ปลายปีนี้ อินโดนีเซียจะรับตำแหน่งประธานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ต่อจากกัมพูชา เช่นเดียวกับการสิ้นสุดตำแหน่งประธานกลุ่มประเทศทเศรษฐกิจขนาดใหญ่ (จี20) รื้อฟื้นการถกเถียงที่เคยเกิดขึ้น เมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด รับตำแหน่งผู้นำอินโดนีเซียสมัยแรก เมื่อปี 2557 ว่า อินโดนีเซียจะลดบทบาทเรื่องอาเซียน เพื่อสนับสนุนบทบาทการทูตพหุภาคีนอกภูมิภาคให้มากขึ้นหรือไม่

เรื่องนี้สรุปได้ดีที่สุดผ่านของวาทกรรม “หลังอาเซียน” ในยุครัฐบาลอินโดนีเซียของประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน นายริซาล สุกมา หนึ่งในนักวิชาการด้านนโยบายต่างประเทศ ซึ่งชื่อเสียงมากที่สุดของอินโดนีเซีย อธิบายว่า จะเป็นการจากการเลิกมองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าเป็น “รากฐานสำคัญเพียงหนึ่งเดียวของนโยบายต่างประเทศของอินโดนีเซีย” เขาสนับสนุนให้อินโดนีเซียประเมินความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของอาเซียนอีกครั้ง และเพิ่มความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดกลุ่มระหว่างประเทศ แต่สิ่งนี้ได้สร้างคำถามเกี่ยวกับขอบเขตที่อินโดนีเซียมุ่งมั่นเป็นผู้นำในอาเซียน ตลอดจนการรับรู้ถึงความเป็นผู้นำภายในภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม การเป็นประธานอาเซียนของอินโดนีเซียที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง เป็นการมอบโอกาสที่สำคัญและน่าสนใจในการสะท้อนให้เห็นว่า อินโดนีเซียจะรักษาอำนาจในอาเซียนไว้ได้หรือไม่ และในระดับใด บรรยากาศล่าสุดบ่งชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงเชิงวาทศิลป์เป็นการกล่าวเกินจริง ต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิวัติในการทูตของอินโดนีเซีย ซึ่งมันแสดงให้เห็นว่า อาเซียนอาจยังคงเป็นเสาหลักของนโยบายต่างประเทศของอินโดนีเซียเหมือนเดิม

แม้ว่าความสำเร็จมากมายของอินโดนีเซียจะเกิดขึ้นได้ จากการที่อาเซียนเป็นรากฐานสำคัญของนโยบายต่างประเทศของอินโดนีเซีย แต่ในทางกลับกัน นโยบายต่างประเทศหลังอาเซียน ควบคู่กับการเน้นย้ำความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี และอัตลักษณ์ทางทะเลของอินโดนีเซีย ช่วยลดความเป็นผู้นำของอินโดนีเซียในอาเซียน และแสดงถึงความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากบทบาทเชิงรุกก่อนหน้านี้

ในด้านนโยบายต่างประเทศ การเป็นประธานาธิบดีของวิโดโดเริ่มต้นด้วยสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อแนวทางการทูตของอินโดนีเซีย ซึ่งเริ่มจากการจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั่วทั้งหมู่เกาะ เพื่อทำให้อินโดนีเซียเข้าใกล้จีนมากขึ้น สอดคล้องกับ “แผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (บีอาร์ไอ) ในระยะหลัง

แม้ความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีของอินโดนีเซียจะสอดคล้องกับการบรรยายทางการทูตแบบ “ตรงไปตรงมา” ผ่านการสื่อสารกัน อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมระดับพหุภาคีของอินโดนีเซียชี้ให้เห็นว่า ประเทศบ่ายเบนเป็นส่วนมาก จากการคาดการณ์ล่วงหน้าว่ามันจะลดระดับความสำคัญของอาเซียน และเป็นการพยายามเพิ่มสถานะของตนเองในการประชุมระหว่างประเทศอื่น ๆ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ดูเหมือนว่าอาเซียนจะยังคงครองตำแหน่งศูนย์กลางการดำเนินกลยุทธ์ระดับพหุภาคีของอินโดนีเซีย ดังนั้นความสนใจจึงมุ่งไปที่การเป็นประธานกลุ่มอาเซียนของอินโดนีเซียในปี 2566 จะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า รัฐบาลของวิโดโดจะทอดทิ้งอาเซียน และลดระดับความสำคัญของอาเซียนในนโยบายต่างประเทศหรือไม่.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES