เมื่อสองเหตุการณ์ต้องมาเผชิญกัน สิ่งที่เชื่อมต่อกันได้ของสองโศกนาฏกรรมนั้นแทบไม่มีเลย เพราะอันดับแรก สาเหตุมาจากภูมิศาสตร์การเมือง และสงครามที่ไม่มีผู้ชนะ ส่วนอีกอันดับคือสภาพภูมิประเทศจากแผ่นเปลือกโลก และชั้นบรรยากาศโลกชั้นล่างสุด

แต่ถ้ามองในแง่ไม่ปกติแล้ว ก็อาจเชื่อมโยงกันได้ เมื่อทั้งสองประเทศนี้ และโลกที่ถูกกระตุ้นให้เกิดความตึงเครียดด้วยธรรมชาติและเจตนามนุษย์ ได้ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนของทุกสิ่งในโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งกำลังหาทางควบคุม แล้วก็เป็นอีกครั้งของประชาชนผู้โชคร้ายก็ว่าได้ ต้องมาเผชิญโชคชะตาเลวร้ายอีก ไม่ว่าจะถูกมองว่าเป็นสงครามหรือธรรมชาติ ความเลวร้ายที่ได้รับทั้งสองแห่ง ก็หยั่งลึกลงไปในจิตใจของมนุษย์เหมือนกัน นั่นคือ ความยากจน และการทุจริตคอร์รัปชั่น

นี่ไม่ใช่อุบัติเหตุหรือสิ่งที่ไม่คาดคิด เพราะทั้งอัฟกานิสถานและเฮติต่างก็เคยถูกรุกราน และยึดครองโดยชาติมหาอำนาจตะวันตกมาแล้ว จากประวัติศาสตร์ในอดีต ทั้งสองประเทศเคยได้รับความเสียหายจากรัฐบาลทุจริต ซึ่งถูกกระตุ้นขึ้นมา โดยความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวของชาติตะวันตก ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาได้ทำเอาไว้กับทั้งสองประเทศนี้

ยิ่งชาติตะวันตกละเลยต่อข้อเท็จจริง ทั้งสองประเทศก็ยิ่งกลายเป็นเหยื่อกลไกอำนาจ และความโลภอันไม่สะทกสะท้าน ที่กองสุมกันทับถมผู้คนเหล่านั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า รัฐบาลที่สามารถปฏิบัติการเพื่อช่วยพวกเขาได้ทันท่วงทีที่ต้องการหรือไม่ นี่คือผลโดยตรงของเกมใหญ่ ซึ่งเล่นโดยชาติอื่นเพื่ออำนาจเงิน และอิทธิพล

สภาพที่ยากลำบากนี้จึงควรเป็นสัญญาณเตือนถึงโลก ซึ่งกำลังเผชิญสภาพอากาศแปรปรวน การแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัส การไม่ยอมรับในความคิดที่แตกต่างออกไปในทางศาสนา และโอกาสทางการเมือง การไร้คุณภาพพื้นฐานในการสรรหาอาหาร น้ำ ยารักษาโรค และการศึกษาหมายความว่า คนโชคไม่ดีที่เกิดมานอกเขตอภิสิทธิ์ จึงมีโอกาสน้อยที่จะได้เปลี่ยนแปลงจุดยืนของตัวเองบนโลกใบนี้

ตามประวัติศาสตร์แล้ว อัฟกานิสถานเคยถูกรุกรานมาแล้วจากหลายชาติ นับตั้งแต่อาณาจักรกรีก ไปจนถึงมองโกล และก็มาถึงสหภาพโซเวียต ปฏิบัติการของนาโตที่มีสหรัฐเป็นแกนนำ เรียกได้ว่ากว่าครึ่งศตวรรษก็ว่าได้ โดยโซเวียตเข้ามาเมื่อปี 2522 ตาลีบันปี 2539 และกองกำลังพันธมิตรที่มีสหรัฐนำทีม ในปี 2544 และล่าสุดตาลีบันกลับเข้ามาอีก

การล่มสลายของรัฐบาลคาบูล เพราะถูกตาลีบันบุกเข้ามาครองอำนาจ กลายเป็นเรื่องด่วนสำหรับรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ของสหรัฐ ระหว่างการเยือนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซ ได้แก่สิงคโปร์กับเวียดนาม เพราะเธอต้องพยายามสร้างความเชื่อมั่นกลับคืนมาอีกครั้งให้กับพันธมิตรของสหรัฐ ในการแก้ปัญหาหลังสงครามสองทศวรรษ ในอัฟกานิสถาน ที่มีสหรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ได้จบลงแล้ว

ส่วนเฮติเคยอยู่ภายใต้การยึดครองของสหรัฐนานสองทศวรรษ ตั้งแต่ปี 2458 และสหรัฐก็หนุนหลังผู้นำเผด็จการมาตลอด รวมถึงตกอยู่ในภาวะยากจน ความวุ่นวายทางการเมือง และภัยธรรมชาติที่รุนแรงที่สุด คือแผ่นดินไหวเมื่อปี 2553 แต่เฮติก็ยังคงเผชิญภัยธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากพายุเฮอริเคนและแผ่นดินไหว ขณะที่อัฟกานิสถานในปี 2545 หลังเหตุการณ์11 ก.ย. 2544 ดูเหมือนว่าจะคุ้นชินกับยุคของสงครามการต่อสู้ในประเทศ จนคนที่นั่นอาจบอกได้ว่า จะตาลีบันหรือรัฐบาลใหม่ อะไรต่ออะไรก็ยังเหมือนเดิม

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : AP