ยังมีอีกกรณีน่าพิจารณา… ทั้งนี้ “หนักใจรู้สึกไม่มั่นคง” …นี่เป็น “เสียงสะท้อนแรงงานรุ่นใหม่ทั่วโลก” จากผลสำรวจที่มีการระบุไว้ในรายงาน “The Deloitte Global 2022 Gen Z and Millennial Survey : Striving of Balance, Advocating for Change” ซึ่งได้มีการสำรวจ “ความคิดเห็นของคนวัยทำงาน” ที่เป็นคนกลุ่ม “Generation Y” และ “Generation Z” ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่ง “รวมถึงคนไทย” ด้วย เพื่อค้นหา “มุมมอง-ทัศนคติ” ของคนกลุ่มนี้ที่มีต่อการทำงาน และมุมมองที่มีต่อโลกในมิติต่าง ๆ ซึ่งแรงงาน Gen Y และ Z ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยนั้น ต่างสะท้อนความรู้สึกไว้ใกล้เคียงกัน นั่นคือ… ท่ามกลางโลกยุคนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว…

ทำให้ชีวิตแรงงานวัยนี้ ยิ่งมีแรงกดดัน”

ปัจจัยสำคัญคือ… แรงกดดันทางสังคม”

ทั้งนี้ รายงานฉบับนี้จัดทำโดย “ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง” ที่ได้มีการเผยผลสำรวจไว้เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลังจากทำการสำรวจความคิดเห็นของ “แรงงานคนรุ่นใหม่” โดยเฉพาะ กลุ่มคน Gen Y และ Z ซึ่งกรณีนี้ได้ทำให้ค้นพบข้อมูลและประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจในเรื่องเกี่ยวกับ “ทัศนคติ-มุมมอง” ที่คนกลุ่มนี้มีต่อ “โลกยุคใหม่” ซึ่งต้องใช้ชีวิต ดำเนินชีวิต และทำงานอยู่

ในรายงานชิ้นนี้ได้เกริ่นถึง “วัตถุประสงค์” ของการสำรวจครั้งนี้ว่า… ขณะนี้องค์กรต่าง ๆ และสังคมทั่วโลกนั้นกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับ “ช่องว่างระหว่างวัย” เกิดขึ้น โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแค่เรื่องของชีวิต แต่ยัง รวมไปถึง โลกของการทำงาน” ด้วย ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเพื่อหาวิธีที่จะ “ปรับตัวต่อสถานการณ์” นี้ โดยผลสำรวจที่ได้มีการสำรวจแรงงาน วัยทำงาน Gen Y และ Gen Z นั้น ได้ค้นพบ “4 ประเด็นที่สำคัญ” กล่าวคือ…

ประเด็นแรก ผลสำรวจพบว่า… คนวัยทำงานรุ่นใหม่ส่วนใหญ่รู้สึกว่าชีวิตจะต้องดิ้นรนกับค่าครองชีพมากขึ้น และ มีความวิตกกังวลมากเป็นพิเศษในเรื่องของการเงิน โดยกลุ่มตัวอย่าง 36% ของคน Gen Y และ 29% ของคน Gen Z นั้น ต่างระบุตรงกันว่า… ปัญหาที่รู้สึกเป็นห่วงมากที่สุดคือค่าครองชีพ ได้แก่ ค่าที่อยู่ ค่าเดินทาง เป็นต้น โดยมองว่าปัญหานี้เกิดขึ้นจาก ภาวะเงินเฟ้อ และ ความไม่เท่าเทียมกันทางฐานะ ซึ่งกับกลุ่มตัวอย่างคนทำงานชาวไทย Gen Y นั้นมีความคิดเห็นสอดคล้องกับคนวัยเดียวกันทั่วโลก ในขณะที่ คนไทยวัย Gen Z จะห่วงเรื่องการไม่มีงานทำ มากกว่า

นี่เป็นสิ่งที่แรงงานรุ่นใหม่สะท้อนไว้

ในประเด็น ความวิตกกังวลในชีวิต”

นอกจากนี้ ในรายงานฉบับนี้ยังได้เผยถึงผลสำรวจที่น่าสนใจอีกว่า… เกือบครึ่งหนึ่ง ของแรงงานที่เป็นคน Gen Y หรือราว 47% และอีก 46% ที่เป็นแรงงาน Gen Z นั้น สะท้อนตรงกันว่า…ส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน ภายใต้ความกังวลว่าจะไม่มีเงินไปจ่ายบิลต่าง ๆ ซึ่งหัวข้อนี้ คำตอบของคนไทย Gen Y และ Gen Z มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าทั่วโลก ซึ่งผลสำรวจนี้สะท้อนชัดเจนว่า “คนรุ่นใหม่กังวลใจเกี่ยวกับช่องว่างรายได้ที่เหลื่อมล้ำ” ทำให้ “หาทางออกให้ชีวิตด้วยการทำงานเสริม-อาชีพเสริม” หรือ “ย้ายไปอยู่เมืองที่ค่าครองชีพต่ำ” ด้วยการทำงานแบบทางไกล (Remote Work)

ส่วนประเด็นที่สอง คือเรื่อง “สัญญาณในการทำงาน” ที่ 40% ของแรงงานกลุ่ม Gen Z ทั่วโลก คิดวางแผนที่จะออกจากการทำงานใน 2 ปี ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่ากลุ่ม Gen Y และที่น่าตกใจคือ ราว 1 ใน 3 อาจลาออกโดยไม่ได้มีงานอื่นรองรับ ซึ่งเรื่องนี้สะท้อน
ถึง “ความไม่พึงพอใจในงานที่ทำอยู่” โดยที่ มีคนไทยถึง 2 ใน 3 ที่ให้คำตอบลักษณะเช่นนี้!! …และนอกจากนี้ ส่วนใหญ่ระบุว่า… ต้องการงานที่มีความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตที่ดี ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง 75% ต้องการทำงานแบบ Remote work ขณะที่อีก 45% ของ Gen Y และ 49% ของ Gen Z ระบุว่า… ต้องการรูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่น

นี่เป็น “รูปแบบงานที่คนรุ่นใหม่ต้องการ”

ขณะที่ประเด็นที่สาม เป็นหัวข้อ “ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม” กรณีนี้เป็นเรื่องที่คนทำงานรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญสูง โดย 64% ของคน Gen Z ยอมจ่ายแพงขึ้นเพื่อซื้อสินค้าที่ส่งผลต่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม และต้องการเห็นนายจ้างให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้านสภาพอากาศที่เป็นรูปธรรม โดยมองว่า…นายจ้างเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมได้โดยตรง อย่างไรก็ตาม มี Gen Y แค่ 16% และ Gen Z เพียง 18% ที่เชื่อว่านายจ้างมีความมุ่งมั่นต่อเรื่องนี้??

และประเด็นสุดท้าย เป็นประเด็น “สุขภาพจิตในที่ทำงาน” ที่พบว่า…กลุ่ม Gen Z รู้สึกมีความเครียดและวิตกกังวลมากขึ้น มากกว่ากลุ่ม Gen Y ในขณะที่เรื่อง “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” นั้น พบว่า…ก็เกิดขึ้นได้บ่อยมากในคนรุ่นใหม่ทั้งสองกลุ่ม คือทั้งแรงงานกลุ่ม Gen Y และกลุ่ม Gen Z …ทั้งนี้ เหล่านี้ก็เป็นข้อมูลโดยสังเขปจากผลสำรวจในปีที่ผ่านมา ที่ได้มีการสำรวจ “ทัศนคติและมุมมองของแรงงานรุ่นใหม่” ที่ไม่เพียงสะท้อน “วิธีคิดของแรงงานรุ่นใหม่” แต่ยังฉายภาพ “ปัจจัยสำคัญ” ที่ทำให้’คนรุ่นใหม่“ มีมุมมองที่เปลี่ยนไป ในเรื่องเกี่ยวกับ สภาพการทำงานในยุคปัจจุบัน

แรงกดดัน” นั้น นับวันถาโถมมากขึ้น”

กังวลรายได้” นี่ ที่ไทยดูจะยิ่งมาแรง”

ค่าแรงขั้นต่ำ 600″ ก็…ยังอีกไกล??”.