พายุ “โนรู” เข้ามาป้วนเปี้ยนในภาคอีสานของประเทศ ไทย จึงมีฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน ทำให้พื้นที่ 38 จังหวัดได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม เมื่อมีน้ำท่วม มีความเสียหายเกิดขึ้น ก็ต้องมีการเยียวยา แล้วเวลานี้รัฐบาลจะเอาเงินจากไหนมาจ่ายเยียวยา? สุดท้ายต้องกู้! เห็นทำท่าจะกู้มาโปะงบประมาณปี 66 อีก 1.05 ล้านล้านบาท เรียกว่ากู้จนหนี้สาธารณะบวมขึ้นเรื่อย ๆ

พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำรัฐประหารเข้ามาบริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง 8 ปี มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แต่ไม่ได้มีแผนการบริหารจัดการน้ำอะไรอย่างยั่งยืนเลย ทั้งที่ใช้งบประมาณแก้น้ำท่วมภัยแล้ง ไปหลายแสนล้านบาท

ด่วน!!!ธันวาคมนี้หนาวแน่น ปชป. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จับมือ ประยุทธ์ !!!! -  Pantip

ทั้งที่ พล.อ.ประยุทธ์ มีประสบการณ์กับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 54 ซึ่งตอนนั้นเป็น ผบ.ทบ. ก็ไปเดินลุยน้ำกับผู้บังคับบัญชาเพื่อดูสภาพความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน

หลังน้ำท่วมปี 54 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คิดทำโครงการบริหารจัดการน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มูลค่า 3.5 แสนล้านบาท โดยเชิญนักวิชาการสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งบริษัทชั้นนำจากต่างประเทศ และฝ่ายการเมือง มาระดมสมองออกมาเป็นโครงการบริหารจัดการน้ำ 10 โมดูล โดยมี 6 กลุ่มบริษัท (จากทั้งหมด 8 กลุ่มบริษัท) ผ่านการคัดเลือกให้ยื่นเสนอกรอบแนวคิด เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย

สำหรับ 10 โมดูลที่ว่านั้น คือ

  • 1.สร้างอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมและยั่งยืน ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ยม น่าน สะแกกรัง และป่าสัก งบประมาณ 50,000 ล้านบาท 2.จัดทำผังการใช้ที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งการจัดทำพื้นที่ปิดล้อมพื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจหลัก ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา งบประมาณ 50,000 ล้านบาท
  1. ปรับปรุงพื้นที่เกษตรชลประทานในพื้นที่โครงการชลประทานเหนือ จ.นครสวรรค์ และเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเก็บกักน้ำหลากชั่วคราว งบประมาณ 60,000 ล้านบาท
  2. ปรับปรุงสภาพลำน้ำสายหลัก และคันริมแม่น้ำของแม่น้ำสายหลัก คือ ปิง วัง ยม น่าน เจ้าพระยา สะแกกรัง ป่าสัก ท่าจีน ฯลฯ งบประมาณ 7,000 ล้านบาท
  3. จัดทำทางน้ำหลาก (Floodway) ทางผันน้ำ (Flood diversion channel) ขนาดไม่น้อยกว่า 1,500 ลบ.ม./วินาที รวมทั้งจัดทำทางหลวงระดับประเทศไปพร้อม ๆ กัน งบประมาณ 120,000 ล้านบาท
  4. ปรับปรุงระบบคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์และเตือนภัยรวมทั้งการบริหารจัดการน้ำกรณีต่าง ๆ ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา งบประมาณ 3,000 ล้านบาท
  5. สร้างอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมและยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำ 17 ลุ่มน้ำ งบประมาณ 12,000 ล้านบาท
  6. จัดทำผังการใช้ที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งจัดทำพื้นที่ปิดล้อมพื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจหลัก ในพื้นที่ลุ่มน้ำ 17 ลุ่มน้ำ งบประมาณ 10,000 ล้านบาท
  7. ปรับปรุงสภาพลำน้ำสายหลัก และคันริมแม่น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ 17 ลุ่มน้ำ งบประมาณ 10,000 ล้านบาท
  8. ปรับปรุงระบบคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์และเตือนภัยรวมทั้งการบริหารจัดการน้ำกรณีต่าง ๆ พื้นที่ 17 ลุ่มน้ำ งบประมาณ
    2,000 ล้านบาท
เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำเพิ่ม เตือนท้ายเขื่อนเตรียมรับมือน้ำขึ้นอีก 25 ซม.

ถ้าพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลในสมัยหน้า คงปัดฝุ่นโครงการดังกล่าวมาทำต่อ แต่งบ 3.5 แสนล้านบาท ไม่พอแล้ว! เนื่องจาก “ค่าเสียเวลา” ช่วง 8-9 ปีที่ผ่าน คงเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว! เหมือนกรณีโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง จากปี 56-60 แพงขึ้นหลายหมื่นล้านบาท เนื่องจากเสียเวลาไปกับ “ถนนลูกรัง” แถมก่อสร้างล่าช้าอืดอาดเป็นเรือเกลือ!!

—————————-
พยัคฆ์น้อย