โค้งแรกผ่านไปแล้วสำหรับศึกฟาดแข้ง “ฟุตบอลโลก 2022” ตอนนี้ก็รู้กันแล้วว่าทีมเต็งที่มีโอกาสสูงที่จะคว้าชัยในสายตาเซียนนั้นทีมใดฝีเท้าเข้าเป้า?…หรือทีมใดต้องเก็บกระเป๋ากลับบ้านก่อนอย่างพลิกล็อก?… ซึ่งมหกรรมฟุตบอลระดับโลกหนนี้…ท่ามกลางเกมแข่งขันที่เข้มข้นก็มี “ดราม่าร้อน” เกิดขึ้นหลายกรณี เช่นกรณีที่มีที่มาจาก “ปลอกแขน-ท่าทาง” ที่นักเตะของหลาย ๆ ทีมได้ใช้ “แสดงออกเชิงสัญลักษณ์” และเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เซ็งแซ่!! โดยมีทั้งฝั่ง “สนับสนุน-ไม่สนับสนุน” รวมถึงมีการ “ใช้รูปภาพ” เป็น “สัญลักษณ์ตอบโต้” กันไปมา …ซึ่งศึกฟุตบอลโลกครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่…

“สัญลักษณ์” ถูกนำมาใช้ “แสดงออก”
เพื่อ “สะท้อนถึงความคิด-ความรู้สึก”
ซึ่ง... “ดราม่าแนวนี้…ในไทยก็ใช่ย่อย!!”

ทั้งนี้ กับเรื่อง “การใช้สัญลักษณ์” ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์ จะสะท้อนต่อข้อมูลในวันนี้ ยุคนี้ถือเป็น “รูปแบบการแสดงออกสากล ก็ว่าได้ โดยเฉพาะการใช้ “แสดงออกทางความคิดเห็น” ตลอดจน “ความรู้สึก” ในเวลานั้น ๆ หรือต่อสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งสำหรับแง่มุมทางวิชาการ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน คือ ผศ.ดร.บุปผา บุญสมสุข หัวหน้าสาขาวิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เคยวิเคราะห์และสะท้อนไว้ถึง “การใช้สัญลักษณ์ในมุมการสื่อสาร-ความสำาคัญของสัญลักษณ์” ว่า… สัญลักษณ์ไม่ได้ถูกนำามาใช้ในเรื่องการเมืองอย่างเดียว เรื่องอื่น ๆ ก็มีการนำมาใช้เช่นกัน

และเกี่ยวกับคำาอธิบายเรื่องนี้ ทาง ผศ.ดร.บุปผา เคยระบุไว้ว่า… ในการออกมาขับเคลื่อน หรือเรียกร้องต่าง ๆ นั้น มักจะมีการ สร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาเพื่อใช้สื่อความหมาย โดยที่เป็น “เครื่องมือสื่อสารที่ทรงพลัง” ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้นั้น ใช้ได้ทั้งที่เป็น “นามธรรม-รูปธรรม” หรือจะใช้ “สีสัน-วัตถุ-ตัวอักษร” แทนค่าก็ได้ ทั้งนี้ นักวิชาการท่านนี้ยังได้แจกแจงไว้อีกว่า… “สัญลักษณ์” ที่ถูกนำมาใช้นั้นมักจะถูกเรียกว่า… “โค้ด (CODE)” ที่ ถูกสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะสื่อสาร หรือ เพื่อสื่อความหมาย รวมถึง เพื่อให้เกิดความรู้สึกคล้อยตามความหมายที่ถูกใส่เข้าไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว…

“สัญลักษณ์” เป็นสิ่งไม่มี “ความหมาย”
หากแต่ “มนุษย์เป็นผู้สร้าง-กำาหนดขึ้น”

ทางนักวิชาการด้านการสื่อสารยังระบุไว้ต่อไปว่า… ทุกคนสามารถจะใช้สัญลักษณ์ในเชิงสร้างสรรค์ได้ ซึ่งสัญลักษณ์ไม่มีชีวิตไม่มีตัวตน และไม่มีความหมาย ดังนั้น ถ้าต้องการใช้สัญลักษณ์เชิงสร้างสรรค์ก็ต้องใส่ความหมายที่สร้างสรรค์เข้าไปในนั้น โดยที่ทุกคนต้องเข้าใจความหมายไปในทิศทางเดียวกัน แล้วสัญลักษณ์ก็จะแสดงออกมาถึงความคิดในการขับเคลื่อน…

นี่คือ “มุมการสื่อสาร” กรณี “สัญลักษณ์”
ขณะที่ “สัญลักษณ์ในทางจิตวิทยา” กับมุมนี้ก็เคยมีการวิเคราะห์และสะท้อนผ่าน “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ไว้น่าสนใจ โดย นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์ชื่อดัง สะท้อนถึง “สัญลักษณ์กับอารมณ์สังคม” ไว้ว่า… จริง ๆ มนุษย์ใกล้ชิดผูกพันกับสัญลักษณ์มานานมากแล้ว ทั้งแบบรู้ตัว-ไม่รู้ตัว โดยการใช้รูปภาพ หรือการคิดค้น “สัญลักษณ์” ขึ้นมานั้น มีวัตถุประสงค์ให้ “เป็นตัวแทน” เพื่อสื่อสารเกี่ยวกับข้อความ เรื่องราว หรือความหมายบางอย่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเวลาที่รวดเร็ว

นี่เป็น “วัตถุประสงค์การใช้สัญลักษณ์”
ทาง นพ.อภิชาติ ผู้สันทัดกรณีด้านจิตวิทยา ระบุไว้อีกว่า…ประโยชน์ของสัญลักษณ์มีมากมายหลายด้าน อาทิ โลโก้สินค้าเครื่องหมายจราจร นี่ก็เป็นการใช้สัญลักษณ์รูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการใช้เพื่อให้คนสามารถจดจำได้ในเวลาที่รวดเร็ว และเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อสารได้ถูกต้อง-เข้าใจตรงกัน เนื่องเพราะเครื่องหมายภาพและสัญลักษณ์ กลไกทางสมองของมนุษย์สามารถจดจำได้ดี มากกว่าการใช้ข้อความหรือใช้ตัวอักษร ซึ่งในบางครั้งการใช้ตัวอักษรหรือใช้ข้อความนั้นอาจจะยิ่งทำให้เกิดความสับสน หรือไม่เข้าใจความหมายได้ในบางครั้ง ดังนั้น การใช้ “สัญลักษณ์” เป็นภาพจึงมีประโยชน์ในเรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม นอกจากเชิงบวก…สัญลักษณ์ยังมี “อิทธิพลเชิงลบ” ได้ด้วย ซึ่งกับการ “นำาสัญลักษณ์มาใช้ในเชิงลบ” ก็อย่างเช่นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับ สงคราม เหยียดเชื้อชาติ เหยียดสีผิว ที่การใช้สัญลักษณ์ในเชิงนี้มักจะ มีอิทธิพลสูงต่ออารมณ์ร่วมของผู้คนในเวลาอันรวดเร็ว โดยเมื่อมีการปรากฏขึ้นในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม หรือในจังหวะเวลาที่ไม่เหมาะสม ก็มักทำาให้ผู้คน สังคม “เกิดอารมณ์โกรธร่วม ได้ง่าย ๆ ในเวลารวดเร็ว เนื่องจากผู้คนมี “ความรู้สึกลบ” อยู่ก่อน

ผู้สันทัดกรณีด้านจิตวิทยายังระบุไว้ด้วยว่า… แต่ บางครั้ง “สัญลักษณ์ที่ดูน่ากลัว” ก็กลับไม่ได้ส่งผลให้ผู้คนเกิดอารมณ์หรือความรู้สึกที่ไม่ดี ต่อสัญลักษณ์นั้น เช่น สัญลักษณ์ กะโหลกไขว้ ที่แม้จะดูน่ากลัว แต่บางทีก็กลับไม่ได้สื่อสารถึงเรื่องเชิงลบ เพราะอาจเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะเตือนให้คนระวังเมื่อพบเห็นสัญลักษณ์ดังกล่าวมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมเรื่อง “อิทธิพลสัญลักษณ์ นั้น ปัจจัยที่จะทำาให้อารมณ์คน-อารมณ์สังคม เป็นไปในทางร้ายหรือทางดีก็ขึ้นอยู่กับความหมายที่สัญลักษณ์นั้นต้องการสื่อสารเป็นหลัก?? …เหล่านี้เป็นมุมสะท้อน “สัญลักษณ์”

“ดราม่าสัญลักษณ์” มีเกิดกับทุกแวดวง
“มองลบ-มองบวก” ก็ “แล้วแต่ผู้มอง?”
“รวมถึงดราม่าสัญลักษณ์ในบอลโลก”