@@@@ เมื่อวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2565 กรมอุตุนิยมวิทยา Bureau of Meteorology (BoM) ได้เผยแพร่ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับความเสี่ยงจากน้ำท่วมที่ยังคงดำเนินต่อไปในรัฐนิวเซาท์เวลส์และทางตอนใต้ของรัฐควีนส์แลนด์หลังจากฝนตกและพายุฝนฟ้าคะนองติดต่อกันหลายวัน อาจส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันให้ประชาชนติดตามฟังข่าวสาร ในพื้นที่เสี่ยงเตือนประชาชนหรือผู้ขับรถโดยสารอย่าสุ่มเสี่ยง นอกจากจะเกิดอันตรายแก่ผู้โดยสาร ยังจะมีผลกระทบต่อการเสี่ยงชีวิตของเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่เกี่ยวข้องด้วย นาย Dean Narromore สำนักอุตุนิยมวิทยา (BOM) กล่าวว่า “อุทกภัยมีแนวโน้มที่จะพัฒนาในอีกไม่กี่วันข้างหน้าและในช่วงสุดสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกเป็นวงกว้างมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่น้ำท่วมอย่างกว้างขวางในรัฐนิวเซาท์เวลส์ อาจตกในพื้นที่กว้างในช่วงสองสามวันข้างหน้าและสูงถึง 150 มม. ในน้ำท่วมในท้องถิ่นบางแห่ง” นักอุตุนิยมวิทยาสภาพอากาศ Alison Osborne กล่าวว่า 60-80 มม. ฝนและพายุฝนฟ้าคะนองกำลังเคลื่นดัวปกคลุมทั่วทั้งรัฐนิวเซาท์เวลส์และทางตอนใต้ของรัฐควีนส์แลนด์ ส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงหนัก เขตต่างๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะมีฝนตกมากที่สุดในนิวเซาท์เวลส์ในวันนี้ ได้แก่ Southern Tablelands, Central Tablelands, Central West Slopes and Plains, Northwest Slopes and Plains และพื้นที่ชายฝั่งระหว่าง Ulladulla และ Newcastle ในรัฐควีนส์แลนด์ คาดว่าจะมีฝนตกมากที่สุดในเขต Maranoa และ Warrego, Darling Downs และ Central West

BoM กล่าวว่าในขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มขึ้นจะมี “ความเสี่ยงที่สำคัญ” ของน้ำท่วมใน NSW น้ำท่วมใหญ่เกิดขึ้นที่แม่น้ำ Macquarie และ Lachlan แล้ว มีการส่งออกหน่วยเฝ้าระวังน้ำท่วมจำนวนมากสำหรับการเกิดน้ำท่วมซ้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตอนกลางและตอนกลางของนิวเซาท์เวลส์ รวมถึงน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่กักเก็บน้ำดังต่อไปนี้: แม่น้ำ Gwydir River, Namoi River, Macquarie, Belubula River, Mandagery Creek, แม่น้ำโบกัน แม่น้ำลัคลัน, Wollombi Brook, แม่น้ำ Lower Hunter, แม่น้ำ Colo มีแหล่งกักเก็บน้ำอีกหลายแหล่งสำหรับพื้นที่น้ำท่วมเล็กน้อยถึงปานกลาง รวมถึงระบบแม่น้ำฮอว์คสเบอรี-เนเปียน Hawkesbury-Nepean river system คาดว่าฝนจะคลี่คลายลงอย่างมากในบ่ายวันอาทิตย์ ก่อนเคลื่อนตัวออกนอกชายฝั่งในเย็นวันอาทิตย์

คาร์ลีน ยอร์ค กรรมาธิการบริการฉุกเฉินของรัฐนิวเซาท์เวลส์ New South Wales State Emergency Services Commissioner กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยควรเตรียมพร้อมที่จะอพยพออกจากบ้าน “เราจะพยายามแจ้งให้คุณทราบให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เหตุการณ์พิเศษนี้ บนพื้นที่อิ่มตัว หมายความว่าสิ่งต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น อย่าคิดว่าคุณจะได้รับคำเตือนก่อน มันอาจจะเป็นคำสั่งอพยพเลยทีเดียวก็ได้”

กรมอุตุนิยมวิทยา Bureau of Meteorology (BoM) ออกเตือนหลังจากฝนตกและพายุฝนฟ้าคะนองติดต่อกันหลายวันตลอดสัปดาห์ อาจส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันให้ประชาชนติดตามฟังข่าวสารผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยควรเตรียมพร้อมที่จะอพยพออกจากบ้าน

@@@@ นายแอนโทนี อัลบาเนซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียทวีตข้อความแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์กราดยิงในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยระบุว่า “ข่าวอันน่าเศร้าสลดใจในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะทำใจได้ ชาวออสเตรเลียทุกคนขอแสดงความห่วงใยและความเศร้าเสียใจต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้” โฆษกของนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กล่าวว่า นายกูเตอร์เรสรู้สึกช็อกและเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อเหตุการณ์กราดยิงในประเทศไทย ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก นอกจากนี้ กองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ออกแถลงการณ์ประณามความรุนแรงทุกรูปแบบต่อเด็ก โดยระบุว่า เด็กไม่ควรตกเป็นเป้าหมายการโจมตี หรือถูกกระทำด้วยความรุนแรงไม่ว่าในสถานที่ใด หรือในเวลาใด ขณะเดียวกัน องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าวเช่นกัน และระบุว่า การโจมตีต่อโรงเรียน นักเรียน และครู ถือเป็นการโจมตีต่อสิทธิในการศึกษา ซึ่งไม่มีผู้ใดควรตกเป็นเป้าการโจมตี ทั้งนี้ เหตุการณ์กราดยิงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอุทัยสวรรค์ อบต.อุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 38 ราย “ท่านเลขาธิการฯ ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต และหวังว่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว” โฆษกยูเอ็นกล่าว

นายกรัฐมนตรีแอนโธนี อัลบานีส ทวีตข้อความแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์กราดยิงในจังหวัดหนองบัวลำภู องค์การยูเอ็น ยูนิเซฟ และยูเนสโก ออกแถลงการณ์ประณามเหตุกราดยิงในประเทศไทยและขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต

@@@@ การประชุม Track 1.5 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 21-22 กันยายน 2565 นายกิตติ วะสีนนท์ วุฒิสมาชิก และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยซึ่งประกอบด้วย นางบุษยา มาทแล็ง อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ  นางอรุณรุ่ง โพธ์ทอง ฮัมฟรีย์ส เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงและเจ้าหน้าที่อาวุโสไทยในกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง ผศ.ดร.อนุชา จินตกานนท์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง อดีตผู้แทนการค้าไทยและรองเลขาธิการสำนักงานเลขาธิการอาเซียน นายไพรัช บูรพชัยศรี รองประธานกรรมการหอการค้าไทย รศ.ดร.จิตติภัทร พูนขำ ผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรนานาชาติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน นายกวี จงกิจถาวร ผู้สื่อข่าวอาวุโส นางสาวนิภา นิรันดร์นุต รองอธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ นายธนชัช โพชนา ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท Enserv Holding ได้เดินทางเยือนออสเตรเลียเพื่อเข้าร่วมการเสวนา Dialogue to Strengthen the Relationship between Thailand and Australia (Track 1.5) ณ Crawford School of Public Policy, ANU และ Australia Institute of International Affairs กรุงแคนเบอร์รา

ทั้งนี้ นาย Allan Gyngell, National President of the Australian Institute of International Affairs หัวหน้าคณะฝ่ายออสเตรเลีย และคณะซึ่งประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชนและวิชาการ อาทิ นาย John McCarthy อดีตเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย นาง Michelle Chan รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย นาง Robyn Mudie อธิบดีกรม Southeast Asia Mainland and Regional Division กระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย นาย John Dore ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย นาย Chris Barnes ผู้อำนวยการนโยบายการค้าต่างประเทศ Australian Chamber of Commerce and Industry และผู้แทนภาควิชาการ อาทิ นาย Peter Warr อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ANU นาย John Blaxland อาจารย์ภาควิชาความมั่นคงระหว่างประเทศ ANU นาย Greg Raymond อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ANU นาย Simon Lacey อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแอดิเลด นางสาว Susannah Patton ผู้อำนวยการฝ่ายค้นคว้าวิจัย Lowy Institute นาง Melissa Conley Tyler ผู้อำนวยการสถาบัน AP4D นางสาว Hayley Channer นักวิจัย USAsia Centre นครเพิร์ธ เข้าร่วมการเสวนาด้วย

การเสวนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างภาคส่วนต่างๆ นอกเหนือจากภาครัฐเพื่อหารือและระดมสมองเพื่อหาแนวทางพัฒนาและยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ออสเตรเลียให้เข้มแข็งและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในบริบทของความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ไทย-ออสเตรเลียและในโอกาสครบรอบ 70 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปีนี้ ในการนี้ นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้เข้าร่วมเสวนาโดยได้กล่าวในหัวข้อสถานะความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ออสเตรเลียร่วมกับ นางสาว Angela Macdonald เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยพร้อมทั้งร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ในอนาคตโดยคำนึงถึงความร่วมมือภายใต้กรอบหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย-ออสเตรเลีย อาทิ การเพิ่มพูนการค้าการลงทุน การส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษา พลังงานสะอาด และการเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจดิจิทัล

นายกิตติ วะสีนนท์ วุฒิสมาชิก และหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้เดินทางเยือนออสเตรเลียเพื่อเข้าร่วมการประชุม Track 1.5 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 21-22 กันยายน 2565 ณ กรุงแคนเบอร์รา

@@@@ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 นายกิตติฯ และคณะได้เข้าร่วมการประชุมหารือเพิ่มเติมกับฝ่ายออสเตรเลีย ดังนี้ 1) นายกิตติฯ และคณะได้เข้าร่วมประชุมหารือ Roundtable กับผู้บริหารกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย ณ สถาบันฝึกอบรมทางการทูต กระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย โดยคณะได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงออสเตรเลียจากผู้บริหารกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียและส่วนราชการอื่นๆ อาทิ Department of Home Affairs และ Office of National Intelligence รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน 2) นายกิตติฯ นางบุษยาฯ และเอกอัครราชทูตบุษฎีฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย Tim Watts รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ณ รัฐสภาออสเตรเลีย โดยมีนาย Luke Gosling ประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-ออสเตรเลียเข้าร่วมการหารือด้วย โดยฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทราบถึงผลการเสวนา Dialogue to Strengthen the Relationship between Thailand and Australia และสถานะความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ออสเตรเลีย รวมทั้งศักยภาพในอนาคตซึ่งสอดรับกับการดำเนินการของภาครัฐ อาทิ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-ออสเตรเลีย และการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน 3) นาย David Van สมาชิกวุฒิสภาออสเตรเลียและอดีตประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-ออสเตรเลีย ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกิตติฯ โดยมีเอกอัครราชทูตบุษฎีฯ ร่วมด้วยโดยทั้งสองฝ่ายได้เน้นย้ำความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนซึ่งรัฐสภาเป็นกลไกสำคัญ ในการนี้ ฝ่ายไทยได้ย้ำถึงความสำคัญของการเข้าร่วมของสมาชิกรัฐสภาออสเตรเลียในการประชุม Asia-Pacific Parliamentary Forum ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพในเดือนตุลาคมศกนี้ด้วย นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 เอกอัครราชทูตบุษฎีฯ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะฝ่ายไทยที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตโดยมีหัวหน้าสำนักงานทีมประเทศไทยเข้าร่วมด้วยเพื่อรับทราบและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานะและอนาคตทางความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลียในด้านต่างๆ

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 นายกิตติฯ และคณะได้เข้าร่วมประชุมหารือ Roundtable กับผู้บริหารกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย และได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย Tim Watts รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ณ รัฐสภาออสเตรเลีย

@@@@ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้ยื่นพระราชสาส์นตราตั้งต่อ H.E. Sir David Vunagi, GCMG KStJ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งหมู่เกาะโซโลมอน ณ ทำเนียบผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ฯ กรุงโฮนีอารา หมู่เกาะโซโลมอน เพื่อดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำหมู่เกาะโซโลมอน โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรเลีย ภายหลังจากการยื่นพระราชสาส์น เอกอัครราชทูตฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือทวิภาคีกับ The Hon. Bradley Tovosia, MP, Acting Prime Minister and Minister for Mines, Energy and Rural Electrification และ The Hon. Fredrick Kologeto, MP, Supervising Minister for Foreign Affairs and External Trade and Minister for Commerce, Industry, Labour and Immigration โดยมีประเด็นหารือครอบคลุมความร่วมมือทวิภาคีในด้านต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือทางด้านวิชาการ การสนับสนุนทุนการศึกษาและฝึกอบรม การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ การประมงและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยนำ Bio-Circular-Green (BCG) Economic Model ของไทยมาปรับใช้ รวมทั้งความร่วมมือในระดับภูมิภาค และพหุภาคีผ่านกรอบการดำเนินงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ นอกจากนี้ ในช่วงค่ำของวันดังกล่าว เอกอัครราชทูตฯ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่ชุมชนคนไทยในกรุงโฮนีอารา และได้พูดคุยสอบถามถึงสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนคนไทยในหมู่เกาะโซโลมอน

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 เอกอัครราชทูตฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ Dr. Lachlan Strahan เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำหมู่เกาะโซโลมอนในฐานะคณบดีคณะทูต กรุงโฮนีอารา โดยได้หารือแลกเปลี่ยนในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างหมู่เกาะโซโลมอนกับออสเตรเลีย สถานการณ์การเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ ความร่วมมือของฝ่ายไทยที่ดำเนินกับหมู่เกาะโซโลมอน รวมทั้งความเป็นไปได้ในการดำเนินความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไตรภาคีระหว่างไทย-ออสเตรเลีย-หมู่เกาะโซโลมอน

เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้ยื่นพระราชสาส์นตราตั้งต่อ H.E. Sir David Vunagi, GCMG KStJ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งหมู่เกาะโซโลมอน ณ ทำเนียบผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ฯ กรุงโฮนีอารา หมู่เกาะโซโลมอน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565

@@@@ เมื่อวันที่ 23 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565 ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. พร้อมคณะ ได้เดินทางมาเยือนออสเตรเลียเพื่อเข้าร่วมการประชุมหารือระดับนโยบายและการศึกษาดูงานว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในฐานะที่ไทย-ออสเตรเลียเป็นประเทศพันธมิตรมายาวนาน และมีการประสานการทำงานในภาคส่วนต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด คณะได้เข้าเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายสรุปที่ศาลยาเสพติดรัฐนิวเซาท์เวลส์ พารามัตตา สำนักงานใหญ่ตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียประจำภูมิภาคตะวันออก (AFP Eastern Command) และสถาบันการจัดการตำรวจ โรงเรียนตำรวจแห่งออสเตรเลีย (Australian Institute of Police Management: AIPM) โดยในโอกาสนี้ นางหัทยา คูสกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ด้วย

ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ได้เดินทางมาเยือนออสเตรเลียเพื่อเข้าร่วมการประชุมหารือระดับนโยบายและการศึกษาดูงานว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ระหว่างวันที่ 23 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565

@@@@ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ พร้อมด้วยสมาคมนักธุรกิจและชุมชนไทยทาวน์ (Thai Town Business and Thai Community Association) ได้พบปะหารือกับนาย Alexander Greenwich สมาชิกสภานิติบัญญัตินิวเซาท์เวลส์ (ผู้แทนเขตซิดนีย์) ที่ร้าน Boon Café เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาพื้นที่ย่านไทยทาวน์ให้เป็นที่รู้จักและเป็นจุดหมายปลายทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ พร้อมด้วยสมาคมนักธุรกิจและชุมชนไทยทาวน์ (Thai Town Business and Thai Community Association) ได้พบปะหารือกับนาย Alexander Greenwich สมาชิกสภานิติบัญญัตินิวเซาท์เวลส์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565

ไตรภพ ซิดนีย์
[email protected]