ถึงจะไม่ถูกต้อง-ตรงเผง แต่ก็ชี้ให้เห็นนัยหรือทิศทางการเมืองในขณะนั้นๆ ถือเป็นสีสันสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการเลือกตั้ง
“ประชาธิปไตยยืนหนึ่ง” วันนี้ขอหยิบยกหนึ่งโพลมา “อุ่นเครื่อง” กับหัวข้อเข้าสถานการณ์ “ความคาดหวังในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย พ.ศ. 2566” โดยศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18-30 ปี ในพื้นที่ กทม. จำนวน 1,113 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25-30 ม.ค. 2566
ผศ.ดร.สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ระบุ การสำรวจดังกล่าวเน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ “ผู้ที่ไม่เคย” ผ่านการเลือกตั้งมาก่อน และ “ผู้ที่เคย” ผ่านการเลือกตั้ง ส.ส.ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 60 เป็นการสำรวจว่าจะเลือก ส.ส.ที่มีคุณสมบัติแบบใด เลือกพรรคการเมืองจากปัจจัยใด และอยากให้การเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใด ปรากฏผลสำรวจน่าสนใจ ดังนี้
“อยากได้ ส.ส.ที่มีคุณสมบัติแบบใดมากสุด”
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 22.5 มีความซื่อสัตย์โปร่งใส รองมา ร้อยละ 19.8 มีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 17.2 มีความเสียสละทำงานเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 10.6 มีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 10.5 มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม เป็นต้น
“หากต้องไปเลือก ส.ส. จะตัดสินใจเลือกบุคคลประเภทใด”
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.8 มีความซื่อสัตย์สุจริต รองมา ร้อยละ 27.8 มีความเสียสละเพื่อสังคม ร้อยละ 20.2 อยู่ในพื้นที่และทำงานพื้นที่ต่อเนื่อง ร้อยละ 14.9 มีความรู้ความสามารถประวัติการศึกษาและการทำงานมากมาย เป็นต้น
“คิดว่าจะเลือกพรรคการเมืองจากปัจจัยใดมากสุด”
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 38 พรรคที่มีความซื่อสัตย์สุจริต รองมา ร้อยละ 24.3 พรรคที่มีอุดมการณ์ชัดเจน ร้อยละ 15.1 พรรคที่มีภาพตัวแทนคนรุ่นใหม่ ร้อยละ 11.5 พรรคที่มีนโยบายน่าสนใจ เป็นต้น
“คิดว่าบุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี มีคุณสมบัติใดมากสุด”
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.2 มีความซื่อสัตย์โปร่งใส รองมา ร้อยละ 16.6 มีความรู้ความสามารถเหมาะสม ร้อยละ 13.5 มีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 11.8 มีความเสียสละทำงานเพื่อสังคมต่อเนื่อง ร้อยละ 11.4 มีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
“คิดว่าจะไปเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่”
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.5 ไป ร้อยละ 4.3 ไม่ไป และ ร้อยละ 19.2 ไม่แน่ใจ
“ทราบหรือไม่ว่า ส.ส.มีหน้าที่ทำอะไร”
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.8 ทราบ ร้อยละ 17 ไม่ทราบ และไม่แน่ใจ ร้อยละ 19.2
“ปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจเลือก ส.ส. ในการเลือกตั้งครั้งนี้มากสุด”
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.6 ตัวผู้สมัคร ร้อยละ 28.6 พรรคการเมืองที่สังกัด ร้อยละ 11.8 การเสนอชื่อนายกฯ
“คิดว่านโยบายใดเป็นนโยบายที่อยากให้พรรคการเมืองให้ความสำคัญมากสุด”
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.6 ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 24.5 ด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต ร้อยละ 18.8 ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 9.2 ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 6.9 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น
“คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ การเมืองไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่”
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.9 มี ร้อยละ 11.5 ไม่มี ร้อยละ 37.6 ไม่แน่ใจ
“อยากให้การเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใดมากสุด”
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 25.5 ไม่มีการคอร์รัปชั่น ร้อยละ 23 มีการทำงานแบบจริงจังเพื่อประชาชน ร้อยละ 19.1 มีนโยบายที่สามารถทำได้จริง ร้อยละ 14.9 ไม่มีการหวังผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง เป็นต้น.