โดยมีโบราณสถานจำนวนมากอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงจากการเผชิญพายุฝนและน้ำท่วม อย่างในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ก็ได้เกิดกรณี “เจดีย์เก่าแก่พังทลาย!!” เป็นภาพที่ทำให้ผู้คนทั้งรู้สึกตกใจและเศร้าสลดใจ และก็ทำให้หลายคนหลายฝ่ายรู้สึกเป็นห่วงและรู้สึกกังวลกับ “โบราณสถาน” ในไทยในพื้นที่ต่าง ๆ…

ในหลายพื้นที่  เสี่ยงเสียหายพัง!!”

“เพราะภัยน้ำ” ภัยพิบัติ-ภัยธรรมชาติ

โดย ไทยจำเป็นต้องปรับแผนรับมือ”

และเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในการ “ปกป้อง-ป้องกัน” เพื่อไม่ให้ “โบราณสถาน” เสียหายจากภัยธรรมชาตินั้น วันนี้ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ก็มีข้อมูลมาสะท้อนต่อ…ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการจัดงานเสวนาหัวข้อ “การรับมือภัยพิบัติเพื่ออนุรักษ์โบราณสถาน ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถจะใช้เพื่ออนุรักษ์โบราณสถาน ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มความเสียหายของโบราณสถานในไทย…

ทั้งนี้ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผอ.สกสว. ประธานงานเสวนาดังกล่าว สะท้อนถึงเรื่องนี้ไว้บนเวทีว่า…หลังการทรุดตัวของเจดีย์วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้อง “ถอดบทเรียน” การบริหารจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะภัยที่อาจ “กระทบต่อโบราณสถาน” ซึ่งก็เป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่ควรจะต้องถูกบรรจุไว้ใน “แผนงานปรับตัวเพื่อรองรับภัยพิบัติ” โดยเฉพาะการ วางแผนอนุรักษ์และบำรุงรักษาโบราณสถานที่มีผลกระทบตามความสำคัญเร่งด่วน เพื่อให้เกิดการเตรียมองค์ความรู้และข้อมูลในการวางแผนต่อกรณีนี้

เพื่อยกระดับแผนบริหารจัดการภัย”

“ควบคู่กับมีแผนอนุรักษ์โบราณสถาน”

ทางด้าน ทินกร ทาทอง ผอ.กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณีวิทยา ได้เผยไว้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังสถานการณ์ดินถล่มในพื้นที่ภาคเหนือว่า…ในส่วนของ จ.เชียงใหม่ มีพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มอยู่หลายแห่ง ซึ่งทางกรมฯ ก็ได้มีการจัดทำ “แผนที่ชี้เป้าเสี่ยงภัย” ขึ้นมา เพื่อที่จะสร้างการรับรู้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ให้มีเวลาในการเตรียมตัวหลีกเลี่ยงภัย ให้หลีกเลี่ยงภัยเมื่อมีสิ่งบอกเหตุเกิดขึ้น โดยแผนที่นี้ไม่เพียงช่วยให้การจัดทำแผนอพยพคนมีประสิทธิภาพมากขึ้น…ยังสามารถใช้ในการช่วย “ป้องกันความเสี่ยงให้โบราณสถาน” ได้ด้วย เพื่อการป้องกันไม่ให้โบราณสถานเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหาย…

ดังเช่นที่เพิ่งเกิดกับเจดีย์เก่าแก่ที่พังทลาย!!

และบนเวทีเดียวกันนี้ ศ.ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ก็ได้ร่วมสะท้อนไว้ว่า… ไทยจำเป็นจะต้องมีบันทึกข้อมูลที่ถูกต้องทั้งในอดีตและปัจจุบันเกี่ยวกับร่องรอยการชำรุดทรุดโทรมของโบราณสถาน รวมถึงต้องมีทีมงานติดตามผลต่อเนื่อง เพื่อบำรุงรักษาโบราณสถานในส่วนที่ยังมีสภาพดีอยู่ อย่างไรก็ตาม ทาง ศ.ดร.นคร ย้ำว่า…แต่การจะอนุรักษ์โบราณสถานนั้น สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือ การอนุรักษ์โบราณสถานจะต้องมีเจ้าของที่มีความรับผิดชอบเต็มเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนแผนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์โบราณสถานจึงจะประสบความสำเร็จ

เป็นการบ่งชี้กรณี “อนุรักษ์โบราณสถาน”

ที่ในหลายพื้นที่ก็ “มีล็อก” ที่ “ต้องปลด!!”

ส่วนในเรื่องของการ “นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อปกป้องโบราณสถานจากภัยพิบัติ” นั้น ทาง ผศ.ดร.กฤษฎา ไชยสาร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. ระบุไว้ว่า…ขณะนี้มีการ ใช้ “โดรน” เก็บข้อมูล และสร้าง “โมเดล 3 มิติ” สร้างแผนภาพพื้นผิวความละเอียดสูงไว้เพื่อใช้ตรวจสอบความเสียหายหรือเฝ้าระวังได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง นำ “ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)” มาใช้ตรวจจับรอยร้าว และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แบบอัตโนมัติ โดยจะตรวจสอบได้ถูกต้องและแม่นยำสูงกว่าร้อยละ 90 ซึ่งก็สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้วางแผนหรือประเมินราคาวัสดุที่ต้องใช้ในการบูรณะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ประหยัดแรงงานคนและค่าใช้จ่าย …นี่เป็น “ข้อดี” ในการ “ใช้เทคโนโลยีช่วยดูแลโบราณสถาน”

ทั้งนี้ ในช่วงท้ายของงานเสวนาดังกล่าวนี้ ทาง รศ.ดร.ปัทมาวดี ผอ.สกสว. ย้ำไว้ว่า… เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญและควรต้องผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติโดยต้องร่วมมือกันทั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กรมศิลปากร และกรมทรัพยากรธรณี เพื่อ ขับเคลื่อนให้แผนป้องกันความเสียหายให้กับโบราณสถาน” นี้เกิดขึ้น ซึ่งเวทีเสวนานี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ก็มีสิ่งที่ต้องทำต่อไป นั่นคือดึงให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันยกร่างแผนดังกล่าวนี้ ซึ่งนี่ไม่เพียงช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลในการดำเนินงานอนุรักษ์เท่านั้น… กับ “ข้อมูลที่จะเกิดขึ้น” นั้น…

ในอีกด้านก็ยัง สามารถใช้สร้างสตอรี่”

ที่จะ เป็นจุดขาย” ของ โบราณสถาน”

“สร้างประโยชน์เศรษฐกิจให้ชุมชนได้”.