท้องที่ใดก็ได้ หรือผ่านระบบ แจ้งความออนไลน์ Thaipoliceonline.com. เพื่อให้แจ้งความง่ายและช่วยให้ติดตามปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ รวมไปถึงอาชญากรรมไซเบอร์ได้รวดเร็วขึ้น

ต้องย้ำเอาไว้ สำหรับผู้ที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง รับจ้างเปิด ’บัญชีม้าซิมม้า“ จะเจอโทษทั้งจำและปรับสูงขึ้น โดยมาตรา 9 ระบุว่า เปิดบัญชีม้า โทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ, มาตรา 10เป็น ธุระจัดหา หรือชักชวน ให้มีการ ซื้อขายบัญชี เพื่อใช้ในการกระทำความผิดต้องจำคุกตั้งแต่ 2 ถึง 5 ปีปรับตั้งแต่ 2 แสนบาทถึง 5 แสนบาท และมาตรา 11 เป็นธุระจัดหาโฆษณาหรือไขข่าวเพื่อให้มีการ ซื้อขายหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งลงทะเบียนในนามบุคคลอื่นแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้จริงได้ต้องจำคุกตั้งแต่ 2 ถึง 5 ปี ปรับตั้งแต่
2
แสนบาทถึง 5 แสนบาท

คงต้องตามดูว่า การเพิ่มโทษจะเป็นอีกช่องทางช่วยสกัดกั้นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้หรือไม่? แต่ที่แน่ ๆ ชาวบ้านที่หวังเพียงแค่เงินค่าเปิดบัญชีม้า ตอนนี้ถ้าถูกจับได้นอกจากจะผิดโทษอาญาแล้ว ต้องเจอโทษจำคุกและปรับสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย!!

—————————-
เชิงผา