ความผิดปกติของเลือด โรคที่เกี่ยวข้องกับเลือดอาจนำไปสู่ภาวะองคชาตแข็งค้าง โดยปกติแล้ว จะทำให้เกิดภาวะองคชาตแข็งค้างชนิดขาดเลือด เมื่อเลือดไม่สามารถไหลออกจากองคชาตได้ ความผิดปกติเหล่านี้รวมถึง โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเลือดอื่น ๆ เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (thalassemia) และโรคมัลติเพิลมัยอีโลม่า (Multiple Myeloma)

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรมระดับยีน ทำให้การสร้างฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ถูกทำลายง่าย โรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยพ่อหรือแม่สามารถส่งต่อพันธุกรรมนี้มายังลูก

โรคเอ็ม เอ็ม นั้นมีชื่อเต็ม ๆ ว่า โรคมัลติเพิลมัยอีโลม่า โรคนี้เป็น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิดพลาสมาเซลล์ ซึ่งตามปกติพลาสมาเซลล์นี้ มีหน้าที่ในการสร้างแอนติบอดีในการป้องกันเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อเซลล์นี้กลายเป็นมะเร็งจะมีการเพิ่มจำนวนอย่างมากมายในไขกระดูก การวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องกันมากที่สุดในเด็กคือโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

ยารับประทานที่อาจทำให้เกิดภาวะองคชาตแข็งค้าง ภาวะองคชาตแข็งค้าง มักเป็นชนิดขาดเลือด เป็นผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ของยาหลายชนิด ได้แก่ ยาที่ฉีดเข้าไปในองคชาตโดยตรงเพื่อรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เช่น ยาอัลพรอสตาดิล (Alprostadil) เป็นยาที่มีคุณสมบัติทำให้กล้ามเนื้อบริเวณองคชาตคลายตัวและช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดในบริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้น ทางคลินิกจึงใช้ยาอัลพรอสตาดิลเป็นยารักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ยากล่อมประสาท เช่น ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) เป็นยาต้านซึมเศร้าในกลุ่มออกฤทธิ์เพิ่มปริมาณของสารเซโรโทนินในสมอง จึงช่วยปรับสมดุลของสารเคมีในสมองและรักษาอาการที่เกิดจากภาวะซึมเศร้า โรคตื่นตระหนก (Panick Attacks) โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวอ้วนบูลิเมีย และกลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือน

กลุ่มยาแอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha-blockers) เป็นกลุ่มยาที่นำมารักษาอาการโรคความดันโลหิตสูง หรือภาวะต่อมลูกหมากโต ยาที่ใช้รักษาอาการวิตกกังวล หรือโรคจิต ฮอร์โมน เช่น ยาเทสโทสเตอโรน

—————————-
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล