แล้วอะไรที่พาเรามาสู่พิพิธภัณฑ์บะหมี่ถ้วย แห่งเมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นได้ ซึ่งแน่นอนว่าสถานที่นี้มีอยู่จริง แล้วบะหมี่ถ้วยหรือจะเรียกกันติดปากว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของญี่ปุ่นนั้น ว่ากันว่ามีเรื่องเล่าให้พูดถึงกันอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ การเล่นเสียง และเปิดกว้างเพื่อปรับเปลี่ยนรสชาติ ให้ก้าวทันไปกับอิทธิพลจากต่างประเทศ จนช่วยให้ญี่ปุ่นฟื้นตัวกลับมาได้จากสงครามโลกครั้งที่สอง จนกลายเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และศาสตร์การทำอาหาร

แล้วช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นก็ได้ทำในสิ่งที่ไม่น่าจะทำได้ นั่นคือการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน โตเกียว 2020 ในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 มีนักกีฬามาร่วมแข่งขันกว่า 11,000 คนจากทั่วโลก บางคนก็นำไวรัสมาด้วย แต่ญี่ปุ่นได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเป็นเจ้าบ้านที่ดี และผ่อนปรนในหลายอย่าง จนสำเร็จได้ด้วยดี

ส่วนเรื่องของราเมน ถ้าเล่นคำแล้วมันก็เป็นประวัติศาสตร์ในถ้วยได้อย่างหนึ่งเลยทีเดียว เพราะญี่ปุ่นได้เส้นก้วยเตี๋ยวหรือเส้นบะหมี่มาจากจีนซึ่งเรียกว่า ลาเมี่ยน จากนั้นเชฟหรือพ่อครัวแม่ครัวของญี่ปุ่นก็ได้ยกระดับราเมนขึ้นมาเป็นศิลปะ ระเบิดตุ่มรับรสด้วยรสชาติ เนื้อสัมผัส และวัตถุดิบประกอบขึ้นมาเป็นบะหมี่รสเลิศ แล้วญี่ปุ่นยังรับอิทธิพลของต่างชาติมาปรับปรุงในอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือเครื่องใช้อื่น ๆ

Business Insider

ย้อนกลับมาที่บะหมี่ ซึ่งช่วงนั้นเกิดขาดแคลนอาหารในยุคหลังสงคราม อดีตพนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์ชื่อ โมโมฟูกุ เอนโด้ ได้แนวคิดด้วยการนำแป้งสาลีของอเมริกันจำนวนมากมาทำเป็นราเมน เพื่อให้คนผู้หิวโหยได้บริโภค เพียงเติมน้ำร้อนลงไป และรอเพียงไม่กี่นาที

ความคิดอันบรรเจิดของเขาเกิดขึ้น ในช่วงที่เห็นภรรยากำลังทอดเทมปุระในกระทะน้ำมันเดือด ๆ เขาได้เลยความคิดเอาเส้นบะหมี่ที่ทอดเสร็จแล้วใหม่ ๆไปอบแห้ง เลยถือกำเนิดขึ้นมาเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเจ้าแรกของเอนโด้ ในปีค.ศ.1958 ( พ.ศ.2501 )

จากนั้นจึงตามมาด้วยบะหมี่ถ้วยในปี 1971 ความคิดนี้ได้มาตอนไปสหรัฐอเมริกาในปี 1966 เขาเห็นผู้บริโภคกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของเขา ด้วยการเติมน้ำลงไป แล้วรับประทานในถ้วยกระดาษ ตามรายงานของนิชชิน ฟู้ด บริษัทที่เอนโด้ก่อตั้งขึ้น แล้วการบริโภคทั่วโลกของบะหมี่ถ้วย พบว่าผ่านหลัก 40,000 ล้านถ้วย เมื่อปี 2016 เอนโด้เสียชีวิตในปี 2007 ขณะมีอายุได้ 96 ปี แต่จิตวิญญาณการคิดค้นของเขาต้องถือว่า เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์อย่างที่สุด ชนิดหาใครเทียบได้ นั่นคือ ไอศกรีมบะหมี่ถ้วย

ให้บริการอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บะหมี่นิชชิน บนชั้นที่ 4 ทำมาจากแป้งน้ำซุป แล้วโปะหน้าด้วยหัวหอม กุ้ง ไข่และเนื้อ เสิร์ฟในถ้วยของนิชชิน นักท่องเที่ยวโนริยูกิ ซาโตะ ได้ลองรับประทานดูแล้วบอกว่า ไม่เค็มไม่หวาน ไม่รู้เหมือนกันว่า จะถูกใจผู้บริโภคชาวต่างชาติหรือไม่ เพราะมันทั้งไม่หวานและไม่เค็ม

แต่ตอนนี้นี้ถือว่าความคิดนอกกรอบ และความสามารถของคนญี่ปุ่นที่นำอะไรต่ออะไรมาผสมกันให้ได้เป็นของใหม่ โฆษกของนิชชินบอกว่า ไอศกรีมบะหมี่ถ้วยมีการลองชิมกันแล้ว บางคนไม่อยากเรียกว่าของหวาน แต่น่าจะเป็นจิตวิญญาณพังค์ร็อกของคนญี่ปุ่น

ยังมีตัวอย่างอาหารอื่น ๆ อีกที่มีขายในญี่ปุ่น เช่น แซนด์วิชผลไม้ และเบอร์เกอร์ข้าว นอกจากนั้น ก็ยังจะมีการผสมผสานร่วมกัน ระหว่างพิซซ่าข้าว พัฒนาโดย ซาชิเอะ โอยามะ ผู้จัดการและเชฟสร้างสรรค์ ของแผนกเมนูอาหารนวัตกรรม แห่งโดมิโน พิซซ่า เจแปน อิงค์ เป็นพิซซ่าแป้งใช้ข้าวญี่ปุ่นทำ แทนที่จะใช้แป้งโด ราดด้วยซอสมะเขือเทศ แล้วโปะหน้าด้วยท็อปปิ้งพิซซ่าทั่วไป เช่น มอซซาเรลล่าชีส หัวหอม พริกไทย เปปเปโรนี ไส้กรอก ผลิตขายในญี่ปุ่นเท่านั้น โอยามะบอกว่า เป็นพิซซ่าที่กินได้คนเดียวแทนที่จะแบ่งคนอื่นด้วย.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : AP