ปัจจุบันมีการระบาดของโรคฝีดาษลิงในหลายประเทศ ซึ่งอาจมีหลายชื่อเช่น โรคฝีดาษวานร ไข้ทรพิษลิง เป็นต้น ประเทศไทยพบผู้ป่วย “ฝีดาษลิง” ยืนยันรายที่ 7 ณ วันที่ 28 ส.ค.65 เป็นหญิงไทย อายุ 37 ปี มีโรคประจำตัว อาศัยอยู่บ้านคนเดียวที่กรุงเทพฯ ไม่มีประวัติสัมผัสสัตว์ฟันแทะ และไม่ได้ไปประเทศที่มีการระบาด แต่ประวัติพบว่ามีเพศสัมพันธ์กับชายต่างชาติผิวสีก่อนมีอาการป่วย บทความนี้จะช่วยให้ข้อมูลเมื่อท่านอยู่ในสถานการณ์หรือสถานที่ที่อาจมีการแพร่กระจายโรคฝีดาษลิงได้ โรคฝีดาษลิงไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่มักติดต่อผ่านการสัมผัสทางกายอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ซึ่งอาจรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย

องค์การอนามัยโลก ประกาศเปลี่ยนชื่อไวรัสฝีดาษลิง องค์การอนามัยโลกได้ประกาศชื่อใหม่ของเชื้อไวรัส ที่ก่อให้เกิด โรคฝีดาษลิง สายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ ดังนี้ สายพันธุ์ลุ่มน้ำคองโก (Congo Basin) ให้เรียกชื่อใหม่ว่า เคลด 1 (Clade I), ส่วนสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก (West African) ให้เรียกชื่อใหม่ว่า เคลด 2 (Clade II) ซึ่งเคลด 2 นั้น ประกอบด้วย 2 สายพันธุ์ย่อย ได้แก่ เคลด 2เอ (IIa) และ เคลด 2บี (IIb) โดย เคลด 2บี เป็นกลุ่มสายพันธุ์หลักที่กำลังแพร่ระบาดในปีนี้ (2022)

องค์การอนามัยโรคระบุว่า ชื่อใหม่เหล่านี้ควรถูกปรับใช้ทันที ส่วนเชื้อไวรัสที่ค้นพบใหม่ โรคที่เกี่ยวข้อง และเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ ควรถูกตั้งชื่อที่หลีกเลี่ยงการดูหมิ่นทางวัฒนธรรม สังคม ชาติ ภูมิภาค อาชีพ หรือชาติพันธุ์ และลดผลกระทบเชิงลบต่อการค้า การเดินทาง การท่องเที่ยว หรือสวัสดิภาพสัตว์ให้เหลือน้อยที่สุด

เราจะลดความเสี่ยงระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างไร?
การฉีดวัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของฝีดาษลิง แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันด้วยวัคซีนที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้ลองพิจารณาเปลี่ยนพฤติกรรมชั่วคราวที่อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกสัมผัส การเปลี่ยนแปลงชั่วคราวเหล่านี้ จะช่วยชะลอการแพร่กระจายของโรคฝีดาษลิง จนกว่าวัคซีนจะเพียงพอ

พฤติกรรมบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกเปิดเผย การเปลี่ยนแปลงชั่วคราวเหล่านี้ จะช่วยชะลอการแพร่กระจายของโรคฝีดาษลิง จนกว่าวัคซีนจะเพียงพอ.