Brain writes with white chalk is on hand, draw concept.

หากพูดถึง “ภาวะสมองเสื่อม” หลายๆ คนคงจะคิดว่าเมื่อแก่ตัวลง ทุกคนก็ต้องพบเจออย่างแน่นอน แต่เคยทาบบ้างหรือไม่ว่า.. หากเราไม่อยากเดินทางไปถึงจุดนั้น ที่สายเดินแก้ไขแล้ว เราสามารถชะลอได้ก่อนเกิด

โดยสัปดาห์นี้ Healthy Clean ขอพาไปพูดคุยกับ พญ.ชนิษฐา เทภาสิต อายุรแพทย์เฉพาะทางประสาทวิทยา ศูนย์หลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า หากมีพฤติกรรม บุคลิกภาพ อารมณ์ การเคลื่อนไหว และการตัดสินใจ การสื่อสาร ที่เปลี่ยนไปจากเดิม อาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า เป็นอาการของภาวะสมองเสื่อม ซึ่งจะส่งผลทำให้การทำงานของสมองแย่ลงและกระทบต่อชีวิตประจำวัน และภาวะนี้มักพบในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่

Elderly woman confronting alzheimer's disease

สำหรับสาเหตุของภาวะสมองเสื่อม แบ่งหลักๆ เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม 1
สมองเสื่อมจากสาเหตุที่แก้ไขได้ ซึ่งกลุ่มนี้หากตรวจพบเร็ว และแก้ไขอย่างทันท่วงที จะช่วยรักษา ป้องกันภาวะสมองเสื่อมที่จะตามมา
-การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน 1 หรือ บี 12 และโฟลิก (Folic acid)
-การติดเชื้อในสมอง หากมีการติดเชื้อในสมอง อาจก่อให้เกิดการอักเสบและทำให้เซลล์สมองบางส่วนตายไป
-เนื้องอกในสมอง โดยเฉพาะเนื้องอกที่เกิดบริเวณด้านหน้าของสมอง
-โพรงน้ำในสมองขยายตัวขึ้นจากน้ำเลี้ยงสมองคั่งจนเกิดการกดทับและทำลายเนื้อสมองได้
-ยาหรือสารพิษต่างๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง
กลุ่ม 2 สมองเสื่อมจากตัวความเสื่อมของสมองโดยตรง หรือ โรคอัลไซเมอร์ โดยเกิดจากสมองที่เสื่อม ฝ่อล้า ทำให้ความจำ ความคิดถดถอย

Free photo elderly man confronting alzheimer disease


โดยการป้องกันภาวะสมองเสื่อม บางสาเหตุยังไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด อาจชะลอความเสื่อมด้วยการออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนสูง การรักษาน้ำหนักตัวให้มีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติ การฝึกสมอง

ที่สำคัญคือการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อการหาสาเหตุตั้งแต่เนิ่นๆ สำหรับการวางแผนการรักษาอย่างทันท่วงทีอีกด้วยค่ะ..

………………………………………….
คอลัมน์ : Healthy Clean
โดย “พรรณรวี พิศาภาคย์”