“อาชีพไรเดอร์” เป็นหนึ่งในอาชีพสุดเสี่ยง เพราะไม่เพียงต้องแย่งกันกดรับงาน แต่ยังต้องแข่งขันกับเวลาในการส่งอาหาร ของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน((ศวปถ.) การเปิดเผยข้อมูลภาพรวมสถานการณ์ความไม่ปลอดภัย ในกลุ่มจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ พบว่า 1 ใน 3 ประสบอุบัติเหตุระหว่างขับขี่ ที่น่าห่วงคือมากถึง 40% เป็นการบาดเจ็บสาหัส บางรายถึงขั้นเสียชีวิต 

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2566 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ร่วมกับมูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย (มนป.) โรงเรียนทักษะพิพัฒน์ บริษัท โดยเอสซีจี สกิลส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร (ศปถ.กทม.) บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ผู้แทนกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างและไรเดอร์ และภาคีเครือข่าย จัดแถลงข่าว “ความร่วมมือเพื่อสร้างการขับขี่ที่ปลอดภัยในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์”

นายณรงค์ เรืองศรี’ รองปลัดกรุงเทพมหานครและในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการจัดการความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ ระบุว่าในช่วงโควิดมีการเติบโตของธุรกิจการส่งอาหารอย่างรวดเร็ว มีการสั่ง 120 ล้านครั้ง กลุ่มไรเดอร์จึงมีปริมาณการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นสูงสุด เพราะต้องเร่งรีบทำรอบการรับส่งอาหารและ การเหลือบตามองจุดรับส่องอาหาร ล้วนเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะทักษะการคาดการณ์ ต่อความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมการขับขี่ 

ทั้งนี้มีการผลสำรวจเชิงลึก จากไรเดอร์  1,136 คน ระหว่างเดือน มี.ค. – ก.ค. 2564 พบว่า 3.62% ประสบอุบัติเหตุมากกว่า 16 ครั้ง / 6.79% ประสบอุบัติเหตุ 11-16 ครั้ง / 17.72% ประสบอุบัติเหตุ 5-10 ครั้ง / 65.96% ประสบอุบัติเหตุ 1-4 ครั้ง

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ให้ข้อมูลว่า จากผลศึกษาข้างต้นพบโครงสร้างปัญหาที่นำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ คือ หากส่งช้าจะโดนยกเลิกออเดอร์ หรือประเมินได้ดาวต่ำ จึงต้องขับขี่ด้วยความเร็ว รวมถึงเร่งทำรอบเพื่อเพิ่มรายได้ ที่สำคัญหากทำรอบไม่ถึงเป้าจะเสียสิทธิพิเศษตามเงื่อนไขของแพลตฟอร์ม เช่น ประกันอุบัติเหตุ และโอกาสได้ออเคอร์ลดลง ยังมีปัจจัยเสริมคือการบรรทุกเกินเพราะระบบให้รับงานคู่ ฝนตกถนนลื่น และผิวถนนขรุขระ ร่วมด้วย

สำหรับพฤติกรรมอันตรายของผู้ขับขี่ ที่พบเห็นบ่อยครั้ง คือ  ขับเร็ว ขับย้อนศร ฝ่าไฟแดง ดูโทรศัพท์ขณะขับขี่ บรรทุกเกิน

ผู้ประกอบอาชีพไรเดอร์มีความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา เพราะอย่างที่รู้ถนนในเมืองไทยมีความปลอดภัยต่ำ โดยเฉพาะพฤติกรรมการขับขี่ที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุทั้งเล็กและใหญ่บ่อยครั้ง

นายประสิทธิ์ คำเกิด รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด กล่าวเสริมว่า ที่น่าเป็นห่วงคือข้อมูลที่คาดการณ์ได้ว่า กลุ่มไรเดอร์ทำ พ.ร.บ. ซึ่งเป็นประภัยภาคบังคับ มีไม่มากนัก อ้างอิงจากจำนวนจดทะเบีบนมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล 21 ล้านคัน ในจำนวนนี้มีเพียง 14.8 ล้านคันเท่านั้น ที่ทำ พ.ร.บ. จึงเชื่อได้ว่ากลุ่มไรเดอร์จำนวนไม่น้อย ไม่มีการเอาประกันภัย พ.ร.บ.

ปลายปีที่แล้ว บ.กลางฯ เริ่มมีการเก็บข้อมูลไรเดอร์ แต่ปัญหาคือยังไม่มีข้อมูลตั้งต้น (กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์มีเพราะอ้างอิงการจดทะเบียนป้ายเหลือง) ปัญหาในขณะนี้จึงอยู่ที่ การไม่มีข้อมูลรถที่ประกอบอาชีพไรเดอร์เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานใด ทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล และไรเดอร์ยังเป็นอาชีพอิสระ ยังไม่มีกฎระเบียบและมาตรการควบคุมที่ชัดเจน มีเพียงกติกาของแต่ละแพลตฟอร์ม” นายประสิทธิ์ กล่าว

ด้าน น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. เน้นย้ำความสำคัญของหมวกกันน็อคว่าเป็นสิ่งคู่กับความปลอดภัยในการขับขี่จักรยานยนต์ แต่วันนี้ในประเทศไทยยังเห็นน้อยมาก ขณะเดียวกันการใช้มือถือระหว่างการทำงานของกลุ่มไรเดอร์ ก็นับเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ 

ดั้งนั้นจุดเน้นและทิศทางการดำเนินงานของแผน สสส. คือ 1. มุ่งเน้นการลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์และป้องกันกลุ่มเสี่ยง อาทิ กลุ่มเด็ก และยาวชน

2. สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ดื่มแล้วขับ และขับรถเร็ว 3. สนับสนุนการลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน

4. ค้นหาแนวทางการทำงาน /กลยุทธ์การทำงานนวัตกรรม เทคโนโลยีและดิจิทัล ที่ส่งผลกระทบสูงต่อการลดอุบัติเหตุทางถนน

อย่างไรก็ตามกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ จำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะการขับขี่เชิงป้องกัน การเฝ้าระวังและสะท้อนความเสี่ยง รวมถึงการจัดการระบบข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ แบบแผนการเกิดอุบัติเหตุและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงาน ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนนทั่วประเทศ

เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของ “อาชีพไรเดอร์”